ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

คนไทยหรือเปล่า? กับ Media Power

ผมพยายามไปสืบค้นดูว่า "อัตลักษณ์ของคนไทย" คือ สิ่งที่แสดงความเป็นตัวตนของคนไทย มันมีอะไรบ้าง ได้ข้อมูลสรุปมาว่า คนไทยนั้นมีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตร มีความโอบอ้อมอารี มีความสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีรอยยิ้มเสมอ รักสนุก รักความสะดวกสบาย .. อีกด้านหนึ่ง คนไทยมักเก็บความรู้สึก ไม่ค่อยแสดงออก ไม่ค่อยเคารพกฏเกณฑ์ ไม่รักษาคำพูด ไม่รักษาเวลา ชอบทำอะไรตามใจ .. แต่ก็ค้นไม่เจอว่าคนไทย "ความมีน้ำใจ" เป็นอัตลักษณ์พิเศษของคนไทย ในขณะที่คนชาติอื่น ๆ เช่น คนญี่ปุ่นก็มีความมีน้ำใจเช่นกัน .. จึงเกิดความสงสัยว่า ทำไมคนไทยจึงชอบอ้างว่า คนไทยเป็นคนที่มีน้ำใจอยู่เสมอ จนถึงกับนำมาใช้อ้างอิงว่า "ถ้าเป็นคนไทยต้องมีน้ำใจ" .. เมื่อคนไทยเผชิญหน้ากับบุคคลอื่น และเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นฝ่ายผิดในฐานที่ไม่ยอมเอื้อเฟื้อให้ตน จะพูดทวงถามถึงอัตลักษณ์ไทยว่า .. "ไม่มีน้ำใจเลย..เป็นคนไทยหรือเปล่า?" "เป็นคนไทยหรือเปล่า..ไม่มีน้ำใจเลย?" .. แม้กระทั่งตามรูปการณ์แล้วตนเองน่าจะเป็นฝ่ายผิด เช่น กระทำผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง แท

นวัตกรรม ตอนที่ 6 การประเมินผลนวัตกรรม

เมื่อนำนวัตกรรมการสื่อสารออกสู่ตลาดให้ผู้บริโภค หรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือพนักงานในองค์กร ได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้ว นักสร้างสรรค์และนักสื่อสารที่นำนวัตกรรมการสื่อสารไปประยุกต์ใช้ ควรจะต้องทำการประเมินผลการใช้นวัตกรรมการสื่อสาร โดยการประเมินผลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์และบริการ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกระบวนการ ทั้งกระบวนการผลิต กระบวนการส่งมอบ กระบวนการบริการ อันเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม ทักษะความสามารถของพนักงาน และสมรรถนะของพนักงาน รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในความรู้สึกนึกคิดของลูกค้าและผู้ใช้บริการ ตลอดจนผลสำเร็จทางด้านการตลาดตามที่กำหนดเป้าหมายไว้ ซึ่งมีการสร้างตัวชี้วัดขึ้นมาเป็นหัวข้อในการประเมินด้านต่าง (O’Sullivan & Dooley, pp.115-119) รูปแบบการประเมินผล การประเมินผลการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการสื่อสารมีหลายวิธี นักสร้างสรรค์และนักสื่อสาร สามารถเลือกใช้รูปแบบการประเมินที่เหมาะสมกับงานของตนเองได้ ในที่นี้ขออธิบายรูปแบบการประเมินผล 4 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ 1. การประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมกา

นวัตกรรม ตอนที่ 5 การสร้าง การออกแบบ การพัฒนา นวัตกรรม

          นวัตกรรม เป็นกระบวนการของการเกิดความคิด (taking ideas) ที่คิดไปข้างหน้า คิดย้อนกลับ และคิดแบบประณีต การคิดแกว่งไปแกว่งมา จนกระทั่งมาเจอสิ่งที่เรียกว่าความรู้ที่แตกต่าง กัน (Tidd & Bessant, 2013, p.233) สิ่งที่มากระตุ้น (trigger) กระบวนการคิดไม่ได้มีแต่เฉพาะการเกิด ประกายความคิดวาบ หรือเกิดจากแรงบันดาลใจที่แวบเข้ามาในสมองเท่านั้น แต่ยังเกิดจากทางเลือกอีกหลายทางและหลากหลาย           ดังนั้น ในการคิดสร้างสรรค์เพื่อนำนวัตกรรมการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมจะต้องมองเห็นที่มาของการเกิดนวัตกรรมจากหลายทิศทาง หลายที่มา และหลายแหล่ง นวัตกรรมมีที่มาจากแหล่งของนวัตกรรม (Source of Innovation) หลาย ๆ แหล่ง ดังภาพที่ 6.1 ผู้สร้างสรรค์และผู้ประยุกต์ใช้นวัตกรรมสามารถนำแหล่งที่มาต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมขึ้นมา เพื่อใช้งานตามลักษณะของงานและวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือวัตถุประสงค์ของธุรกิจของตนเองได้อย่างไร กระบวนการสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการสื่อสารมี กระบวนการในการคิดที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้ (Tidd & Bessant, 2013, p.23