ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผู้ผลิตสื่อเรื่องเพศทางสื่อออนไลน์ Online Sexual Media Maker

ผู้ผลิตสื่อเรื่องเพศทางสื่อออนไลน์

Online Sexual Media Maker

........

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และเทคโนโลยี หล่อหลอม บ่มเพาะ ชี้ช่อง ผลักดัน

.........

คนผู้มีความปรารถนาเร่าร้อน เผ็นผู้ริเริ่มทางการสื่อสารลงมือ sex story making รู้ดีว่าเรื่องอะไรขายได้ ภาพอะไรขายได้ เช่น นม รูปร่าง ความยั่วเย้าอารมณ์ทางเพศ ผลิตเสร็จ นำเสนอผ่านช่องทางสื่อสารแห่งเสรีภาพทางเพศ คือ facebook

.........

คนผู้ต้องการบริโภคความเร่าร้อน consume โดยการบันทึกภาพและคลิปวิดีโอเก็บไว้ (storage) เพื่อดูซ้ำจากนั้นจึงทำการ reproduce ด้วยการเขียนคอมเม้นท์และทำการ distribute ด้วยการแชร์ออกไป ผ่านช่องทางสื่อสารของตนเอง

........

สื่อมวลชน มองเห็นโอกาสหยิบเรื่อง sex มาทำเป็นสินค้า จึงจัดการ reproduction ด้วยการ cap ภาพ เขียน copy หวือหวา เร้าอารมณ์ วางลิ้งก์นำทางให้ผู้อ่านเข้าไปพบแหล่งข้อมูลเต็มๆ แล้วทำการ distribute ผ่านช่องทาง/พื้นที่สื่อของตนเอง เสร็จแล้วนั่งมอนิเตอร์ผลยอดกดไลค์ หากผลงานบรรลุเป้าหมายยอดกดไลค์หลายหมื่นคน เอาผลงาน rating ไปขายโฆษณา

........

เจ้าของสินค้า ตัดสินใจซื้อโฆษณา สื่อมวลชนได้เงิน เจ้าของสินค้ามีโิกาสขายสินค้า

.........

ตัวผู้ริเริ่มทำการสื่อสาร ผู้ make the (sexual) media นั่งรอดู feedback และ impact ต่อสังคมว่า hit มั๊ย ซึ่งจะนำมาซึ่งการเป็นบุคคลมีชื่อเสียง (celebrity) เป็นที่รู้จัก และมีโอกาสต่อยอดในการใช้ชื่อเสียงไปต่อยอดทำงาน หารายได้

........

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 มีความสุขุม มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่ได้ยินเรื่องนี้ ไม่เห็นเรื่องนี้ ไม่รับรู้เรื่องนี้ เพราะตัวกฎหมายไม่มีชีวิต

........

ผู้บังคับใช้กฎหมาย ดูแลไม่ไหว บางครั้งก็กลายเป็น consumer เสียเอง ที่ร้ายยิ่งกว่าคือ บางคนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตเสียเอง

.........

ผู้บริโภค พอใจ  ไม่พอใจ ก็แล้วแต่ ใครชอบก็ชม ใครชังก็ด่า ใครไม่อนาทรก็ปล่อยผ่านไป

.........

สังคมจะเป็นอย่างไร

เด็กจะเป็นอย่างไร

อาชญากรรมจะเกิดขึ้นอย่างไร

ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ผลิต sexual media maker


มันเป็นหน้าที่ของ..พ่อแม่ ครู โรงเรียน ตำรวจ กระทรวง ICT กระทรวงวัฒนธรรม และรัฐบาล ต้องรับผิดชอบดูแลกันเอง

.........

Reality maker

2 SEP 14

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค