ผู้เรียนรู้ที่ชาญฉลาด (Smart Learner) ทิศทางแห่งการพัฒนา เพื่อการพึ่งพาตนเองได้ ในยุคสมัยแห่งสังคมสื่อสาร
กลยุทธ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนรู้ที่ชาญฉลาด และการพึ่งพาตนเอง: วิถีทางแห่งการพัฒนาแห่งยุคสมัย (Self Learning - Smart Learner - Self Reliance: The way of contemporary development
บทความนี้ผมเขียนขึ้นจาก การนำความคิดของผมที่ได้เสนอต่อที่ประชุมการวางแผนยุทธ์ศาสตร์ ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา
โดยในช่วงเวลานั้น ผมได้เสนอ แนวคิดเรื่อง "การเรียนรู้ด้วยตนเอง" (Self Learning) เพื่อนำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้านนิเทศศาสตร์ ทั้งการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบการเรียนด้วยตนเองของนักศึกษา
โดยขณะนั้นผมเสนอแนวคิดให้เรามุ่งพัฒนาตัวนักศึกษา ให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถสร้างหรือพัฒนาความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยการเรียนรู้จากเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อินเทอร์เน็ต" ที่เป็นแนวโน้มที่สำคัญของโลกใขณะนั้น ในช่วงเวลานั้นผู้คนกำลังมุ่งเน้นการเรียนรู้จากสื่อประเภทออฟไลน์เช่น book, video, audio tape สื่อออไนไลน์เพิ่งจะเริ่มพัฒนาขยายการบริการแต่ผู้คนยังไม่สามารถจะ access ได้อย่างกว้างขวางเท่าปัจจุบัน
เมื่อยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งชนิดไร้สาย ชนิดเซลลูลาร์ ชนิดออนไลน์ พัฒนาและขยายพื้นบริการกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นจนเกือบจะทุกตารางเมตรของประเทศไทย จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้จุดแข็งตรงนี้มาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้น
ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การพัฒนา device เครื่องมือสื่อสารแบบ สมาร์ทโฟน (Smart phone) ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารแบบชาญฉลาด ช่วยให้เราทำอะไรได้เกือบทุกอย่างที่เกี่วข้องกับการติดต่อสื่อสาร ทั้งแบบ voice และแบบ none voice ยิ่งช่วยให้คนเราสามารถใช้สื่อเป็นช่องทางในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
เครื่องมือสื่อสารแบบชาญฉลาด (Smart devics) และระบบการสื่อสารที่ก้าวหน้าไปไกลจนถึง 3G 4G คือ ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่เราจะนำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น Smart Leaner สำหรับระบบการศึกษาแบบเปิดหรือระบบการศึกษาทางไกล และเป็น Smart Student สำหรับระบบการศึกษาแบบปิด
ผมมีความคิดในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น Smart Learner เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Learning) และนำไปสู่ "การพึ่งพาตนเอง" (Self Reliance) ดังนี้
...............................................................................................
บทความนี้ผมเขียนขึ้นจาก การนำความคิดของผมที่ได้เสนอต่อที่ประชุมการวางแผนยุทธ์ศาสตร์ ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา
โดยในช่วงเวลานั้น ผมได้เสนอ แนวคิดเรื่อง "การเรียนรู้ด้วยตนเอง" (Self Learning) เพื่อนำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้านนิเทศศาสตร์ ทั้งการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบการเรียนด้วยตนเองของนักศึกษา
โดยขณะนั้นผมเสนอแนวคิดให้เรามุ่งพัฒนาตัวนักศึกษา ให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถสร้างหรือพัฒนาความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยการเรียนรู้จากเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อินเทอร์เน็ต" ที่เป็นแนวโน้มที่สำคัญของโลกใขณะนั้น ในช่วงเวลานั้นผู้คนกำลังมุ่งเน้นการเรียนรู้จากสื่อประเภทออฟไลน์เช่น book, video, audio tape สื่อออไนไลน์เพิ่งจะเริ่มพัฒนาขยายการบริการแต่ผู้คนยังไม่สามารถจะ access ได้อย่างกว้างขวางเท่าปัจจุบัน
เมื่อยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งชนิดไร้สาย ชนิดเซลลูลาร์ ชนิดออนไลน์ พัฒนาและขยายพื้นบริการกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นจนเกือบจะทุกตารางเมตรของประเทศไทย จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้จุดแข็งตรงนี้มาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้น
ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การพัฒนา device เครื่องมือสื่อสารแบบ สมาร์ทโฟน (Smart phone) ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารแบบชาญฉลาด ช่วยให้เราทำอะไรได้เกือบทุกอย่างที่เกี่วข้องกับการติดต่อสื่อสาร ทั้งแบบ voice และแบบ none voice ยิ่งช่วยให้คนเราสามารถใช้สื่อเป็นช่องทางในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
เครื่องมือสื่อสารแบบชาญฉลาด (Smart devics) และระบบการสื่อสารที่ก้าวหน้าไปไกลจนถึง 3G 4G คือ ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่เราจะนำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น Smart Leaner สำหรับระบบการศึกษาแบบเปิดหรือระบบการศึกษาทางไกล และเป็น Smart Student สำหรับระบบการศึกษาแบบปิด
ผมมีความคิดในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น Smart Learner เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Learning) และนำไปสู่ "การพึ่งพาตนเอง" (Self Reliance) ดังนี้
...............................................................................................
แนวคิด
การพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อระบบการศึกษาทางไกล ให้เกิดขึ้นแก่นักศึกษาระดับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากการเรียนในระบบการศึกษาทางไกล เป็นการเรียนรู้ผ่านระบบการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะ มีลักษณะแตกต่างจากระบบการศึกษาแบบพื้นฐานทั่วไปที่ใช้ในระบบมหาวิทยาลัยปิดซึ่งคนส่วนมากมีความรู้จักคุ้นเคย แต่การเรียนในระบบการศึกษาทางไกลมีลักษณะเฉพาะ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก เป็นการใช้รูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นหลัก โดยการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบการสื่อสารทางไกล (distance learning system) ต่างพื้นที่ต่างเวลา ตามความสะดวกและความเหมาะสมของนักศึกษา ประการที่สอง เป็นการใช้วิธีการติดต่อสื่อสารทางไกลหรือระยะไกล ระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับระบบบริการการศึกษาต่างๆของมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้ติดต่อสื่อสารกันทั้ง 3 คู่ สื่อสารต่างอยู่ไกลกัน ไม่ได้พบปะกันแบบเผชิญหน้าเป็นประจำเหมือนมหาวิทยาลัยที่ใช้รบบการศึกษาแบบปิด แต่อาจพบปะพูดคุยกันผ่านการสื่อสารทางไกล เช่น อินเทอร์เน็ต อีเมล์ แชท โทรศัพท์ และประการที่สาม ด้วยลักษณะเฉพาะของระบบการศึกษาทางไกลดังกล่าว “นักศึกษา” จึงเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จ (Student-based learning system) ซึ่งความสำเร็จในการเรียนของนักศึกษาส่วนหนึ่งโดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับองค์ประกอบในส่วนของ “นักศึกษา” จะขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 ประการคือ
ประการแรก ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อระบบการศึกษาทางไกล (Knowledge)
ประการที่สอง การมีทัศนคติที่ถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับการเรียนรู้ด้วยระบบการศึกษาทางไกล (Attitude)
ประการที่สาม การมีความเชื่อมั่น มีทักษะวิธีการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self learning) ในระบบการศึกษาทางไกล เช่น การแสวงหาความรู้จากสื่อต่างๆ ทั้งสื่อที่มหาวิทยาลัยจัดไว้ให้และสื่อการเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างกว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งหมายรวมถึงการใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่ช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีพลังทางด้านจิตใจที่เข้มแข็ง มีความเชื่อมั่น มีความอดทน รู้จักค้นหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองได้
เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบในส่วน “นักศึกษา” จะพบว่า นักศึกษาที่สมัครเข้ามาศึกษาในหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาจากหลากหลายสาขาวิชาความรู้ หลากหลายสาขาอาชีพ หลากหลายประสบการณ์ สำหรับกลุ่มนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมักจะมีประสบการณ์ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะการเรียนในระบบทางไกลดีพอสมควรอยู่แล้ว แต่สำหรับอีกนักศึกษาอีกส่วนหนึ่งที่สำเร็จการศึกษามาจกสถาบันการศึกษาอื่น ที่ใช้ระบบการศึกษาแบบปิด มักจะขาดประสบการณ์ส่วนนี้ เมื่อเข้ามาเรียนในระบบทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยที่ยังไม่มีความรู้ ทัศนคติ และทักษะวิธีการที่ถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้อง อาจเป็นเป็นปัญหาและอุสรรคต่อการเรียน และอาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการศึกษาตามหลักสูตร จนเป็นเหตุให้นักศึกษาบางส่วนเปลี่ยนใจไม่ลงทะเบียนเรียน บางส่วนลาออกกลางคัน และบางส่วนศึกษาไม่สำเร็จ จากปัญหาดังกล่าวจึงสมควรมีการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ และพัฒนาทัศนคติที่ถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับการเรียนรู้ในระบบการศึกษาทางไกลให้แก่นักศึกษา เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกลงทะเบียนหรือไม่ลงทะเบียนเรียน แก้ไขปัญหาการลาออกกลางคัน เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกมั่นใจในการเรียนรู้ในระบบการศึกษาทางไกล และเพื่อส่งเสริมความสำเร็จทางการศึกษาของนักศึกษาที่สมัครเข้ามาเรียนใหม่ทุกคน นอกจากเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่เรียกว่า “Smart learner” หรือ เป็นผู้เรียนที่มีความชาญฉลาดในการเรียนรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ (Self reliance) ในการเรียนและการดำเนินชีวิต
รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
วันที่ 9 มิถุนายน 2556
หมายเหตุ ผมมีความคิด แนวทาง และวิธีการ ในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น Smart Learner เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Learning) และนำไปสู่ "การพึ่งพาตนเอง" (Self Reliance) ซึ่งจะได้นำมาเสนอต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น