ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เราจะอยู่กันอย่างไร..อะไรคือ หนทางของเรา ??

เราจะอยู่กันอย่างไร..อะไรคือ หนทางของเรา ??

ในโลกปัจจุบันที่เราอยู่ในสภาวะเอ่อล้นด้วย

(1) สื่อ ช่องทาง และพื้นที่ในการสื่อสาร (abundantly/overflow communication media)  

(2) ความง่ายในการเข้าถึง (access to media) สื่อ

(3) ความง่ายสะดวกและรวดเร็วในการสืื่อสาร แบบ anywhere-anytime communications..ส่งผลให้เกิดสภาวะสืบเนื่องตามมา (consequential effects) คือ
        (a) เจ้าของสื่อ เจ้าของธุรกิจ และฝ่ายการเมือง ทำการสื่อสารอย่างหนักเพื่อแย่งชิงพื้นที่ทางความคิดของประชาชน
        (b) ประชาชนทั่วไปมีความสามารถในการทำการสื่อสารมวลชนด้วยตนเองแบบอิสระ (individual mass communication)
        (c) การปะทะกันทางความคิด ระหว่างเจ้าของธุรกิจ/ฝ่ายการเมือง กับ เจ้าของธุรกิจ/ฝ่ายการเมืองด ระหว่างเจ้าของธุรกิจ/ฝ่ายการเมือง กับ และระหว่างฝ่ายประชาชน ฝ่ายประชาชน กับ ฝ่ายประชาชนด้วยกันเอง..

สภาวะเช่นนี้ ประชาชนจึงมิได้เป็นบุคคลที่มีชีวิตอยุ่อย่างเป็นอิสระที่แท้จริง เพราะอย่างน้อยที่สุด ประชาชนจะได้รับการโน้มน้าวชักจูงใจ หรือกดดัน หรือบีบบังคับ ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้
(a)  เลือกบริโภคอาหารการกินและสิ่งของเครื่องใช้ ของธุรกิจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

(b) เลือกเปิดรับ ชื่นชม หลงไหล และตอดตามสื่อรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เลือกที่จะรับ เลือกที่จะมีทัศนคติ เลือกที่จะเชื่อ เลือกที่จะปฏิบัติตาม ความคิด/ค่านิยม/แบบอย่าง/ตัวแบบ/พฤติกรรม ของบุคตล กลุ่มบุคคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

(c) เลือกที่จะปิดรับ ผละหนี ละทิ้ง ปฏิเสธ ต่อต้าน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่าย เพื่อสร้าง "หนทาง" ของตนเอง ผ่านการใช้สื่อสมัยใหม่ เช่น โซเชียลมีเดีย หรือผ่านรูปแบบทางสังคมแบบทางเลือกชนิดอื่น เช่น กลุ่มสังคม ชุมชนออนไลน์ การรณรงค์เชิงสัญญะ

คำถามที่เราต้องตอบในวันนี้คือ..ประชาชนเป็นอิสระทางความคิดจริงหรือ ประชาชนปลอดจากการโน้มน้าว จูงใจ คุกคาม ครอบงำ ทางความคิดจริงหรือ ? หากไม่จริงประชาชนจะมีหนทางของตนเองอย่างไร ?

"หนทาง" ของประชาชนยังมีอยู่ คือ
(1) เปิดรับอย่างชาญฉลาด (smart receiver)
(2) เรียนรู้อย่างชาญฉลาด เพื่อให้รู้เท่ารู้ทัน (smart learner)
(3) แยกกันเรียนรู้ ร่วมกันเรียนรู้ สร้างพลังการมีส่วนร่วม (smart participator)
(4) กำหนด "หนทาง" ของตนเอง กลุ่มตนเอง โดยไม่ยอมจำนน ไม่ยอมอยู่ภายใต้การโน้มน้าวชักจูงใจ หรือกดดัน หรือบีบบังคับ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ของฝ่ายธุรกิจ/ฝ่ายกลุ่มผลประโยชร์/ฝ่ายการเมือง ประชาชนต้องยืนอยู่บนหนทางของตนเอง ต้องยืนบนขาตนเองได้จริง พึ่งพาตนเองได้จริง (self reliance)
(5) พัฒนานวัตกรรมของตนเอง (self innovation development) ทั้งนวัตกรรมทางความคิด นวัตกรรมทางวิชาการ นวัตกรรมสื่อ นวัตกรรมรูปแบบสังคม นวัตกรรมทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมทางการเมือง นวัตกรรมสิ่งของเครื่องใช้ และนวัตกรรมรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตภายใตสังใหม่แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
16 มิถุนายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค