ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทะเลาะออนไลน์ รูปแบบการสื่อสารวิวาทะในโลกยุคดิจิทัล

ทะเลาะออนไลน์

...................

หน้าวอลคือหน้าบ้าน บ้านใครบ้านมัน หากมีเรื่องขัดใจกัน โกรธเคืองกัน มีปากมีเสียงกัน เราสามารถทำได้ตั้งแต่เบาไปหาหนัก

.........

เริ่มจากเบาคือการ "บ่น"  หรือ "ต่อว่า" หรือ "ตำหนิติเตียน"

.........

หนักขึ้นมาอีกระดับคือ "ด่า" หรือ "แช่ง"

.........

วิธีการบ่น ต่อว่า ตำหนิติเตียน ด่า แช่ง ทำได้ทั้งการระบุตัวบุคคลผู้รับสาร หรือไม่ระบุก็ได้ ถ้าไม่ระบุเรียกว่า บ่น ต่อว่า หรือ ด่า "ลอยลม"

.........

เปรียบได้กับเราเขียนป้ายไวนิลติดไว้ที่หน้าบ้าน ใครผ่านไปผ่านมาได้เห็นก็คิดเอาเองว่า หมายถึงใคร !! แต่ถ้าระบตัวบุคคลไว้ก็คงจะเป็นเรื่อง คงจะถูกสอบสวนทวนความ ว่าเรื่องมันเป็นยังไง ถึงมาด่ากูอะไรทำนองนี้ หรืออาจจะถูกต่อว่ากลับหรือด่ากลับ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

.........

ในหน้าวอล facebook เราก็จะพบเห็นรูปแบบการสื่อสารทำนองนี้อยู่บ่อยๆ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นการ "ด่าลอยลม" ไม่ระบุตัวบุคคลเสียมากกว่า

.........

เพิ่งจะเห็นเป็นข่าวเมื่อสองสามวันนี้เอง ที่มีการ ดาทอ และ ท้าทาย กันในโลกออนไลน์ แล้วนัดไปต่อสู้กันในโลกที่เป็นจริง จนถึงกับยิงกันตายไปข้างหนึ่ง

.........

นี่อาจเรียกว่า เป็นการสื่อสารที่นำไปสู่ภาคปฏิบัติ (communication in action) อย่างแท้จริง แต่นำไปใช้ในทางร้ายมากกว่า !!

.........

อย่างไรก็ดี รูปแบบการสื่อสาร "บ่นลอยลม" และ "ด่าลอยลม" ยังเป็นที่นิยมอยู่มากในโลกโซเชียลมีเดีย เพียงแต่บางเคสข้อความที่ด่า มันไม่ไปแสดงใน news feed ของคู่กรณีมันจึงไม่เกิดเรื่อง การสื่อสารจึงล้มเหลว

.........

เพื่อให้การสื่อสารบรรลุผลสำเร็จ เราจึงต้องอาศัยตัวช่วยอย่าง "ยายเมี้ยน" ในเรื่องคู่กรรม ผู้หวังดี ช่วยทำหน้าที่ "คาบข่าว" ไปบอกคู่กรณีให้ทราบถึงการ "ถูกด่า" เพื่อให้เขาได้ใช้สิทธิในการป้องกันชื่เสียงเกียรติยศตนเอง ด้วยดารลุกขึ้นมา "ด่าตอบโต้" ที่หน้าวอลตัวเอง

.........

บทบาทของ "มือที่สาม" ในการสื่อสาร จึงมีความสำคัญไม่น้อย ขึ้นอยู่กับว่าจะทำหน้าที่ "สุมไฟ" หรือ "ดับไฟ"

.........

แต่ทุกคนพึงตระหนักว่า การด่า หากเกินขอบเขตมากไป อาจกลายเป็นการ "หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 มีอัตราโทษจำคุก 2 ปี ถึงจุดนั้นเรื่องมันจะบานปลาย

.........

ชีวิตยังคงดำเนินต่อไป ผู้ทำการสื่อสารยังคงดำเนินบทบาทต่อไป การบ่น การด่า การทะเลาะเบาะแว้งในโลกออนไลน์ยังคงมีต่อไป

.........

แต่มันจะไม่ถึงกับเป็นอันตรายมากนัก หากไม่ชักนำเรื่องในโลกออนไลน์ (online) มาสู่โลกออฟไลน์ (off line)


.........

22 กันยายน 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค