ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Win-Win

Win-Win?
..........................................
ทฤษฎี Win-Win ที่คนเราพูดถึงกัน ความจริงแล้วมันไม่มี Absolutely Win-Win มันไม่มี ชนะ-ชนะ หรือ ได้-ได้ ที่แท้จริงหรอก มันมีเพียงแค่ Win-Win ที่เรายอมรับมันต่าหาก
..
โดยธรรมชาติมันไม่มีความเท่าเทียมกันเรื่อง "อำนาจ" มันจะมีฝ่ายหนึ่งที่มีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ
..
อำนาจทางธุรกิจ (ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาสองหมื่นแห่งทั่วประเทศมีอำนาจมากกว่าร้านที่มียี่สิบสาขา) อำนาจเงิน (คนมีเงินหมื่นล้านมีอำนาจต่อรองสูงกว่าตนมีเงินสิบล้าน) อำนาจปกครอง (เช่น พ่อแม่กับลูก ปลัดกระทรวงกับข้าราชการซี 8) อำนาจทางการเมือง (เช่น มีเสียงมากกว่า มีบารมีมากกว่า มีอิทธิพลมากกว่า) อำนาจทางร่างกาย (เช่น ร่างกายเข้มแข็งกว่า มีพรรคพวกมากกว่า) อำนาจทางความรู้สึก (ผู้ที่เป็นเจ้าของหนี้บุญคุณ) อำนาจทางจิตใจ (เช่น เป็นฝ่ายที่ถูกรักมากกว่า)
..
เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จะเกิด "การต่อรอง" ระหว่างสองฝ่าย ในระหว่างต่อรองทั้งสองฝ่ายจะอาศัย "วิธีคิด"
..
ฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่า จะมี "วิธีคิด" แบบหนึ่ง เช่น ได้ตำแหน่งที่ดีที่สุด ได้ชื่อเสียงมากที่สุด ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ได้เงินมากที่สุด ได้ความสบายมากที่สุด
..
แต่ฝ่ายที่รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจน้อยกว่า จะมี "วิธีคิด" อีกแบบหนึ่ง เช่น  ทำอย่างไรเราจึงจะได้ตำแหน่งบ้าง ทำอย่างไรเราจึงจะมีส่วนในชื่อเสียงนั้นบาง ทำอย่างไรเราจึงจะได้ผลประโยชน์บ้าง ทำอย่างไรเราจึงจะได้เงินบ้าง ทำอย่างไรเราจึงจะได้รับความสบายบ้าง
..
แต่มี "วิธีคิด" บางอย่างที่ฝ่ายที่รู้สึกมีอำนาจน้อยกว่า จะต้องคิด (ในขณะที่ฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าไม่ต่องคิด) นั่นคือ
..
1. ทำอย่างไรเราจึงจะอยู่รอด
2. ทำอย่างไรเราจึงจะอยู่ได้แบบสุขสบาย
3. ทำอย่างไรเราจึงจะอยู่ได้แบบพออยู่ได้
4. ทำอย่างไรเราจึงจะอยู่ได้โดยเดือดร้อนน้อยที่สุด
..
ก่อนที่จะตัดสินใจ เลือกอยู่ข้างใด เลือกสนับสนุนใคร และเลือกทำอะไร มนุษย์ทั้งสองฝ่ายจะ "ประเมิน" สถานการณ์เสียก่อน
..
โดยการชั่งน้ำหนักสิ่งที่ตนเองจะได้รับ ระหว่าง

1. ผลดี-ผลเสีย
2. โอกาสชนะ-โอกาสแพ้
3. ความดี-ความเลว
4. คุณธรรม-ไร้คุณธรรม
5. ความอยู่รอด-ความเดือดร้อน
6. ความสบาย-ความลำบาก
7. ความสุข-ความทุกข์
..
เมื่อประเมินได้แล้ว จะเกิดรูปแบบการตัดสินใจปฏิบัติ 3 รูปแบบ คือ
..
1. อยู่เป็น (Play Safe) อยู่รอดด้วย ได้ตำแหน่งด้วย ได้ชื่อเสียงด้วย ได้ผลประโยชน์ด้วย ได้เงินด้วย ได้ความสบายใจด้วย แต่ต้องยอมเป็นฝ่ายที่ "ได้น้อยกว่า" เสมอ
..
2. อยู่ในภาวะที่ดีที่สุดเท่าที่ตนเองมีความพึงพอใจ (Satisfy Condition) ขออยู่แค่นี้ ขอได้แค่นี้ พอใจแค่นี้ ที่เหลือคุณเอาไป แต่อย่ามาทำให้ชีวิตฉันเดือดร้อน ขออยู่แบบสงบ
..
3. อยู่ในภาวะที่ดีที่สุดเท่าที่พอจะเป็นไปได้ แม้ไม่พึงพอใจนัก (Unsatisfy Condition) แม้ไม่ชอบ แต่ประเมินแล้วว่า "สู้ไปก็แพ้" ดังนั้นจึงเลือกเป็นฝ่ายยินยอม ยินยอมสละตำแหน่ง สละชื่อเสียง สละผลประโยชน์ สละเงิน สละความสบายบางอย่าง ได้น้อยก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่ได้เลย หรือบางครั้งอาจจะไม่ได้เลย แต่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและครอบครัว 
..
สิ่งที่เรียกว่า "ได้ทั้งสองฝ่าย" หรือ "ชนะ-ชนะ" หรือ "ได้-ได้" หรือ "พอใจ-พอใจ" ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นเพียง คำพูดที่ช่วยให้ฝ่ายที่มีอำนาจน้อยกว่า ฟังแล้วรู้สึกสบายใจ ว่าตนเองมิได้เสียเปรียบ
..
มันไม่ได้เป็นสภาวะ "ชนะ-ชนะ" หรือ "ได้-ได้" หรือ "พอใจ-พอใจ" อย่างแท้จริง มันไม่มีสภาวะ Win-Win อย่างแท้จริงหรอก
..
ไม่ว่าจะวงการเมือง วงการทหาร วางการธุรกิจ วงการค้า วงการการศึกษา วงการกีฬา วงการเพื่อน มันไม่มีวิน-วินที่แท้จริง (Absolutely Win-Win) อยู่หรอก
..
มันมีเพียง "สิ่งที่คุณยอมรับได้" และเป็น "สิ่งที่คุณเลือก" เท่านั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค