ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเดินทางข้ามพรมแดนระหว่างโลกจริงและโลกเสมือนจริง ของมนุษย์ในยุคดิจิทัล..เรากำลังจะไปไหน ?? แล้วเราจะพบอะไรที่ปลายทาง ???

การเดินทางข้ามพรมแดนโลกจริงและโลกเสมือนจริง ของมนุษย์ในยุคดิจิทัล..เรากำลังจะไปไหน ? แล้วเราจะพบอะไรที่ปลายทาง ??


(เครดิตภาพ Hotstuffworks.com)

        โลกยุคนี้สวยงามและเปี่ยมไปด้วยพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่ได้สรรค์สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง ได้แก่

        (1) เทคโนโลยีทางด้านการผลิต (production technology) ประกอบด้วยการออกแบบ การประดิษฐ์สร้าง การตกแต่ง การดัดแปลง เทคโนโลยีการเผยแพร่

        (2) เทคโนโลยีทางด้านการบันทึกและจัดเก็บข้อมูล (storage technology) ทั้งการเก็บไว้ในฮาร์ดแวร์ เช่น โมบายฮาร์ดดิสค์ขนาดความจุสูงถึง 1 เทราไบท์ หรือเท่ากับ 1,000 กิ๊กกาไบท์ และกาารจัดเก็บข้อมูลไว้ในซอฟท์แวร์ เช่น การฝากไฟล์ไว้ในระบบออนไลน์ (ความจริงก็ฝ่ายให้บริการก็นำไปจัดเก็บไว้ในฮาร์ดแวร์ แต่ฝ่่ายผู้ใช้บริการไม่ได้รู้สึกว่าตนเองต้องมีฮาร์ดแวร์เป็นของตนเอง)  

        (3) เทคโนโลยีการแสดงผล (display) เป็นเทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูลให้มนุษย์สามารถสังเกตได้ เห็นได้ สัมผัสได้ รับรู้ได้ เข้าใจความหมายได้ เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์ จอภาพแบบแอลอีดี จอภาพของสมาร์ทโฟน

        (4) เทคโนโลยีการเชื่อมโยงมนุษย์เข้าด้วยกัน (connectivity technology) หรืออาจเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเทคโนโลยีในการเผยแพร่ (distribution technology) เช่น ระบบสื่อสารแบบเคเบิ้ลไยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออพติก ระบบสื่อสารแบบออฟไลน์ ระบบสื่อสารแบบออนไลน์ ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบสื่อสารแบบเซลลูลาร์ 2G 3G 4G ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารแบบนี้เองที่ทำให้มนุษย์ที่อยู่ไกลแสนไกลสามารถเข้ามาอยู่ร่วมบนโลกหรือชุมชนเดียวกันจนรู้สึกเหมือนอยู่ใกล้ๆ กันได้ เช่น ชุมชนออนไลน์ โซเชียลมีเดีย เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์

        (5) เทคโนโลยีที่หลอมรวม (convergent tecnology) หมายถึง การหลอมรวมเทคโนโลยีหลายๆ ชนิดเข้าด้วยกัน นำเอาข้อดีของเทคโนโลยีต่างๆ มาผสมผสานกัน บูรณาการการทำงานร่วมกัน จนเกิดเป็นเทคโนโลยีชนิดใหม่ที่สามารถทำอะไรได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สมาร์ทโฟน เช่น iPHONE iPAD ที่สามารถทำหน้าที่ได้เกือบทุกชนิด เป็นทั้งโทรศัพท์พูดคุยกัน เป็นเครื่องรับส่งสัญญาณภาพแบบวิดีโอ เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์เข้าด้วยกันจนสามารรถสร้างชุมชนเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ เป็นเครื่องควบคุมระยะะไกลหรือรีโมทคอนโทรล เช่น เมื่อเราอยู่ที่ทำงานเราสามารถเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับกับระบบกล้องวงจรปิดที่บ้านของเราเพื่อจับตาดูความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่บ้าน เช่น ดูพี่เลี้ยงเด็กกำลังเลี้ยงลูก จับตาดูหัวขโมย ดูบุรุษไปรษณีย์ที่มาส่งจดหมายที่หน้าบ้านเรา

        ประเด็นที่จะหยิบยกมาพูดถึงในบทความนี้ จะมุ่งเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสื่อสารในการสร้างชุมชนออนไลน์ (online community) สร้างโซเชียลมีเดีย. (social media) สร้างกลุ่มสังคม (social group) ขึ้นมาบนพื้นที่การสื่อสาร ซึ่งมีลักษณะเป็นโลกเสมือนจริง (virtual reality society) ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นจริงแบบจริงๆ และส่วนที่เป็นจริงแบบปลอมๆ

        ส่วนแรกคือที่เป็นจริงแบบจริงๆ อย่างเช่น ตัวบุคคลที่ทำการสื่อสารอยู่นั้นเป็นคนจริงๆ ไม่ใช่หุ่นยนต์ เป็นความคิด คำพูด การแสดงออกของบุคคลจริงๆ ไม่ใช่หุ่นยนต์หรือคอมพิวเตอร์โต้ตอบ

        ส่วนที่สองคือเป็นจริงแบบปลอมๆ หรือเป็นความจริงเสมือน หรือความจริงเทียม อย่างเช่น พื้นที่ (space) ที่เราสมมุติว่ามันมีพื้นที่อยู่จริง เช่น เราเชื่อว่าหน้า wall ใน facebook ของเรา ที่เราสร้างขึ้น เป็นพื้นที่จริงๆ มีตัวตนจริง มีขอบเขต มีขนาด เพราะสื่อสร้างให้เรารู้สึกว่า เราสามารถรับรู้ได้ถึงขนาดของพื้นที่ เช่น หมายเลขหน้า จำนวนหน้า ขนาดความกว้างความยาวของหน้า เรารับรู้ถึงรูปภาพ (photo) ที่เราโพสท์ขึ้นไป เรารับรู้ถึงข้อความ (message) หรือตัวอักษร (text) ที่เราโพสต์ขึ้นไป และมองเห็นได้ แก้ไขได้ ลบได้ เพิ่มเติมได้ ทั้งๆ ที่ความเป็นริงแล้ว มันคือ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ (signal) เท่านั้นเอง มันคือ คลื่นไฟฟ้าชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ สิ่งเหล่านี้ประกอบรวมกันเข้าจนเราคิดว่ามันเป็น "ความจริง" แต่ความจริงแล้วมันเป็นเพียง "ความเสมือนจริง" (virtual reality) เท่านั้น

        เมื่อคนเรานำพาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงติดต่อกันในระยเวลานานๆ บางครั้งทำให้เราแยกไม่ออกระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนจริง

       เราไม่รู้ว่าเรากำลังวิ่งไป-วิ่งกลับ เราไม่รู้ว่าเราเข้าไป-ออกมา เราไม่รู้ว่าเราอยู่บนโลกทางกายภาพที่เป็นจริง-อยู่บนโลกของระบบการสื่อสารที่เป็นโลกเสมือนจริง

       ดูเหมือนว่า..เรากำลังเดินทางข้ามไป-มา ระหว่างพรมแดนอย่างหนึ่งที่เราสมมุติขึ้น

        แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่วิ่งข้ามพรมแดนทั้งสองไปมาอยู่ตลอดเวลาคือ "การทำงานของจิต"

        "การทำงานของจิต" อันประกอบด้วยสำนึกรู้ผ่านผัสสะของมนุษย์ รูปแบบของผัสสะที่เรารู้จักคุ้นเคยคือ "ความคิด"

        การเดินทางของจิต หรือ การเดินทางของความคิด สามารถโลดแล่นข้ามไปได้ทั่วทุกพรมแดนอย่างไร้ข้อจำกัด

        การเดินทางของจิต หรือ การเดินทางของความคิดนี้ เป็นได้ทั้งสภาวะ "อิสระภาพ" และ "ไร้อิสระภาพ" รวมทั้ง เป็น "คุณประโยชน์" และเป็น "โทษ" หรือ เป็น ภยันตรายในตัวเอง

        เมื่อพิจาณาในมิติด้านการเป็นอิสระภาพ หมายถึง ความเป็นอิสระของการเดินทางของจิตหรือความคิด ที่สามารถโลดแล่น รับรู้ และเรียนรู้ ได้ตลอดเวลา

        เมื่อพิจาณาในมิติด้านการไร้อิสระภาพ หมายถึง จริงๆ แล้วเราไม่ได้มีอิสระภาพที่แท้จริง แต่เรากำลังเดินไปบนถนนที่มีผู้สร้างไว้แล้ว เรากำลังเดินไปบนชะตาชีวิตที่มีผู้ขีดเขียนไว้แล้ว นั่นก็คือ "ข้อมูลข่าวสาร" ที่เราวิ่งเข้าไปหา วิ่งเข้าไปรับรู้ วิ่งเข้าไปตักตวง ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ถูกออกแบบมาในรูปแบบต่างๆ เช่น ข้อมูล (data) ข่าว (news) ความรู้ (knowledge) ความคิดเห็น (opinion) การโน้มน้าวใจ (persuasion)  

        การมีอิสระภาพในการเดินทางบนโ,กเสมือนจริง มองดูผิวเผินคล้ายจะเป็นคุณประโยชน์ แต่หหากมองอีกด้านหนึ่ง เราจะพบว่ามันมีภยันตรายแฝงเร้นอยู่ตลอดเวลา

        การเดินทางของความคิด หากปราศจากการควบคุม มันจะเป็นการเดินทางแบบไร้ทิศทางไร้จุดหมาย มันจะทำให้เกิดสิ่งที่ในทางศาสนาพุทธเรียกว่า "จิตส่าย" หรือ จิตไม่นิ่ง ศาสนาพุทธจึงสอนเราว่าจะเราต้องควบคุมการเดินทางของความคิด โดยการใช้สิ่งที่เรียกว่า "สติ" คอยกำกับ เพื่อให้เราตระหนักรู้ในปัจจุบันขณะ หรือตระหนักรู้ความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้เราสามารถระลึกรู้ว่า เรากำลังอยู่บนโลกจริงหรือโลกเสมือนจริง

       ผัสสะ หรือการสัมผัสรู้ทาง ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย และ ใจ จะช่วยให้เราระลึกได้ว่าเรากำลังอยู่ในโลกใดกันแน่

        อย่างไรก็ดี วันนี้ เราอาจใช้กฏเกณฑ์ที่ว่านี้ช่วยแยกแยะได้ว่าเรากำลังอยู่บนโลกจริงหรือโลกเสมือนจริง แต่วันข้างหน้าไม่แน่ !!

        ด้วยอิทธิพลของ Digital Revolution Technology ทำให้มนุษย์สามารถเนรมิตเกือบทุกสิ่งให้เราได้หมด ทั้งเสื้อผ้า อาหาร สถานที่ แม้กระทั่งคน

        เราสามารถเดินทางไปเที่ยวนิวยอร์ค ลอนดอน ปารีส มิลาน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ธิเบต โดยที่ตัวเราอยู่ที่เดิมเช่นอยู่ที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี จันทบุรี ตราด กาญจนบุรี

        เราสามารถถ่ายรูปคู่กับเทพีสันติภาพที่สหรัฐอเมริกา หอไอเฟลที่ฝั่งเศส ได้เสมือนกับว่าเราอยู่ที่นั่นจริงๆ

        ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการอยู่ในโลกเสมือนจริงที่ใกล้ตัวเราที่สุดคือ การถ่ายรูปติดบัตรประจำตัวขนาดสองนิ้ว ไม่ว่าจะเป็นชุดครุยปริญญาทุกสถาบันการศึกษา ชุดข้าราชการระดับสูง เราสามารถถ่ายรูปเหล่านั้นได้ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยเดินเข้าไปในสถาบันการศึกษานั้นมาก่อนเลยในชีวิต ด้วยการปฏิวัติทางเทคโนโลยีกราฟิก หรือ (graphic revolution) หรือการใช้เทคนิคการตัดต่อภาพ

        แม้กระทั่งการช็อปปิ้ง เราเคยเดินเข้าไปในห้างซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อซื้อผงซักฟอก สบู่ ยาสระผม น้ำมันพืช แต่ทุกวันนี้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างตลาดเสมือนจริง ให้เราสามารถเดินเข้าไปช็อปปิ้งซื้อสินค้าได้ที่ห้างนั้น ทั้งๆ ที่ตัวเราจริงๆ ยังนั่งอยู่ในห้องรับแขกที่บ้าน

        ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่า เราสามารถช็อปปิ้งในตลาดเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ สั่งซื้อสินค้าต่างๆ มีภาพสินค้า มีป้ายราคา มีปุ่มหยิมสินค้ามาใส่ตระกร้า มีจุดจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตเหมือนกับที่เรายื่นบัตรให้พนักงานเก็บเงินจริงๆ หลังจากนั้นประมาณ 3 ชั่วโมงสอนค้าที่เราสั่งซื้อจะถูกส่งมาถึงบ้านเรา

        เรายอมรับเอาความเสมือนจริงเข้ามาอยู่ในโลกความจริงกันแล้วในยุค ค.ศ.2013 !! @ อิสรภาพทางความคิดของมนุษย์ในการเดินทางข้ามพรมแดนระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนจริง..ทำให้มนุษย์มีความสุขอยู่ในโลกแห่งความคิดและจิตใจ

        สิ่งที่ต้องตระหนักคือ โลกทางความคิดในยุคดิจิทัลคอมมูนิเคชั่น  ในโลกออนไลน์ ในโลกโซเชียลมีเดีย โลกแบบนี้จะถูกประดิษฐ์สร้าง "ให้รับรู้ด้านความสุขเพียงด้านเดียว"

        ไม่มีอากาศร้อน ไม่มีสภาวะมลพิษ ไม่มีสิ่งแวดล้อมที่อันตราย ไม่มีการจราจรติดขัด ไม่มีผู้คนที่อันตราย ไม่มีโจรผู้ร้าย ไม่มีคนที่อิจฉาริษยา กลั่นแกล้ง ไม่มีอุปสรรคขัดขวางใดๆ มีแต่ความสะดวก มีแต่ความสบาย มีแต่ความสุข มีแต่ความหวังดี มีน้ำใจหยิบยื่นความช่วยเหลือ

        ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ซึมซับรับรู้แต่สิ่งที่ดีๆ ในโลกเสมือนจริงไปนานๆ มนุษย์จะหลงลืมไปว่าตนเองกำลังกำลังอยู่ในโลกเสมือนจริง แล้วกลับเชื่ออย่างสนิทใจว่าตนเองกำลังมีชีวิตในโลกจริง

        จนเมื่อมนุษย์ต้องมาพบเจอปัญหาในโลกจริง ทั้งปัญหาอากาศร้อน สภาวะโลกร้อน การจราจรติดขัด..ที่ร้ายที่สุดคือมาเจอผู้คนที่โหดร้าย เอารัดเอาเปรียบ แล้งน้ำใจ คดโกง หลอกลวง..ปัญหาที่ตามมาคือ มนุษย์ไม่สามารถจะปรับตัวให้รับมือกับสภาพความจริงเหล่านี้ได้

         อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีดิจิทัลในโลกเสมือนจริง ทำให้มนุษย์อ่อนแอลง อ่อนแอทั้งทางร่างกายและจิตใจ

         เมื่อไม่เข้มแข็ง ไม่กล้าหาญ ไม่มีความอดทนเพียงพอ ไม่สามารถปรับตัวได้ มนุษย์จึงไม่สามารถต่อสู้ปัญหาในโลกความจริงได้ เมื่อนั้นมนุษย์จึงพากันหลบหนีไปอยู่ในโลกเสมือนจริงแทน โดยการพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสมาร์ทโฟน ในซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ

         นักคิดเรื่องเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร และผู้ริเริ่มแนวคิดโลกาภิวัฒน์อย่าง Marshall McLuhan ได้อธิบายไว้ในหนังสือชื่อ Understanding Media: The Extensions of Man เมื่อปี ค.ศ. 1964 โดยอธิบายถึงแนวคิดเรื่อง Medium is the Message แนวคิดเรื่อง Hybridge Energy รวมทั้งการอธิบายแนวคิดเรื่อง Escapism media และเรื่อง Global village ไว้นานแล้ว แต่เหตุการณ์นี้เพิ่งมาอุบัติชัดเจนในยุคสมัย ค.ศ.2013 นี่เอง !!

         โลกเสมือนจริงสามารถให้ "ความสุขแบบเทียม" (pseudo-happiness) แก่มนุษย์ได้ มนุษย์จึงพากันหลบหนีเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงมากขึ้นทุกที ตัวอย่างเช่น การพูดคุยกันแบบเสมือนจริง การคบหากัน การมีปฏิสัมพันธ์กันแบบเสมือนจริง ใน facebook หรือการส่งข่าวสารถึงกันทาง twitter การถ่ายรูปผ่าน instragram การค้นหากันด้วย YouTube การเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจาก YouTube แทนห้องเรียน

         สิ่งที่เป็นพยานยืนยันเรื่องนี้อย่างดีอีกประการหนึ่งคือ มนุษย์ใช้เวลาที่อยู่ในโลกเสมือนจริงมากขึ้นทุกวัน และใช้เวลาที่อยู่ในโลกความจริงน้อยลงทุกวัน

         จนบางครั้งเจอหน้ากันจริงๆ ยังรู้สึกแปลกๆ บางครั้งแทบไม่มีอะไรจะพูดคุยกันตรงๆ เลย เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยกับโลกความจริง  คุยกันได้ไม่นาน ก็ขอกลับไปติดต่อกันในโลกเสมือนจริงเหมือนเดิม

         มนุษย์เราห่างเหินกันทุกวัน ในที่สุดแล้ว..
         เราคงไม่รู้จักตัวจริงกันอีกต่อไป
         เราคงไม่รู้สึกยินดีกับใครจริงๆ อีกต่อไป
         เราคงไม่รู้สึกสงสารเห็นใจใครจริงๆ อีกต่อไป ดังตัวอย่างความคิดที่ว่า
         "แค่ Share ก็ถือว่า ช่วยแล้ว"
        ในที่สุด..เราคงไม่รู้สึกรักใครอย่างแท้จริงอีกต่อไป 

        รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน 
        วันที่เขียน 27 เมษายน 2556 
        เวลา 08.19 น.

ความคิดเห็น

  1. การเดินทางข้ามพรมแดนระหว่างโลกแห่งความจริงกับโลกเสมือนจริงของมนุษย์..

    ตอบลบ
  2. บทความใหม่ เขียนเมื่อวันที่ 27/4/56

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค