ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ฉันจะ Unfriend เพื่อนดีไหม ?

ฉันจะ Unfriend เพื่อนดีไหม ?
.........

เพื่อนในโลกออนไลน์ของผมบางคน ลุกขึ้นมา "บ่น ตัดพ้อ ต่อว่า ตำหนิ" ด้วยความรู้สึก "ผิดหวัง" หรือ "ผิดความคาดหวัง" ว่าทำไมเพื่อนๆ ที่มีอยู่ในเฟซบุ๊กตั้งมากกมายหลายร้อยคน ไม่มีการมาทักทายกันมั่ง !! ไม่มีการ Response สิ่งที่เราโพสต์ไปมั่ง !!
.........
เวลาเราโพสต์ไอเดียอะไรที่คิดว่ามันแรงๆ ไอเดียอะไรที่คิดว่ามันเจ๋งๆ เวลาเราโพสต์ข้อคิดคำคมที่สะเทือนใจที่สุด ทำไม่ไม่ค่อยมีใครมากด Like ทำไมเงียบเป็นเป่าสาก !! แถมเวลาเราแชร์อะไรที่เราคิดว่าดีออกไป ก็เงียบเหายไปกับสายลม จะมีบ้างก็แค่ 5 Likes 10 Like นิดๆ
.........
เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ ในทางบวก ก็ชักนำให้เกิดความรู้สึก "น้อยใจ ผิดหวัง ไม่สมความคาดหวัง" จนไปถึงความรู้สึก "เคือง โมโห แค้นใจตัวเอง" และนำไปสู่ความคิดว่า "ใครไม่สนใจฉัน เห็นทีฉันจะต้องพิจารณารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างเราเสียใหม่ !!
.........
เพื่อนผมบางคนลุกขึ้นมาประกาศ จะทำ 5ส. เพื่อนในเฟซบุ๊ก โดยเฉพาะหวัข้อ "สะสาง" โดยมาไล่เช็กเพื่อนทีละคน ว่าใครเป็นเพื่อนที่ยังน่าคบหาอยู่ โดยตัดสินจากเกณฑ์
.........
1. มันเคยมาอ่านโพสต์หรือมาส่องเฟซบุ๊กเราบ้างมั๊ย
2. มันเคยกดไลค์โพสต์ของเราบ้างมัีย
3. มันเคยคอมเม้นท์ชื่นชม สรรเสริญคุณสมบัติเรา ต่อท้ายโพสต์รูปภาพเซลฟี่เด็ดๆ ของเราบ้างมั๊ย
4. มันเคยมาคอมเม้นท์เอออวย ยกย่อง โพสต์ข้อคิดตคำคมดีๆ ของเรามั่งมั๊ย
5. มันเคยแชร์ข้อความหรือรูปภาพของเราบ้างมั๊ย ?
เต็ม 5 คะแนน เพื่อนคนนี้มันควรจะได้เท่าไหร่ ? เรายังควรที่จะคบกันต่อไปมั๊ย ?
.........
เพื่อผมบางคนถึงกับประกาศผ่านหน้าวอลเลยว่า..ต่อไปนี้นะ ใครที่ไม่มี movement ใครที่ไม่มี action ใครที่ไม่มี reaction ใครที่ไม่มี response ใดๆ กับฉันสักพักนึงละก็ ฉันจะพิจารณาโทษตามความเหมาะสมจากสถานเบาไปหาหนัก นั่นคือ
.........
1. ตักเตือน
2. คาดโทษ
3. ทำทัณฑ์บน
4. Block ชั่วคราว
5. Unfriend
.........
ฟังดูก็น่ารักดี !!
.........
แต่ผมมีข้อสงสัยเชิงตั้งคำถามต่อท่านว่า !! ในชีวิตประจำวันในโลก Off line ของคุณ..คุณพูดคุยกับเพื่อนวันละกี่คน? แบบที่พูดคุยกันแบบ face to face กี่คน? แบบที่พูดผ่านสื่อ ทั้งทางโทรศัพท์มือถือ facebook messenger, LINE วันละกี่คน ?
.........
เอาละคำตอบอาจเป็นว่า น้อยที่สุด 1 คน น้อย 2-3 คน ปานกลางล่ะ 5-6 คน? มากล่ะ 15 คน? มากที่สุดล่ะถึง 50 คนมัีย ??
.........
เอาเป็นว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คุณพูดคุยกับเพื่อนวันละ 50 คน
.........
ผมมีข้อสงสัยต่อไปว่า ในเมื่อในโลก Off line ของคุณ คุณคุยกับเพื่อนเพียงแค่วันละ 50 คน  แล้วทำไมถึงมาคาดหวังให้เพื่อนที่มีอยู่มากกว่า 500 คนในเฟซบุ๊ก เขาลุกขึ้นมาพูดคุยทักทายเราเป็นประจำทุกวี่ทุกวันได้ ??
.........
ลองมาดูเหตุผลกันหน่อย
.........
เริ่มที่มองตัวเราเองก่อนเป็นอันดับแรก !!
.........
ถามว่า ในแต่ละวัน คุณเคย "ได้พบ ได้เห็น ได้อ่าน" ข้อความ รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ จากเพื่อนๆ ของคุณครบทั้ง 500 คนไหม ? นี่พูดถึงแต่เฉพาะกรณีที่มีเพื่อนเพียง 500 คน เท่านั้น ยังไม่พูดถึงบางคนซึ่งมีเพื่อน 5,000 คนเต็มสตีม
.........
ถามอีกครั้ง..คุณได้สื่อสารกับพวกเพื่อนๆ ของคุณ ครบทั้ง 500 คน หรือ 5,000 คน ไหม ?
.........
ผมมั่นใจว่าคำตอบคือ ไม่ !!
.........
เพราะมันเป็นไปไม่ได้
.........
 news feeds ของ facebook จะทำการ "สุ่ม" ข้อมูลของเพื่อนๆ คุณมานำเสนอให้คุณเห็น แต่เพียงบางส่วน ซึ่งไม่น่าจะเกิน 100 คนต่อวัน สำหรับตัวผมเองมีเพื่อนทั้งหมด 599 คน แต่ผมเห็นความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ ใน news feed วันละประมาณ 20-30 คนเท่านั้น แล้วเพื่อนๆ ที่เหลืออีก 570 คน ของผมไปไหนกันหมด
.........
เมื่อผมเห็นข้อมูลข่าวสารของเพื่อนผมประมาณ 20-30 คน ผมจึงมีโอกาสที่จะ กด Like เขียน comment กด share ข้อมูลของเพื่อนผมเพียงแค่ 20-30 คน ส่วนอีก 570 คน ผมไม่รู้ ผมไม่เห็น แต่ไม่ได้แปลว่า ผมโกรธเขา ผมเบื่อเขา ผมรำคาญเขา ผมไม่อยากเห็นข้อมูลของเขา ผมไม่อยากกด Like ให้เขา ผมไม่อยากกด share เรื่องราวดีๆ ของเขา..ผมไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นเลย !!
.........
ในขณะเดียวกัน เพื่อนของผมอีก 570 คนเขาก็อาจไม่ได้เห็นข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของผมใน news feed ของเขา เขาเลยไม่มี interaction กับผม ก็ไม่ได้แปลว่า เขาโกรธ เขาเบื่อผม เขารำคาญผม..แต่ยกเว้นบางคนบางส่วนอาจจะมีบ้าง แต่มั่นใจว่าไม่ใช่ส่วนใหญ่ที่รู้สึกอย่างนั้น
.........
ผมเคยสังเกตว่า..ถ้าผมไปกด Like เพื่อนคนไหนเป็นประจำ ทำบ่อยๆ facebook จะนำข้อมูลของเพื่อนคนนั้นมาแสดงใน news feed ของผม เรื่องนี้เป็นเพียงข้อสังเกต ยังไม่ใช่ข้อสรุป
.........
นี่คือ "เงื่อนไขในการสื่อสาร" ของ facebook ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจาก
.........
"ความไม่รักเพื่อน" หรือ "เพื่อนไม่แคร์เรา" หรือ "เพื่อนลืมเพื่อน" หรือ "เพื่อนทิ้งเพื่อน"
.........
ผมยังเชื่อมั่นว่า ในความเป็นเพื่อนนั้น แม้จะไม่ได้สื่อสารถึงกัน หากความสัมพันธ์พื้นฐานที่มีอยู่ระหว่างกัน มีความมั่นคง แน่นแฟ้น มากพอ..เราก็ไม่ต้องไปกังวลว่า ความเป็นเพื่อนนั้นมันจะถูกลบเลือนไป
.........
แต่อย่างไรก็ดี ทฤษฎีของการสื่อสาร สอนไว้ว่า ปัจจัย 4 ประการคือ
.........
1. การเข้าถึงของการสื่อสาร (Reach)
2. ความถี่ในการสื่อสาร (frequency)
3. ความแรงของการสื่อสาร (strength)
4. ความต่อเนื่องของการสื่อสาร (continuity)
.........
เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเพื่อนในเรื่อง
 .........
- สร้างการรับรู้ (perception)
- สร้างการจดจำ (retention)
- สร้างการระลึกถึง (recall)
.........
นอกจากปัจจัยทั้งสี่ คือ การเข้าถึงของการสื่อสาร ความถี่ในการสื่อสาร ความแรงของการสื่อสาร และความต่อเนื่องของการสื่อสาร ในทัศนะของผม ผมขอเพิ่มหลักเกณฑ์อีกประการหนึ่งคือ
.........
- ความจริงใจในการสื่อสาร (sincerity)
.........
ซึ่งหากเรามีความจริงใจในการสื่อสาร จะช่วยให้เกิดคุณประโยชน์มากขึ้นอีกหนึ่งประการคือ "การกระชับความสัมพันธ์" (rapprochement) เพื่อเสริมสร้างการติดต่อสัมพันธ์ที่มั่นคงระหว่างกัน (connection) ให้ยาวนาน
.........
รู้อย่างนี้แล้ว..เรายังคิดที่จะ Block เพื่ออีกมั๊ยครับ !!
รู้อย่างนี้แล้ว..เรายังคิดที่จะ Unfriend เพื่ออีกมั๊ยครับ !!
.........
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
22 กันยายน 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค