ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสื่อสารเชิงสัญญะของภาพยนตร์เรื่อง "เพชฌฆาต มหากาฬ" (LEON: THE PROFESSIONAL)

การสื่อสารเชิงสัญญะของภาพยนตร์เรื่อง "เพชฌฆาต มหากาฬ" (LEON: THE PROFESSIONAL)


1.
การศึกษาเรื่องสัญญะ (sign) ผู้ศึกษาพึงเข้าใจว่า ผู้ผลิตสื่อ (media maker) หาจำต้องเอ่ยถ้อยคำว่า "สัญญะ" ให้ปรากฏ หากแม้นปรากฏถ้อยคำว่า "สัญญะ" การสื่อความหมายของสิ่งนั้น ก็อาจกลายเป็น การสื่อความหมายอย่างโจ่งแจ้งอีกทึกครึกโครม เห็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น มิได้แอบซ่อนความหมายอยู่ "หลังม่านอักษร" แต่อย่างใด
............
เปรียบดังจอมยุทธ์เมื่อใช้กระบี่เข้าต่อสู้ หาจำต้องชูกระบี่อย่างเริงร่าคึกคะนองอยู่ร่ำไป เพราะแท้จริงแล้ว "กระบี่อยู่ที่ใจ"
............

2. ภาพยนตร์เรื่อง "เพชฌฆาต มหากาฬ" (LEON: THE PROFESSIONAL) ที่ข้าพเจ้าเอ่ยถึง ได้เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง "ลีออง" นักฆ่ามืออาชีพระดับมหากาฬคนหนึ่ง กับ "มาธิลด้า" เด็กหญิงวัยเพียง 12 ปี ที่ยังบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ที่ชะตาชีวิตผกผันให้ต้องมาใช้ชีวิตร่วมกับลีออง ที่มีอาชีพเป็นนักฆ่า


............
"ลีออง" ทำหน้าที่เป็น "ครู" สอนให้รู้จักการใช้ชีวิต การระวังภัย การต่อสู้ป้องกันตัว ในขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดความคิด ทัศนคติ ค่านิยมในการใช้ชีวิตให้แก่มาธิลด้า
............
"มาธิลด้า" มีฐานะเป็น "ศิษย์" ต่างวัย เธอได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากลีออง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่พ่อแม่และครอบครัวไม่ได้สอนเธอ นั่นคือ ความรัก ความอบอุ่น ความผูกพัน และความปรารถนาดี
............
ลีอองเป็นนักฆ่า แต่กลับไม่ได้สอนมาธิลด้าวิชาการฆ่าคน เขาได้ไม่สอนให้มาธิลด้าเป็นนักฆ่าเหมือนกับเขา แต่เขาสอนเรื่อง ชีวิตมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ ในด้านมืดลีอองสอนให้มาธิลเรียนรู้ถึงความเลวของมนุษย์ เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด การฆาตรกรรม ความโหดเหี้ยมอำมหิตของมนุษย์ ในด้านสว่างลีอองสอนให้มาธิลด้าเรียนรู้ถึงความอ่อนโยน ความนุ่มนวล ความน่ารัก ความสดใสในชีวิตมนุษย์ กล่าวได้ว่า
............
ลีอองไม่ได้พยายามที่จะ "ครอบงำ" ความคิดของมาธิลด้าเลยแม้แต่น้อย แต่กลับให้ความเป็นอิสระแก่มาธิลด้าในการที่จะมีชีวิตตามวิถีทางของเธอ
............
นักฆ่าผู้มีฐานะเป็นครูอย่างลีออง สอนให้มาธิลด้าเรียนรู้ชีวิตที่แท้จริง จากโลกที่เป็นจริง ภายใต้บริบทที่มาธิลด้าเป็นอยู่
............
เด็กหญิงผู้อ่อนเยาว์ไร้เดียงสาผู้มาใช้ชีวิตใกล้ชิดกับนักฆ่า แต่กลับไม่ได้เรียนรู้การฆ่าและการเบียดเบียนมนุษย์ เธอเรียนรู้วิชาที่จะช่วยให้เธอมีชีวิตรอด  แม้วันข้างหน้าจะไม่มีลีอองเป็นพี่เลียง เธอก็ต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้
............
ลีออง สอนให้มาธิลด้าเข้มแข็ง ช่วยเหลือตนเองได้ พึ่งตนเองได้ เพื่อให้เธอดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมมนุษย์ที่เป็นจริง ไม่ใช่เรียนรู้วิชาตามที่มีสอนกันในโรงเรียน
............


3. การสื่อสารเชิงสัญญะของภาพยนตร์เรื่อง "เพชฌฆาต มหากาฬ" (LEON: THE PROFESSIONAL) ได้สร้างบทสรุปให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า
....................
การเรียนรู้ของมนุษย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธฺ์ระหว่าง "ครู" กับ "ศิษย์"
....................
"ครู เป็นคนอย่างไร มีจิตใจอย่างไร"
"ครู สอนอะไรให้แก่ ศิษย์"
....................
"ศิษย์ เป็นคนอย่างไร มีจิตใจอย่างไร"
"ศิษย์ ได้เรียนรู้อะไรจากครู"
....................
ผลที่บังเกิดขึ้นตามมาล้วนเป็นผลมาจาก การเรียนรู้ 2 ประการคือ

"การเรียนรู้" อันเกิดจากการที่มนุษย์เราได้มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น
"การเรียนรู้" อันเกิดจากการที่มนุษย์เราได้มีปฏิสัมพันธ์กับโลก
....................
บทส่งท้าย

มือปืน และ นักฆ่า มหากาฬ ผู้มีจิตใจงดงามสูงส่ง..สามารถเป็น "ครู" ที่ดีได้ !!

แต่ "ครู" ผู้มีจิตใจหยาบกระด้างต่ำช้า..แม้จะใช้ความพยายามเพียงใด..ก็ไม่สามารถเป็น "ครู" ที่ดีได้เลย !!
.......................
ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
2 กันยายน 2557
18.56 น.

หมายเหตุ ขอขอบคุณภาพประกอบจากภาพยนตร์เรื่อง เพชฌฆาต มหากาฬ" (LEON: THE PROFESSIONAL)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค