ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ต้นน้ำ..แหล่งความรู้ที่แท้จริง ที่หาได้ยากยิ่งในยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร

ต้นน้ำ..ธรรมชาติของต้นน้ำที่แท้จริงจะมีที่มาจาก "ธรรมชาติ" ซึ่งได้สร้างองค์ประกอบและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสม จนกระทั่งก่อกำเนิดเป็นต้นน้ำ น้ำที่เริ่มออกเดินทางจากแหล่งที่เป็นต้นน้ำ ยังเป็นน้ำบริสุทธิ์จากธรรมชาติ ปราศจากจากสารพิษและมลภาวะ

จนกระทั่งน้ำเดินทางผ่านกาลเวลาและเดินทางผ่านสถานที่อันมีหมู่มนุษย์อาศัยอยู่..น้ำที่เดินทางมาด้วยความบริสุทธิ์ ได้สัมผัสกับน้ำมือมนุษย์ ที่ได้ใช้บริโภค กิน อยู่ พักอาศัย ชำระล้างสิ่งสกปรก รวมทั้งนำไปเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตสิ่งประดิษฐ์และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาบนโลก เพื่อให้มนุษย์บริโภคและใช้สอยกันต่อไปอีก..น้ำที่เคยใสสะอาดและบริสุทธิ์ จึงเริ่มขุ่นมัวทีละน้อยๆๆๆ จนกลายเป็นน้ำที่ไม่สะอาด ไม่สะอาดเพียงพอที่แม้จะดื่มกิน บางแห่งไม่สะอาดเพียงพอแม้จะใช้ชำระล้างร่างกาย มนุษย์ยังต้องนำน้ำนั้นไป กรอง กลัาน ต้ม ผ่านความร้อน เพื่อขจัดสิ่งสกปรก สิ่งเจือปน และบรรดาเชื้อโรคทั้งมวลที่ปะปนอยู่ในน้ำ ก่อนที่จะนำน้ำมาบริโภคดื่มกินและใช้สอย

แม้กระทั่ง "ต้นน้ำ" เองที่เคยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ที่อยู่ไกลโพ้น ไกลทั้งพื้นที่ (space) ไกลทั้งเวลา (time) ยังถูกมนุษย์ตามไปรุกราน รังควาน ทำลายล้าง ด้วยรูปแบบวอธีการต่างๆ ทั้งการ "ถากถาง" ไถทำลาย ฆ่าฟัน ชีวิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทั้งการบุกรุกไปถึงถิ่นด้วยตนเอง ทั้งการ "พ่นมลภาวะอันเป็นพิษ" ล่องลอยไปในอากาศไปไกลถึง "ต้นน้ำ" ทั้งการลักขโมย ดัดแปลง แอบอ้างความเป็นเจ้าของ นำมาใช้ในทางที่ผิด เช่น นำไปผสมสารพิษก่อนนำไปให้ผู้อื่นดื่มกิน นำไปผลิตสิ่งประดิษฐ์อย่างอื่นขึ้นมาทำลายร่างกาย จิตใจ และสมองผู้อื่น ทั้งกระทำโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทั้งกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความโง่เขลาเบาปัญญา

ชาวจีนโบราณดั้นด้นไกลหลายพันลี้ เพื่อที่จะเสาะหาต้นน้ำ เพื่อนำมาปรุงยา เพื่อนำมารักษาชีวิต เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิต..คนโบราณเสาะหาทรัพยากรธรรมชาติอย่างเช่นต้นน้ำที่ถือว่าเป็น "ต้นแหล่ง" (primary resources) ด้วยเชื่อกันว่า นั่นคือ ความบริสุทธิ์ นั่นคือความจริง นั่นคือธรรมชาติ และเชื่อว่าที่ "กลางน้ำ) น้ำมักไม่ใส ไม่สะอาดเพียงพอ เนื่องจากผ่านการย้ำยีโดยมนุษย์ และที่ "ปลายน้ำ" ยิ่งเชื่อกันว่า น้ำบริเวณนั้น ไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์เพียงพอที่จะดื่มกืน ไม่บริสุทธิ์เพียงพอที่แม้แต่จะ "เชื่อ" ว่าสะอาดจริง

"ความรู้" (knowledge) ก็ไม่จากจาก "น้ำ" ที่มีทั้งน้ำที่ได้มาจากแหล่งน้ำที่เป็น "ต้นน้ำ" ! "กลางน้ำ" !! และ "ปลายน้ำ" !!!

ความรู้ที่มีอยู่ในตำรับตำราโบราณสมัยเมื่อร้อยปีพันปีจึงมีค่ายิ่งนัก ความรู้ที่ได้จากการค้นพบ การสังเกต การตรวจสอบ การพิสูจน์ การทดลอง การยืนยัน ที่เขียนบันทึกไว้ พิมพ์ไว้ ตั้งอต่ในอดีตเมื่อร้อยปีจึงมีคุณค่า ได้รับความเชื่อถือ ถูกนำไปใช้สอน ถ่ายทอด ประยุกต์ และพัฒนาต่อ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ

ต่างกับ "ความรู้" (knowledge) ในสมัยนี้ ที่มีค่าเป็นเพียง "ข้อมูลข่าวสาร" (information) ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยน ซื้อ ขาย รื้อใหม่ ผลิตซ้ำ ผลิตใหม่ โดยอาศัย "หัวเชื้อ" จากต้นน้ำเพียงน้อยนิด ก็สามารถนำมาดัดแปลง นำมาผลิตซ้ำ (reproduction) กันอย่างง่ายดาย แพร่หลาย รวดเร็ว ทั่วโลก โดยหาจำต้องใส่ใจว่าความรู้นั้น จะถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ เชื่อถือได้ เป็นคุณประโยชน์ เป็นโทษ เป็นพิษ เป็นภัย ต่อระบบร่างกาย สมอง และความคิดของมนุษย์หรือไม่..!!

ขอเพียงได้ชื่อว่าตนเองได้ทำการสื่อสาร ได้เป็นผู้ผลิต (produce) ได้เป็นผู้เผยแพร่ (distribute) ได้เป็นผู้ผลิตซ้ำ (reproduce) ได้ทำ (make) ได้ทำซ้ำใหม่ (remake) ให้เป็นที่รับรู้ ให้เป็นที่ยอมรับ ให้เป็นหน้าตา ชื่อเสียง ได้สร้างภาพลักษณ์ให้แก่ตน..ก็เป็นพอ

โดยหาจำต้องสนใจมุ่งมั่นที่จะแสวงหาความจริงและตรวจสอบความจริง หาจำต้องสนใจที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ขึ้นไปอีก กระทั่งหาจำต้องให้ความสนใจว่า "ต้นแหล่งแห่งความรู้" หรือ "ต้นน้ำ" นั้นคืออะไร มีความหมายที่แท้จริงอย่างไร มีองค์ประกอบอย่างไร มีทฤษฎีอย่างไร มีหลักการอย่างไร..ขอเพียงได้นำความรู้นั้นมาดัดแปลงให้เป็นข้อมูลข่าวสารที่จะใช้สื่อสารกันได้เป็นพอ

ดังเราจะเป็นภาพสะท้อนเหล่านี้ได้ใน โซเชียลมีเดีย (social media) ชุมชนออนไลน์ ห้องเรียน ห้องสัมมนา ห้องประชุม ทั้งในการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ในสถาบันการศึกษา รวมทั้งเวทีสัมมนาวิชาการทั่วไป

นิยามใหม่ของ ความรู้.."ความรู้ คือ ข้อมูลข่าวสาร ที่อาจถือเอาได้ ครอบครองได้ ดัดแปลงได้ นำไปใช้ได้ นำไปเผยแพร่ได้ นำไปซื้อ ขาย แลก เปลี่ยน ได้ ผ่านระบบตลาด ระบบการสื่อสารทุกชนิด ทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน พิมพ์ โดยไม่จำกัดสถานที่และพื้นที่ (space) โดยไม่จำกัดเวลา (time) ไม่จำกัดบุคคล (men) ที่จะนำไปใช้ โดยมิพักต้องตรวจสอบถึงความจริง -ความไม่จริง ความถูกต้อง-ความไม่ถูกต้อง ความเชื่อถือได้-ความเชื่อถือไม่ได้

โลกวันนี้ เราจึงไม่อาจที่จะคาดหวังถึง การได้พบพาน "ความรู้" จากแหล่งความรู้ที่เป็น "ต้นน้ำ" กันได้อีกต่อไป โดยเฉพาะในยุคสมัยสังคมข้อมูลข่าวสาร

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
18 มิถุนายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค