ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2019

คิดแบบเก่าในสื่อใหม่

คิดแบบเก่าในสื่อใหม่ !! ................................... Facebook เป็นดิจิทัลมีเดียที่ interactive ได้แบบเรียลไทม์ นักการเมืองที่เอาแต่โพสต์ข่าวสาร daily activities เพื่อ inform การทำงานของตนเองว่า แต่ละวันไปทำความดีอะไรมาบ้าง . โดยปราศจากการเข้ามาอ่าน ปราศจากการรับรู้ปัญหาและความต้องการ เข้ามาตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น แสดงมุมอง วิทัยทัศน์ของตนเอง ปราศจากแสดงการมีส่วนร่วม กับ audience ในเฟซบุ๊ก . แม้จะสื่อสารบน New media แต่รูปแบบการสื่อสาร ยังคงเป็นรูปแบบ Traditional media มาก ๆ เปรียบได้กับการใช้รถแห่ประกาศโฆษณาสินค้าในชนบท ที่เป็นการสื่อสารทางเดียว บางครั้งยังทำให้รู้สึกว่าเป็น propaganda มากกว่า . สะท้อนให้เห็น Mindset ว่ายังคงมีชุดความคิดการใช้สื่อและการสื่อสาร ใน paradigm แบบดั้งเดิม ที่ล้าสมัย . ผลที่เกิดขึ้นคือ ผู้รับสารจะ "อ่านผ่าน ๆ" และจะ "เลื่อนผ่าน" ไปอย่างรวดเร็ว ไม่ได้ทั้งการจดจำ ความประทับใจ ความพึงพอใจ ไม่สร้างความรู้สึกผูกพันทางจิตใจกับประชาชนผู้รับสาร . ที่สำคัญคือ ไม่ได้รับความชื่นชม และไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนผู้รับสารอย่างที่ตน

Win-Win

Win-Win? .......................................... ทฤษฎี Win-Win ที่คนเราพูดถึงกัน ความจริงแล้วมันไม่มี Absolutely Win-Win มันไม่มี ชนะ-ชนะ หรือ ได้-ได้ ที่แท้จริงหรอก มันมีเพียงแค่ Win-Win ที่เรายอมรับมันต่าหาก .. โดยธรรมชาติมันไม่มีความเท่าเทียมกันเรื่อง "อำนาจ" มันจะมีฝ่ายหนึ่งที่มีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ .. อำนาจทางธุรกิจ (ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาสองหมื่นแห่งทั่วประเทศมีอำนาจมากกว่าร้านที่มียี่สิบสาขา) อำนาจเงิน (คนมีเงินหมื่นล้านมีอำนาจต่อรองสูงกว่าตนมีเงินสิบล้าน) อำนาจปกครอง (เช่น พ่อแม่กับลูก ปลัดกระทรวงกับข้าราชการซี 8) อำนาจทางการเมือง (เช่น มีเสียงมากกว่า มีบารมีมากกว่า มีอิทธิพลมากกว่า) อำนาจทางร่างกาย (เช่น ร่างกายเข้มแข็งกว่า มีพรรคพวกมากกว่า) อำนาจทางความรู้สึก (ผู้ที่เป็นเจ้าของหนี้บุญคุณ) อำนาจทางจิตใจ (เช่น เป็นฝ่ายที่ถูกรักมากกว่า) .. เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จะเกิด "การต่อรอง" ระหว่างสองฝ่าย ในระหว่างต่อรองทั้งสองฝ่ายจะอาศัย "วิธีคิด" .. ฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่า จะมี "วิธีคิด" แบบหนึ่ง เช่น ได้ตำแหน่งที่ดีที่

สารทางการเมือง แบรนด์ ภาพลักษณ์ และความนิยมทางการเมือง

สารทางการเมือง เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน ประเภทของสารทางการเมือง       สารทางการเมืองแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์การจำแนก ดงัต่อไปนี้ 1. ประเภทของสารทางการเมืองที่จำแนกตามเนื้อหาของสารทางการเมือง สารทางการเมืองมีลักษณะเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทางการเมือง (political matters) สารทางการเมืองจะต้องเป็นสิ่งที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องทางการเมืองเป็นหลัก เนื้อหาสาระทางการเมือง แบ่งออกเป็น 12 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1) เนื้อหาเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ความเชื่อทางการเมือง แนวคิดทางการเมือง เช่น แนวคิดประชาธิปไตย แนวคิดสังคมนิยม แนวคิดเผด็จการ แนวคิดเรื่องเสรีภาพ แนวคิดเรื่องสิทธิ แนวคิดเรื่องความเสมอภาค แนวคิดเรื่องสิทธิพลเมือง 2) เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายทางการเมือง ประกอบด้วย การสร้างนโยบายทางการเมือง การเผยแพร่นโยบายทางการเมือง การสร้างการยอมรับนโยบายทางการเมือง ความการสร้างความนิยมในนโยบายทางการเมือง 3) เนื้อหาเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ประกอบด้วย การวางแผนการหาเสียงเลือกตั้ง การสร้างแคมเปญรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การรณรงค์หาเสียงเลือก

เป็นเพราะใจที่ไขว่คว้า หรือเป็นเพราะโชคชะตาของเจ้า?

เป็นเพราะใจที่ไขว่คว้า หรือเป็นเพราะโชคชะตาของเจ้า? .......................... ความโชคดีของคนเราที่แตกต่างจากคนอื่นมี 4 อย่าง คือ หนึ่ง ร่างกายแข็งแรงดี สอง สมองดี สาม พบครูอจารย์ดี สี่ พบแหล่งความรู้ดี สองอย่างแรกคนส่วนใหญ่มักจะได้รับมาตั้งแต่กำเนิด แต่สองอย่างหลัง เป็นเรื่องการไขว่คว้า และบางทีก็อยู่ที่โชตชะตา .. ตัวอย่างของคือ การได้พบแหล่งความรู้ดี ที่ไม่ได้คาดหมาย ขณะออกกำลังกายตอนสองทุ่มเมื่อวาน บังเอิญได้ดูภาพยนตร์เรื่อง The Karate Kid (1984) เวอร์ชั่นแรกสุด .. Miyaki ครูผู้สอนคาราเต้ชาวญี่ปุ่น พูดถ้อยคำดี ๆ เตือนสติ Daniel ลูกศิษย์เด็กหนุ่ม ตอนที่ลูกศิษย์มาบอกว่าเขาได้ใบขับขี่แล้ว ในวันเกิดของเด็กหนุ่มพอดี ก่อนที่เขาจะมอบรถยนต์รุ่นคลาสสิคให้เด็กหนุ่ม ครูมิยากิพูดว่า .. "จงจำไว้ว่า ใบขับขี่ ไม่อาจแทน ตา หู มือ และสมอง ของเจ้าได้" .. โดนเลยครับ การได้ยินคำพูดของครูมิยากิ (ในภาพยนตร์ใช้คำว่า Mentor) นี้สำหรับผมมีสองประเด็น .. ประเด็นแรก คือ ผมคิดเปรียบเทียบขึ้นมาทันทีว่า .. "ใบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก&quo