ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม


บทนำ
การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ
          1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)
          2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)
          3. กระบวนการพัฒนา (Development)
          4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)
           การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม




เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม
การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59)
1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น
2. การสร้างสรรค์ตลาดใหม่ (Creation of new market) เป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อทำให้เกิดความต้องการใหม่ เกิดความปรารถนาของผู้บริโภค เกิดกำลังซื้อ
3. การขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ (Extension of the product range) เป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อขยายผลิตภัณฑ์เดิมเพิ่มออกไป เช่น จากเดิมที่เคยมีเพียงผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ขยายมาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผลิตภัณฑ์เพิ่มความขาวของใบหน้า
4. การลดต้นทุนด้านแรงงาน (Reduced labor costs) เป็นการนำนวัตกรรมมาใช้ในการทำงานเพื่อลดการใช้แรงงานลง เช่น ใช้เครื่องสแกนข้อมูลสต็อกสินค้าเพียงเครื่องเดียวสามารถทดแทนแรงงานได้ถึงสิบคน
          5. การปรับปรุงกระบวนการผลิต (Improved production process) เป็นการนำนวัตกรรมมาใช้ในการปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วขึ้น ค่าใช้จ่ายน้อยลง สูญเสียน้อยลง ได้ผลงานที่มีคุณภาพมากขึ้น
          6. การลดการใช้วัตถุดิบ (Reduced materials) เป็นการนำนวัตกรรมมาใช้ในการลดปริมาณการใช้วัตถุดิบในการผลิต เพราะความมีประสิทธิภาพของเครื่องมือ เครื่องจักรที่นำมาใช้ในการผลิต
          7. การลดการทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Reduced environment damage) เป็นการใช้นวัตกรรมใหม่ที่มีการคิดค้นส่วนผสม หรือส่วนประกอบที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำยาเครื่องปรับอากาศแบบเดิม R717 เป็นสารทำความเย็นที่ก่อให้เกิดสารพิษ ติดไฟได้ หรือ เช่น R134a ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก ต่อมามีการพัฒนาใหม่เป็นน้ำยารุ่นใหม่ชื่อ R410A ซึ่งเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ ไม่ทำให้โลกร้อน
          8. การเปลี่ยนแทนที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิม (Replacement products or services) เป็นการนำนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ นำมาใช้แทนผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมที่มีอยู่
          9. การลดการใช้พลังงาน (Reduced energy consumption) เป็นการนำนวัตกรรมมาใช้ในการลดการใช้พลังงานในการผลิต ในการบริการ

          10. การทำให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ (Conformance to regulations) เป็นการสร้างหรือดัดแปลงนวัตกรรมให้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบ เช่น กฎหมายกำหนดให้ต้องบำบัดน้ำเสียที่ปล่อยออกมาจากโรงงานผลิตสินค้า ก่อนที่จะปล่อยลงสู่ลำน้ำสาธารณะ จึงต้องใช้นวัตกรรรมการบำบัดนำเสียเข้ามาช่วย

การสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างนวัตกรรม

การสร้างการเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นหลักการพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรม การสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงการสร้างคุณประโยชน์ (beneficial changes) ทั้งในระดับใหญ่และระดับเล็ก ให้แก่ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ การเปลี่ยนแปลงถือเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละองค์กร อย่างไรก็ตามแม้แต่ละองค์กรจะมีเอกลักษณ์การเปลี่ยนแปลงของตัวเอง แต่ก็ยังคงมีลักษณะร่วมของการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างนวัตกรรมขององค์กรต่าง ๆ โดยพิจารณาจากธรรมชาติของนวัตกรรม เทคนิคในการบริหารจัดการนวัตกรรม กลยุทธ์การบริหารจัดการนวัตกรรมที่ทำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งกลายเป็นวัฒนธรรมนวัตกรรม (innovation culture) ขององค์กร วัฒนธรรมนวัตกรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับบรรทัดฐานและทัศนคติในการสร้างนวัตกรรมที่มีประสิทธิผล  

กลยุทธ์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง
          การสร้างการเปลี่ยนแปลงขององค์กร เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงสภาวะปัจจุบันขององค์กรไปสู่สภาวะใหม่ในอนาคตที่องค์กรปรารถนาจะเป็น องค์กรจะสร้างแผนงาน (program) และแผน (plan) ที่กำหนดว่า อะไรคือสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะทำโดยใคร การเปลี่ยนแปลงจะทำเมื่อใด
          สภาวะปัจจุบันขององค์กร (present state) มักจะแสดงข้อมูลที่สร้างความเข้าใจชัดเจนถึง สถานะปัจจุบัน (present state) ของผลิตภัณฑ์ และโครงสร้างองค์กร ส่วนสภาวะอนาคตขององค์กร (future state) จะเป็นการจำลองภาพให้เห็นถึงเป้าหมาย (goals) ความคิด (ideas) และโครงการ (project) ที่จะมีการดำเนินการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
          กลยุทธการสร้างการเปลี่ยนแปลงมีได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับแนวคิดของแต่ละองค์กร บางองค์กรใช้กลยุทธ์การรักษาภาพรวมให้คงไว้ (whole organization) แต่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นบางส่วนขององค์กร (focused on one particular) ตัวอย่างเช่น การใช้แนวคิดเรื่อง TQM: Total Quality Management ควบคู่ไปกับแนวคิด Six Sigma หรือ การใช้แนวคิดเรื่อง Organization design ควบคู่ไปกับแนวคิด Project management


เทคนิควิธีการสร้างการเปลี่ยนแปลง
เทคนิควิธีการสร้างการเปลี่ยนแปลง (Techniques of Change) เป็นวิธีการบริหารจัดการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง (change management) เพื่อส่งเสริมความสามารถขององค์กรในการบริหารจัดการนวัตกรรม โดยใช้เทคนิควิธีหลัก 5 เทคนิควิธี ดังนี้คือ
1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning) เป็นแผนงานที่ช่วยให้พนักงานรู้ว่าวัตถุประสงค์คืออะไร เป้าหมายคืออะไร จะไปสู่เป้าหมายได้ด้วยวิธีการอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาความคิด (idea) ได้ว่า ควรจะสร้างโครงการอะไรขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายนั้นได้สำเร็จ
2. การวัดสมรรถนะ (Performance measurement) เป็นเทคนิควิธีการสร้างวิธีการวัดหรือตัวชี้วัดที่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอน ในการวัดสมรรถนะแต่ละด้านขององค์กร ตัวชี้วัดสมรรถนะขององค์กรควรจะต้องง่ายต่อการวัด และมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามขั้นตอน สามารถตัดสินได้ว่าองค์กรสามารถทำได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน
3. การบริหารจัดการความคิดสร้างสรรค์ (Creativity management) เป็นเทคนิควิธีที่มุ่งเน้นการสร้างความคิด (generate idea) และการแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา (solving problems) ผู้บริหารองค์กรมีหน้าที่สร้างปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดความคิดใหม่ ๆ มีหน้าที่ในการควบคุมทิศทางของความคิดใหม่ ๆ ให้มุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรในอนาคต
4. การบริหารจัดการโครงการ (Project management) เป็นเทคนิควิธีที่มุ่งเน้นการจัดการความหลากหลายของการริเริ่มและภารกิจที่ต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด เทคนิควิธีนี้ใช้วิธีการแบ่งภารกิจที่ต้องปฏิบัติภายใต้โครงการ ออกเป็นภารกิจย่อยและกำหนดตารางเวลาการปฏิบัติงาน ตามความเป็นไปได้ของทรัพยากร สิ่งสำคัญในการใช้เทคนิควิธีนี้คือ การบริหารจัดการแฟ้มผลงาน (portfolio management) โดยกลุ่มภารกิจของโครงการหนึ่งจะถูกบริหารให้มีความสัมพันธ์กับกลุ่มภารกิจของโครงการอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ในการสร้างอาคารสูง 50 ชั้น กลุ่มภารกิจโครงสร้างอาคาร กลุ่มภารกิจการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่าง กลุ่มภารกิจการติดตั้งระบบปรับอากาศ กลุ่มภารกิจการติดตั้งระบบน้ำใช้ กลุ่มภารกิจการติดตั้งระบบดับเพลิงฉุกเฉิน กลุ่มภารกิจการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย กลุ่มภารกิจการติดตั้งระบบเสียงและภาพ ทุกกลุ่มภารกิจจะต้องออกแบบการควบคุมการติดตั้งให้สัมพันธ์กับกลุ่มภารกิจอื่น โดยต้องกำหนดลำดับการทำงานว่าภารกิจใดต้องทำก่อนภารกิจใดต้องทำทีหลัง กลุ่มภารกิจใดต้องทำพร้อมกัน ปัจจุบันมีซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารจัดการโครงการ (Project management) หลายโปรแกรม  
5. การจัดการความรู้ (Knowledge management) เป็นเทคนิควิธีที่มุ่งเน้นการออกแบบการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงโดยการจัดการข้อมูลข่าวสารที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จะต้องสร้าง รวบรวม นำเสนอ ใช้ข้อมูลข่าวสารให้เป็นระบบ โดยต้องมีการกำหนดว่า ข้อมูลประเภทใดเป็นข้อมูลหลักที่เป็นหัวใจของความสำเร็จ (key information) ข้อมูลประเภทใดเป็นข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จโดยตรง ข้อมูลประเภทใดเป็นข้อมูลที่เป็นส่วนสนับสนุน (supporting information) ต่อความสำเร็จ

วิธีการสร้างความเปลี่ยนแปลง
วิธีการสร้างความเปลี่ยนแปลง (Change methods) ให้เกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลง (change process) มีหลายวิธี วิธีการสร้างการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางแบบขั้นต่อขั้น (step by step) จอห์น คอตเตอร์ ได้เสนอวิธีการสร้างการเปลี่ยนแปลงไว้ 8 ขั้นตอน ดังนี้คือ (Kotter, 1996, in O’Sullivan and Dooley, 2009 p.37)
          1. การสร้างความรู้สึกเร่งด่วน (Establish a sense of urgency) เป็นการมองตำแหน่งในการแข่งขันขององค์กรอย่างจริงจัง แล้วสื่อสารข้อมูลเหล่านี้อย่างกว้างขวาง โดยการสร้างอารมณ์ สร้างแรงจูงใจทีมงานและพนักงาน มองหาคนที่จะมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้สร้างชัยชนะในการเปลี่ยนแปลง เปิดใจ พูดคุยถึงข้อเท็จจริงที่สร้างความรู้สึกไม่พึงพอใจ
          2. การทำให้เกิดการประสานพลังกัน (Forming a powerful guiding coalition) เป็นการสร้างความเกาะเกี่ยวเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียว สร้างความรู้สึกภักดีระหว่างการจัดการและองค์กร
          3. การสร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision) เป็นการพัฒนาภาพในจิตใจของความเป็นไปได้และสภาวะที่พึงปรารถนาในอนาคตที่อยากเป็นขององค์กร ที่ตั้งอยู่บนความเป็นจริง (realistic) ความเชื่อถือ (credible) และมีพลังดึงดูด (attractive) โดยที่คนในองค์กรส่วนใหญ่ยอมรับ มีความชอบ และอยากเป็น
          4. การสื่อสารวิสัยทัศน์ (Communicating the vision) คือ การสื่อสารเพื่อเอาชนะใจ (winning the hearts) และเอาชนะความคิด (winning the minds) ของพนักงานในองค์กรเป็นรายบุคคล และทุก ๆ คน ควรมีการใช้ช่องทางการสื่อสารทุกช่องทางที่มีอยู่ และต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจนตรงประเด็นและสอดคล้องว่า อะไรคือพฤติกรรมที่อยากให้คนในองค์กรปฏิบัติ
          5. การขจัดอุปสรรคที่มีต่อการปฏิบัติเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ (Removing obstacles for acting on the vision) เป็นการค้นหาและระบุให้ได้ว่าสิ่งใดเป็นแรงต้านต่อการเปลี่ยนแปลงที่คนในองค์กรมีอยู่ โดยต้องค้นหาให้เร็วที่สุดในระยะเริ่มแรกของการสร้างการเปลี่ยนแปลง แล้วหาวิธีการแก้ไข
          6. การวางแผนเพื่อการสร้างความสำเร็จระยะสั้น (Planning for and creating short-terms wins) ความสำเร็จเป็นสิ่งที่จะช่วยผลักดันให้คนในองค์กร โน้มน้าวใจคนในองค์กรยินดีร่วมมือและปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ และต้องทำให้คนในองค์กรเชื่อว่า ความสำเร็จทั้งหมดที่ต้องการได้รับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง
          7. การรวมพลังแก้ไขปรับปรุง (Consolidating improvements) เป็นการสร้างความมั่นใจว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องไม่หวนคืนกลับไปเป็นเหมือนเดิมที่เคยทำมาแล้ว และร่วมมือกันมุ่งพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า
          8. การให้ความรู้ความเข้าใจในแนวทางแบบใหม่ ๆ (Institutionalizing new approaches) ต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจแนวทางใหม่ที่จะนำมาใช้ โดยสร้างความมั่นใจว่าโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงนี้ จะนำไปสู่ในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขององค์กร

กระบวนการสร้างนวัตกรรม

การสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างความคิดใหม่ วิธีการใหม่ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่สามารถทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายของขององค์กรอันเนื่องมาจากการสร้างนวัตกรรมซึ่งสามารถสรุปเป็นเป้าหมายใหญ่ 4 เป้าหมายคือ
1. การแก้ไขปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality)
2. การสร้างความเติบโต (Growth)
3. การสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการ การผลิต การส่งมอบ การบริการ การจัดการ (Efficiency of management)
4. การพัฒนาองค์กรในอนาคต (Future development)
โดยเป้าหมายของขององค์กรอันเนื่องมาจากการสร้างนวัตกรรมซึ่งสามารถสรุปเป็นเป้าหมายย่อย 10 เป้าหมาย ตามที่คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission, 1996) กำหนดไว้ดังนี้คือ (1) การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) (2) การสร้างสรรค์ตลาดใหม่ (Creation of new market) (3) การขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ (Extension of the product range) (4) การลดต้นทุนด้านแรงงาน (Reduced labor costs) (5) การปรับปรุงกระบวนการผลิต (Improved production process) (6) การลดการใช้วัตถุดิบ (Reduced materials) (7) การลดการทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Reduced environment damage) (8) การเปลี่ยนแทนที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิม (Replacement products or services) (9) การลดการใช้พลังงาน (Reduced energy consumption) (10) การทำให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ (Conformance to regulations)
          เป้าหมายทั้ง 10 ประการนี้องค์กรทุกองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนเอง โดยเฉพาะเป้าหมายแรกคือ การปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งการสร้างการเปลี่ยนแปลงกับผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ คือ การปรับปรุงคุณภาพ และทุกเป้าหมายดังกล่าวอันที่จริงก็เป็นไปเพื่อการปรับปรุงคุณภาพในทุกขั้นตอนนั่นเอง
การสร้างนวัตกรรมเพื่อทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายของขององค์กรอันเนื่องมาจากการสร้างนวัตกรรมทั้งหมด 10 ประการข้างต้น สามารถสรุปเป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อเป้าหมายใหญ่ 4 เป้าหมายคือ
1. การแก้ไขปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality)
2. การสร้างความเติบโต (Growth)
3. การสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการ การผลิต การส่งมอบ การบริการ การจัดการ (Efficiency of management)
4. การพัฒนาองค์กรในอนาคต (Future development)

กระบวนการสร้างนวัตกรรม
กระบวนการสร้างนวัตกรรม เป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการย่อย ได้แก่ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.61-64)
          1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)
          2. กระบวนการรับรองโอกาส (Opportunity recognition)
          3. กระบวนการพัฒนา (Development)
          4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)

          กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation) ขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการสร้างนวัตกรรมคือ กิจกรรมการสร้างสรรค์ในการสร้างความคิดที่มีโอกาสเป็นไปได้ การดำเนินงานในขั้นตอนนี้องค์กรจะต้องทำการสำรวจค้นหาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อค้นหาภัยคุกคามและโอกาสที่อาจจะพัฒนามาเป็นนวัตรรมใหม่ขององค์กรได้ กิจกรรมในขั้นตอนนี้จะเป็นการขุดค้นต้นแหล่งนวัตกรรม ในการสร้างความคิดใหม่ และการประเมินแนวทางในการแก้ปัญหา เพื่อระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร สิ่งที่สำคัญที่จะเป็นตัวกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการคิดริเริ่มคือ วัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมองค์กรจะเป็นตัวผลักดันและเสริมพลังการคิดสร้างสรรค์ให้กับคนในองค์กร ปัจจัยนำเข้าสู่กระบวนการสร้างความคิด เป็นการมองเชิงเทคนิคเข้าไปในผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือกระบวนการ ความคิดสร้างสรรค์บางกรณีเกิดจากการเฝ้ามองปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต บางครั้งความคิดสร้างสรรค์อาจเกิดจากการกระตุ้นเร้าโดยเป้าหมายขององค์กร หรืออาจจะได้มาจากโอกาสที่ไม่คาดหมาย
          กระบวนการรับรองโอกาส (Opportunity recognition) ขั้นตอนที่สองของกระบวนการสร้างนวัตกรรมคือ การที่โอกาสของการพัฒนาความคิดให้กับผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ ถูกประเมินและประเมินผลความสัมพันธ์กับโอกาสอื่น ๆ ขั้นตอนของกระบวนการในขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่า ความคิดเชิงนวัตกรรมจะถูกองค์กรเลือก และถูกประเมินว่าจะสร้างผลประโยชน์จากภายนอกองค์กรได้หรือไม่ การตัดสินใจนี้อาจมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยน รวมทั้งสหสัมพันธ์กับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และความเป็นไปได้ของทรัพยากรที่มี รวมทั้งต้องพิจารณาขีดความสามารถ (capability) ปัจจุบันขององค์กร ส่วนผสมของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมา ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน ตลอดจนการส่งสัญญาณมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก คูเปอร์ (Cooper, 1986) เรียกสถานะที่ต้องตัดสินใจนี้ว่า (stage-gates) อันเป็นผลมาจากการได้รับแรงกระตุ้นที่ไม่ถูกทาง ในขั้นตอนนี้มีโอกาสมากที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนสองชนิดเกิดขึ้นคือ การปฏิเสธความคิดที่ดี และการยอมรับความคิดที่เลว ความคิดดี ๆ ที่สามารถสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรอาจจะไม่ถูกเลือกไปปฏิบัติ หรือบางทีความคิดที่ไม่ดีองค์กรกลับนำไปปฏิบัติ ซึ่งความผิดพลาดนี้สร้างความเสียหายให้แก่องค์กร เพราะการเลือกเอาความคิดที่ไม่ดีไปปฏิบัติจะผลาญทรัพยากรไปจำนวนมาก และยังเป็นการปิดโอกาสมิให้ความคิดที่ดี ๆ หรือความคิดที่มีประโยชน์ถูกนำไปปฏิบัติ
          กระบวนการพัฒนา (Development) เมื่อโอกาสใดถูกเลือกหรือถูกหมายตาไว้ในฐานะที่เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับองค์กร ความคิดใหม่นั้น (idea) จะถูกเคลื่อนที่ไปยังระยะตั้งต้นใหม่ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปได้ ขั้นตอนนี้เป็นการพัฒนาความคิดหรือความคิดในการแก้ปัญหาเข้าไปในนวัตกรรมให้กลายเป็นนวัตกรรมที่มีศักยภาพมากพอที่จะเข้าไปแข่งขันในตลาด รวมทั้งสิ่งแวดล้อมภายใน และสิ่งแวดล้อมภายนอก
          การดำเนินงานที่ถือเป็นหัวใจหลักของขั้นตอนนี้คือ การทดลอง (experimental) การออกแบบและการพัฒนา ((design and development) การทดสอบ (testing) การวิเคราะห์ตลาด (marketing analysis) และการสร้างต้นแบบ (prototype) สุดท้ายปลายทางของขั้นตอนการพัฒนาคือ ไอเดียขั้นต้นถูกนำไปพัฒนาให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ บริการที่สัมผัสได้ และกระบวนการที่มองเห็นได้ ซึ่งองค์กรมองเห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีศักยภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ นวัตกรรมที่มีศักยภาพส่วนใหญ่จะรอคอยจนถึงขั้นสุดท้ายของขั้นตอนกระบวนการพัฒนา เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าสามารถเข้ากับตลาดได้ จึงจะมีการนำไปสู่การสร้างที่เป็นจริง (realization) ต่อไป


           กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization) เป็นกระบวนการนำผลการทดลอง (experimental) การออกแบบและการพัฒนา (design and development) การทดสอบ (testing) การวิเคราะห์ตลาด (marketing analysis) และการสร้างต้นแบบ (prototype) มาลงมือสร้างนวัตกรรมตัวจริงขึ้นมา โดยการแก้ไขข้อบกพร่องที่เคยมีอยู่ให้หมดไป และสร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงขึ้นมาให้ผู้บริโภคทดลองใช้


กระบวนการสร้างนวัตกรรมขององค์กร
          การสร้างนวัตกรรมมีกระบวนการ ดังต่อไปนี้
          1. การศึกษาความต้องการนวัตกรรม (The Demand of Innovation)
          2. การวิเคราะห์โอกาสของนวัตกรรม (Innovation Opportunity)
          3. แรงดึงดูดของตลาด (Market Attractiveness)
          4. ทรัพยากรชององค์กรในการสร้างนวัตกรรม (Corporate Resources for Innovation)
          5. ทรัพยากรระดับชาติในการสร้างนวัตกรรม (National Resources for Innovation)
          6. การสร้างความเข้ากันได้ระหว่างทรัพยากรกับตลาด (Matching Resources to Market)
          7. การสร้างต้นแบบ (Protocol Development)
          8. การทดสอบ (Testing)

การสร้างนวัตกรรมในองค์กร
การสร้างนวัตกรรมในองค์กร มีกระบวนการดังนี้
          1. สร้างความเข้าใจร่วมกันว่านวัตกรรมขององค์กรคืออะไร
          2. พูดถึงพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดในองค์กรเพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรม
          3. พูดถึงเป้าหมายของการเติบโตต่อกระบวนการในการสร้างนวัตกรรม
          4. อธิบายกระบวนการและขั้นตอนในการสร้างนวัตกรรมให้พนักงานทราบ
          5. กำหนดภาพที่จะเกิดขึ้นให้พนักงานเข้าใจร่วมกัน
          6. อธิบายถึงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นและแนวทางในการแก้ไข
          7. สร้างวัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรมในองค์กร
          8. เสนอผู้ที่จะเป็นผู้นำในภารกิจสร้างนวัตกรรมในองค์กร

กระบวนการสร้างนวัตกรรมขององค์กร
          การสร้างนวัตกรรมมีกระบวนการ ดังต่อไปนี้
          1. การศึกษาความต้องการนวัตกรรม (The Demand of Innovation)
          2. การวิเคราะห์โอกาสของนวัตกรรม (Innovation Opportunity)
          3. แรงดึงดูดของตลาด (Market Attractiveness)
          4. ทรัพยากรชององค์กรในการสร้างนวัตกรรม (Corporate Resources for Innovation)
          5. ทรัพยากรระดับชาติในการสร้างนวัตกรรม (National Resources for Innovation)
          6. การสร้างความเข้ากันได้ระหว่างทรัพยากรกับตลาด (Matching Resources to Market)
          7. การสร้างต้นแบบ (Protocol Development)
          8. การทดสอบ (Testing)

การสร้างนวัตกรรมในองค์กร
การสร้างนวัตกรรมในองค์กร มีกระบวนการดังนี้
          1. สร้างความเข้าใจร่วมกันว่านวัตกรรมขององค์กรคืออะไร
          2. พูดถึงพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดในองค์กรเพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรม
          3. พูดถึงเป้าหมายของการเติบโตต่อกระบวนการในการสร้างนวัตกรรม
          4. อธิบายกระบวนการและขั้นตอนในการสร้างนวัตกรรมให้พนักงานทราบ
          5. กำหนดภาพที่จะเกิดขึ้นให้พนักงานเข้าใจร่วมกัน
          6. อธิบายถึงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นและแนวทางในการแก้ไข
          7. สร้างวัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรมในองค์กร
          8. เสนอผู้ที่จะเป็นผู้นำในภารกิจสร้างนวัตกรรมในองค์กร

การสร้างนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
         แนวคิดและหลักการในการสร้างนวัตกรรม
1.1 ปัจจัยในการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมต้องคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
1) ความสามารถหลัก (core competency)
ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมเป็น “ความสามารถหลัก” (core competency) ของมนุษย์ ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษย์ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมถือเป็นความสามารถที่เป็นหลักของมนุษย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
จุดแข็งขององค์กรที่ถือเป็นความสามารถหลักขององค์กร จะต้องมีลักษณะที่เข้าเกณฑ์ 5 ประการได้แก่ (Skarzynski, Peter and Gibson, Rowan. (2008). อ้างใน ณัฐยา สินตระการผล, 2553: 113)
(1) ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า
(2) เป็นเอกลักษณ์เฉพาะขององค์กร หรืออย่างน้อยก็ต้องหาได้ยาก
(3) มีความยั่งยืน คงอยู่เป็นระยะเวลานาน
(4) มีความสำคัญกับสถานะขององค์กรในปัจจุบัน
(5) สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลาดใหม่ หรือธุรกิจใหม่
2) ความจำเป็นในการสร้างนวัตกรรม
การที่เราจำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมขึ้นมาก็เพราะเหตุผลสำคัญ 3 ประการคือ
(1) ต้องการกระตุ้นพนักงานในองค์กรให้มีความตื่นตัว สนุกกับการทำงาน เกิดพลังสร้างสรรค์
(2) สร้างความเจริญเติบโตขององค์กรและสร้างผลกำไร
(3) เพื่อความอยู่รอดขององค์กร
3) ความสำคัญของการสร้างนวัตกรรม
การสร้างนวัตกรรมทำให้องค์กรมีข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (competitive advantage) สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเอาชนะปัญหา เอาชนะอุปสรรค และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
4) แนวคิดหลักในการสร้างนวัตกรรม
การสร้างนวัตกรรมเกิดจากการตั้งคำถามสำคัญ คือ
(1) ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้
(2) ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถสร้างนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ หรือระบบงานขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้
(3) ทำอย่างไรเราจึงจะทำให้นวัตกรรมนั้นส่งผลให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ของทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นขึ้นมาได้ หรือก่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบงานและระบบการทำงานขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนขึ้นมาได้
5) ขอบข่ายของการสร้างนวัตกรรม
การสร้างนวัตกรรมแบ่งออกเป็นสองขอบข่าย ได้แก่ (เสน่ห์ จุ้ยโต, 2558 :17)
(1) การริเริ่มสิ่งใหม่ (Initiative) เป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ (Invention) ให้เกิดขึ้น เช่น สินค้าใหม่ บริการใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยมีอยู่ บางครั้งอาจเป็นการเริ่มสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน
(2) การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creative) เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ ที่อาจเป็นการคิดใหม่ทั้งหมด หรือเป็นเป็นการประยุกต์ (apply) ดัดแปลง (adapt) การทำใหม่ (renew) ความรู้ ทักษะ เทคโนโลยี ต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสมกับองค์กร ผลิตภัณฑ์ บริการ ลูกค้า ของตนเอง
6) ผลผลิตของการสร้างนวัตกรรม
ผลผลิตของการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างความใหม่ (Newness) แบ่งออกเป็น 4 ประการ ได้แก่ (เสน่ห์ จุ้ยโต, 2558: 33)
(1) การคิดใหม่ (Rethinking)
(2) การจินตนาการใหม่ (Reimaging)
(3) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ (Research and Development)
(4) การประดิษฐ์ใหม่ (Reinventing)
5) เนื้อหาของนวัตกรรม
1.2 แนวคิดการสร้างสิ่งใหม่
การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (newness) สิ่งที่จะเรียกได้ว่ามีความใหม่ ควรจะต้องมีลักษณะดังนี้ คือ (Kuczmarski, 1996: 11)
(1) ตลาดใหม่
(2) ความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่
(3) แนวทางการผลิตแบบใหม่
(4) กลุ่มลูกค้าใหม่
(5) วิธีการขายแบบใหม่
(6) คนใหม่
(7) ธุรกิจใหม่
(8) ทิศทางกลยุทธ์ใหม่
(9) ผลิตภัณฑ์เก่ามาทำใหม่
(10) บริการใหม่
(11) การสร้างภาวะผู้นำใหม่
(12) เทคนิคการวิจัยแบบใหม่
(13) การคิดแบบใหม่
(14) การปรับตัวแบบใหม่
(15) การปรับปรุงใหม่เพื่อรักษาผลิตภัณฑ์
1.3 หลักการในการสร้างนวัตกรรม
1) หลักความสัมพันธ์เชื่อมโยง
การสร้างนวัตกรรม (innovation) ที่ประสบความสำเร็จ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ (invention) ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ ที่เป็นห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ขององค์กร  
2) การสร้างสิ่งประดิษฐ์

การสร้างนวัตกรรมควรจะต้องมีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ (invention)  ที่มีความเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์

1.4 หลักการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการสร้างนวัตกรรม สองประการ ได้แก่

     1) ผิดพลาดของการสร้างนวัตกรรมแบบที่หนึ่ง (Type 1 Innovation Error) คือ การปฏิเสธความคิดที่ดี

     2) ความผิดพลาดของการสร้างนวัตกรรมแบบที่สอง (Type 2 Error) คือ การยอมรับและลงมือทำตามความคิดที่เลว


การสร้างนวัตกรรมขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

แนวคิดในการสร้างนวัตกรรมขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
         การสร้างนวัตกรรมขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะลงมือสร้าง
            ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง
การสร้างนวัตกรรมขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ต้องมีการสร้างความสามารถหลัก (core competency) ให้แก่บุคลากรในองค์กรทางการเมืองและองค์กรปกครองท้องถิ่น โดยต้องมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ขึ้นมาในองค์กร
1) ต้องมีการสร้างนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการต่าง ๆ ขององค์กรที่จะให้บริการแก่ประชาชน
2) ต้องมีการสร้างนวัตกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะขององค์กรขึ้นมา
3) นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมานั้นต้องมีความยั่งยืนคงอยู่เป็นระยะเวลานาน
4) นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมานั้นต้องมีความสำคัญกับสถานะขององค์กรในปัจจุบัน
5) นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือบริการใหม่ขององค์กร
            ขอบข่ายของการสร้างนวัตกรรมขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มีขอบข่าย (scope) ดังนี้
1) การริเริ่มสิ่งใหม่ (Initiative) เป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ (Invention) ให้เกิดขึ้น เช่น ระบบใหม่ หรือบริการใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยมีอยู่ บางครั้งอาจเป็นการเริ่มสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีองค์กรใดทำมาก่อน
2) การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creative) เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ที่อาจเป็นการคิดใหม่ทั้งหมด หรือเป็นเป็นการประยุกต์ (apply) ดัดแปลง (adapt) การทำใหม่ (renew) นำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้กับองค์กรและประชาชน


            ผลผลิตของการสร้างนวัตกรรมขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
      การสร้างนวัตกรรมขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ควรมีการสร้างความใหม่ (Newness) 4 ประการคือ
1) การคิดใหม่ (Rethinking) เช่น ระบบการบริหารจัดการแบบใหม่ ระบบฐานข้อมูลแบบใหม่ ระบบการสื่อสารแบบใหม่ ระบบบริการประชาชนแบบใหม่ ระบบการแก้ปัญหาแบบใหม่
2) การจินตนาการใหม่ (Reimaging) เช่น การสร้างผู้นำองค์กรแบบใหม่ การสร้างผู้นำที่ชาญฉลาด (Smart Leader) การสร้างประชาชนที่ชาญฉลาด (Smart People) การสร้างประชาชนแบบใหม่ ให้เป็นประชาชนที่เอาการเอางาน (Active citizen) การสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart city)
3) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ (Research and Development)
องค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ควรมีการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาในพื้นที่รับผิดชอบขององค์กร
4) การประดิษฐ์ใหม่ (Reinventing) องค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ควรมีการนำสิ่งประดิษฐ์ที่เคยมีอยู่แล้ว มาพัฒนาใหม่ ทำใหม่ สร้างใหม่ ปรับปรุงใหม่ เพื่อให้เกิดระบบใหม่ บริการใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ขึ้นมาในเขตพื้นที่
            หลักการในการสร้างนวัตกรรมขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
1) หลักความสัมพันธ์เชื่อมโยง
การสร้างนวัตกรรม (innovation) ขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
ที่ประสบความสำเร็จ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ (invention) ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ (product) บริการ (service) หรือกระบวนการ (process) ที่เป็นห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
2) การสร้างสิ่งประดิษฐ์
การสร้างนวัตกรรมขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ควรจะต้องมีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ (invention)  ที่มีความเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีอยู่
สิ่งประดิษฐ์ทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น หมายถึง ผลิตภัณฑ์/การบริการ กระบวนการในการบริหารจัดการ กระบวนการในการให้บริการ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ ตัวอย่างเช่น การสร้างระบบฐานข้อมูลแบบใหม่ที่ดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว การสร้างระบบบริการประชาชนแบบใหม่ที่ทันสมัย รวดเร็ว สร้างความพึงพอใจ
เมื่อกล่าวถึงสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมือง ตัวอย่างเช่น ระบบการสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับประชาชน การใช้สื่อออนไลน์ของรัฐบาลในการสื่อสารกับประชาชน การสร้างวาทกรรมทางการเมืองเพื่อใช้ในการสื่อสารทางการเมือง การสร้างเครือข่ายการสื่อสารทางการเมืองของรัฐบาลและพรรคการเมือง ระบบการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง การสร้างสื่อหรือช่องทางการสื่อสาร เช่น เฟซบุ๊ก แฟนเพจ กลุ่มไลน์ อินสตาแกรม เพื่อใช้ในการปฏิบัติการข่าวสาร ที่เรียกว่า IO: Information Operation เพื่อการชี้แจง การแก้ข่าว การตอบโต้ทางการเมือง การโน้มน้าวใจทางการเมือง การสร้างเครือข่าย การสร้างแนวร่วมทางการเมือง
กรณีที่เป็นนวัตกรรมการสื่อสารการปกครองท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ระบบการสื่อสารภายในขององค์กรปกครองท้องถิ่น ระบบการสื่อสารระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่นกับประชาชนในท้องถิ่น การจัดตั้งเครือข่ายการสื่อสารในชุมชนและท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนทางการเมืองในท้องถิ่น การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารออนไลน์สร้างกลุ่มอาสาสมัครรักท้องถิ่น
3) การใช้กลยุทธ์คิดใหญ่ ทำพอดี Be Big, Feel Small
การสร้างนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ต้องBe Big,
Feel Small ฟังดูเหมือนความย้อนแย้งในตัวเอง แต่มีความหมายลึกซึ้ง
Be Big หมายความว่า เราต้องทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ มีผลกระทบกว้างขวาง
Feel Small หมายความว่า เราต้องเกิดความรู้สึกที่สัมผัสได้ถึงสิ่งที่ทำ เห็นผลของ
การกระทำ ทำในสิ่งที่จับต้องได้ บังเกิดผลได้ ในขอบเขตที่มองเห็นผลกระทบได้
Be Big, Feel Small สอดคล้องกับหลักการที่ว่า Think Global, Act Local คำว่า
Think Global หมายถึง คิดสร้างสรรค์ในสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลก ส่วนคำว่า Act Local หมายถึง ลงมือกระทำในสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อคนในประเทศหรือในท้องถิ่น ที่เห็นผลได้จริง
         หลักการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการสร้างนวัตกรรม นักการเมือง นักบริหาร นักปกครองสอง ผู้นำทางการเมือง ผู้นำทางการปกครอง ต้องระวังความผิดพลาดสองประการในการสร้างนวัตกรรม คือ
     1) ความผิดพลาดของการสร้างนวัตกรรมแบบที่หนึ่ง (Type 1 Innovation Error) คือ การปฏิเสธความคิดที่ดี ทั้ง ๆ ที่นักออกแบบนวัตกรรม หรือนักพัฒนานวัตกรรม ได้พยายามเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ดี ๆ ให้ แต่ผู้นำองค์กรกลับปฏิเสธ ส่งผลให้ไม่เกิดนวัตกรรมขึ้นมาในองค์กร
     2) ความผิดพลาดของการสร้างนวัตกรรมแบบที่สอง (Type 2 Error) คือ การยอมรับและลงมือทำตามความคิดที่เลว บางกรณีผู้นำองค์กรกลับไปเชื่อถือ ยอมรับ สนับสนุน แนวคิดหรือนวัตกรรมที่ใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ และนำมาใช้ ทำให้เกิดความเสียหาย ล้มเหลว

การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

แนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
          กระบวนการพัฒนานวัตกรรม ประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอนคือ การสร้างวิสัยทัศน์-การสร้างกลยุทธ์ และการสร้างนวัตกรรม (Vision – Strategy - and Innovation)
1) การสร้างวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง “สิ่งที่เราต้องการจะเป็น” (ought to be) และเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการบรรลุผลสำเร็จ วิสัยทัศน์ คือ สิ่งที่เข้ามาเติมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน (What is) กับ สิ่งที่เราต้องการจะเป็น” (What ought to be) หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า
การสร้างวิสัยทัศน์ เป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า เราต้องการที่จะเป็นอะไรในอนาคต เราต้องการที่จะบรรลุผลสำเร็จอะไรในอนาคต โดยสิ่งที่ได้นั้นต้องเป็นการเติมเต็มช่องว่าง ระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน กับ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตประมาณ 5-10 ปีข้างหน้า
กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนขององค์กร เริ่มต้นด้วยการสร้าง “อุดมการณ์หลัก” (Core Ideology) ซึ่งประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ ส่วนแรกคือ “ค่านิยมหลัก” (Core Values) ซึ่งหมายถึง สิ่งที่คนในองค์กรยึดถือร่วมกันอย่างมั่นคง ยาวนาน จนเป็นหลักการที่ไม่เคยเปลี่ยน และส่วนที่สองคือ “เป้าหมายหลัก” (Core Purpose) ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ตอบคำถามว่า ทำไมองค์กรนี้จึงควรมีอยู่ หรือองค์กรนี้มีอยู่เพื่ออะไร
การสร้างวิสัยทัศน์ทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น เป็นการกำหนดสิ่งต่อไปนี้
(1) สิ่งที่ระบบการเมืองไทย หรือองค์กรทางการเมือง หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นต้องการจะเป็น ในอนาคตในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า
(2) อุดมการณ์หลัก” (Core Ideology) องค์กรทางการเมือง หรือองค์กรปกครองท้องถิ่น ที่ต้องมีซึ่งประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่
ก. ค่านิยมหลัก (Core Values) คือการสร้างคำอธิบายว่าอะไรคือสิ่งที่องค์กร
ทางการเมือง หรือองค์กรปกครองท้องถิ่น ยึดถือร่วมกันอย่างมั่นคง ยาวนาน จนเป็นหลักการที่ไม่เคยเปลี่ยน
ข. เป้าหมายหลัก (Core Purpose) คือการสร้างคำอธิบายว่า องค์กรทางการเมือง
หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นนี้มีอยู่เพื่ออะไร มีพันธกิจสำคัญอะไร       
2) การสร้างกลยุทธ์
กลยุทธ์ (Strategy) คือ แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างสะพานที่ดีที่สุดที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างสภาพปัจจุบันกับสิ่งที่เราต้องการจะเป็นในอนาคต การสร้างกลยุทธ์ จึงเป็นการสร้างแผนการปฏิบัติที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้เราบรรลุผลสำเร็จตามที่เราต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของเรา
การสร้างกลยุทธ์ทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น จึงเป็นการสร้างแผนการดำเนินงานและทางเลือกที่ดีที่สุด ที่ช่วยทำให้องค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น สามารถเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านจากสภาพการณ์ปัจจุบันไปสู่สภาพการณ์ที่องค์กรทางการเมืองและการปกครอง ต้องการจะเป็นในอนาคต
3) การสร้างนวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovation) ที่สร้างขึ้นมาจะต้องเป็นนวัตกรรมที่สนับสนุน เป็นพลังที่เข้มแข็ง เป็นกลยุทธ์การเสริมแรง ที่เกิดจากการคิด-คิดทบทวนในทุกมิติขององค์กร ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ บริการ การออกแบบธุรกิจ กระบวนการหลัก ซึ่งนวัตกรรมได้สร้างขึ้นมา
การสร้างนวัตกรรมทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น จึงเป็นการนวัตกรรมที่สนับสนุน เป็นพลังที่เข้มแข็ง เป็นกลยุทธ์การเสริมแรงการดำเนินงานขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการพาองค์กรไปถึงจุดหมายตามที่ได้กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ขององค์กรทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
2. แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
1) การคิดเพื่อสร้างความใหม่
การพัฒนานวัตกรรม เป็นการพัฒนาความคิด และเป็นการสร้างความใหม่
(Newness) ซึ่งประกอบด้วย
(1) การคิดใหม่ (Rethinking)
(2) การจินตนาการใหม่ (Reimagine)
(3) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผลติภัณฑ์และบริการ
ใหม่
(4) การประดิษฐ์ใหม่ (Reinventing)
2) กฎการออกแบบเพื่อเพิ่มจำนวนความคิดเข้าสู่กระบวนการพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนานวัตกรรมมีคุณภาพมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการทำให้มีความคิดเข้ามาในกระบวนการพัฒนานวัตกรรมให้มากที่สุด โดยใช้วิธีการดังนี้ (Skarzynski, Peter and Gibson, Rowan. (2008). อ้างใน ณัฐยา สินตระการผล, 2553: 139-141)
(1) เปิดรับความคิดจากคนจำนวนมาก
(2) หว่านเมล็ดพันธ์ความคิดให้มากพอ มีจำนวนความคิดที่มากพอ
(3) เปิดรับความคิดมากขึ้น เปิดรับโอกาสนวัตกรรมที่หลากหลาย
(4) เพิ่มรูปแบบของการผสมผสานความคิด มองหาความคิดที่มีศักยภาพมากพอ
(5) กำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการค้นหาความคิด เช่น ความท้าทายขององค์กร ปัญหาของลูกค้า ความต้องการของลูกค้า
ผู้พัฒนานวัตกรรมทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นควรจะต้องเปิดรับความคิดจากคนจำนวนมาก มีจำนวนความคิดที่หลากหลาย มีจำนวนที่มากพอ เปิดรับโอกาสนวัตกรรมที่หลากหลาย มองหาความคิดที่มีศักยภาพมากพอ และกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการค้นหาความคิด ทั้งจากบุคลากรในองค์กร ประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่ รวมทั้งประชาชนนอกชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ โดยไม่ตั้งข้อจำกัดปิดกั้นตนเองในการรับความคิดใหม่ ๆ เข้ามา
3) การเปิดโอกาสการพัฒนาความคิดเพื่อประดิษฐ์นวัตกรรม โดยพิจารณาจากนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ดังนี้
(1) นวัตกรรมเทคโนโลยี เช่น การใช้ Facebook LIVE ในการสื่อสารกับสังคม การใช้ LINE TV
(2) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์โอทอป
(3) นวัตกรรมบริการ เช่น UBER, GRAB
(4) นวัตกรรมกระบวนการ เช่น กระบวนการผลิตสินค้าแบบใหม่ ๆ กระบวนการให้บริการ
(5) นวัตกรรมต้นทุน เช่น การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิตและการบริการ
(6) นวัตกรรมประสบการณ์ เช่น การออกแบบการท่องเที่ยวในชุมชนด้วยการลงมือทำกิจกรรมภาคสนาม เช่น การไถนา การดำนา การเกี่ยวข้าว
(7) นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น การใช้แอปพลิเคชันในการบริหารงานสุขภาพในชุมชน
(8) นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ เช่น IKEA
(9) นวัตกรรมอุตสาหกรรม เช่น การผลิตสินค้าโอทอปให้กลายเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน GMP, ISO
4) การสร้างนวัตกรรมให้กับรูปแบบธุรกิจ
นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในยุคปัจจุบัน คือ นวัตกรรมของรูปแบบธุรกิจ โดยนวัตกรรมนั้นมักจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดังนี้คือ (Skarzynski, Peter and Gibson, Rowan. (2008). อ้างใน ณัฐยา สินตระการผล, 2553: 177)
(1) สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง หรือยังไม่ได้รับความพึงพอใจ
(2) ให้คุณประโยชน์ใหม่ หรือต่างไปจากเดิม
(3) สร้าง และ/หรือ ดึงเอามูลค่าเพิ่มออกมาด้วยวิธีการที่แปลกใหม่
อาศัยแนวคิดของ Skarzynski, Peter and Gibson, Rowan ดังกล่าว ผู้พัฒนานวัตกรรมทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ทั้งผู้บริหาร ผู้ปกครอง ผู้นำในองค์กร ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ควรจะต้อง
(1) ค้นหาความต้องการของกลุ่มประชาชนที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง หรือยังไม่ได้รับความพึงพอใจ เช่น ประชาชนที่ไม่รับบริการ ประชาชนที่ไม่พึงพอใจต่อบริการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แล้วพยายามออกแบบการบริหารจัดการและการบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มประชาชนที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง หรือยังไม่ได้รับความพึงพอใจ
(2) คิดสร้างสรรค์คุณประโยชน์ใหม่ หรือคุณประโยชน์ต่างไปจากเดิมที่เคยมีอยู่ แล้วนำมามอบให้แก่ประชาชน เช่น การดึงพลังภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นมาส่งเสริมเผยแพร่ นำวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม หรือสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
(3) สร้าง และ/หรือ ดึงเอามูลค่าเพิ่มออกมาด้วยวิธีการที่แปลกใหม่ แล้วนำมามอบให้แก่ประชาชน เช่น ผลิตอาหารวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยรูปแบบการนำเสนอแบบใหม่ ๆ แปลกตา น่าสนใจ
5) การพัฒนาความคิดเพื่อประดิษฐ์นวัตกรรม
การพัฒนานวัตกรรมมีจุดหมายสำคัญสองประการคือ การคิดใหม่ (Rethinking)
และ การประดิษฐ์ใหม่ (Reinventing)
(1) ความคิดคืออะไร ความคิด คือ การใช้สมองคิดวิเคราะห์ พิจารณา ไตร่ตรอง และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ยิ่งฝึกฝนความคิดมาเท่าใด ยิ่งก่อให้เกิดปัญญา (wisdom) มากขึ้นเท่านั้น และทำให้เกิดความเฉลียวฉลาดมากขึ้น
(2) ประโยชน์ของการคิด
          - การคิดก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
          - การคิดก่อให้เกิดการเรียนรู้
          - การคิดก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
          - การคิดก่อให้เกิดธุรกิจใหม่
          - การคิดก่อให้เกิดคุณภาพและการกำหนดมาตรฐาน การมุ่งเน้นคุณภาพแบ่งออกเป็น
          ก. มุ่งเน้นคุณภาพผลิตภัณฑ์/ผลผลิต (Product focused)
          ข. มุ่งเน้นคุณภาพกระบวนการ (Process focused)
          ค. มุ่งเน้นคุณภาพผู้นำ (Leader focused)
          ง. มุ่งเน้นคุณภาพพนักงาน (Staff focused)
6) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมองค์การ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) รู้จักธุรกิจตัวเอง (Know your business)
          ก. รู้จักลูกค้าของคุณ (Know your customer)
          ข. รู้จักคู่แข่งขันของคุณ (Know your competitive)
          ค. รู้จักตัวเอง (Know yourself)
ผู้พัฒนานวัตกรรมทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ต้องรู้จักองค์กร
ตนเอง ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธ์กิจ ค่านิยม นโยบาย กลยุทธ์
                   (2) สร้างนวัตกรรมธุรกิจของคุณ (Innovate your business) โดยใช้วิธีการบริหารแบบ 3D ได้แก่
ก. First dimension มีการรายงานผลที่ดี
ข. Second dimension มีการเจรจา สร้างความร่วมมือที่ดี สร้างการ
ต่อรองที่ดี
ค. Third dimension บริหารการเปลี่ยนแปลง เลิกการบริหารแบบเดิม
ผู้พัฒนานวัตกรรมทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ต้องรู้จักการใช้วิธีการ
บริหารแบบ 3D ได้แก่ การรายงานผลที่ดี การเจรจา การสร้างความร่วมมือที่ดี สร้างการต่อรองที่ดี บริหารการเปลี่ยนแปลง เลิกบริหารแบบเดิมที่ล่าช้า ไม่ทันสมัย
                   (3) กระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม (Catalyzing people) ต้องมีการกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรเกิดการสร้างนวัตกรรม
ผู้พัฒนานวัตกรรมทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ต้องรู้จักการกระตุ้นให้
พนักงานในองค์กรเกิดการสร้างนวัตกรรม
3. ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
          ผู้นำองค์กรต้องมีบทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent) โดยต้องดำเนินการพัฒนานวัตกรรม ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ (เสน่ห์ จุ้ยโต, 2558: 33)
          1) ขั้นการสร้างความคิด (Idea creation)
          2) ขั้นการทดลอง (Initial experimentation)
          3) ขั้นการศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility determination)
          4) ขั้นนำไปปฏิบัติ (final application)
การสร้างนวัตกรรมทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ควรจะต้องดำเนินการพัฒนานวัตกรรม ตามขั้นตอน 4 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น โดยมีการสร้างความคิด การทดลอง การศึกษาความเป็นไปได้ และการนำไปปฏิบัติ

------------------------------------------------------

แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง


การทำงานการเมืองตั้งอยู่บนพื้นฐานสำคัญ ประการ 3 คือ ความเชื่อถือไว้วางใจ การยอมรับ ความศรัทธา ความร่วมมือ ความนิยม และภาพลักษณ์ที่ดี ที่มีต่อบุคคลทางการเมือง การที่จะได้รับสิ่งดังที่กล่าวข้างต้น ต้องอาศัยการสื่อสารกับประชาชนและสังคม อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ทั้งวิธีการสร้างสาร วิธีการสื่อสาร และวิธีการใช้สื่อ รวมทั้งความต่อเนื่อง ความสม่ำเสมอ ในการสื่อสาร ประเด็นสำคัญที่ผู้ทำงานการเมืองต้องให้ความสนใจคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสื่อสารให้บังเกิดผล ดังต่อไปนี้
1. การสื่อสารเพื่อสร้างความเชื่อถือไว้วางใจและความศรัทธา
2. การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับ
3. การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ
4. การสื่อสารเพื่อสร้างความนิยม
5. การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
           6. การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบายทางการเมือง
           7. การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานทางการเมือง
           8. การสื่อสารเพื่อสร้างจิตสำนึกทางการเมือง
           9. การสื่อสารสร้างเพื่อสร้างความร่วมมือทางการเมือง
           10. การสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางการเมือง

1. การสื่อสารเพื่อสร้างความเชื่อถือ ความไว้วางใจ และความศรัทธา
ผู้ทำงานทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น ต่างต้องการได้รับความเชื่อถือ (credibility) ความไว้วางใจ (trustworthiness)  และความศรัทธา (faith) จากประชาชน การที่จะได้รับความเชื่อถือไว้วางใจนอกจากความเชื่อถือในขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้เป็นผลสำเร็จแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการสื่อสารให้ประชาชนรับรู้รับทราบถึงสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ ประกอบด้วย
1. คุณลักษณะส่วนบุคคลของบุคคลทางการเมือง เช่น ความซื่อสัตย์ ความมีคุณธรรม ความรู้ความสามารถ ความมีน้ำใจ ความเป็นผู้นำ ความกล้าหาญ ความเสียสละ
2. ผลงานของบุคคลทางการเมืองที่ผ่านมาที่ดำเนินการด้วยความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ก่อให้เกิดความเชื่อถือไว้วางใจ

2. การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับ
            การยอมรับ (acceptant) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่ดี มีทัศนคติที่ดี นำไปสู่ความร่วมมือ การสนับสนุนการทำงานของบุคคลทางการเมือง ผู้ทำงานทางการเมืองต่างต้องการได้รับการยอมรับจากประชาชนและสังคม การยอมรับเกิดจากการความตระหนักรู้ในสิ่งที่ดีงามของบุคคลทางการเมือง ประกอบด้วย
            1. ความตระหนักในบทบาท (role awareness) เป็นการตระหนักรู้เกี่ยวกับการทำงานตามบทบาทหน้าที่ของบุคคลทางการเมือง ตามสถานภาพและตำแหน่งของบุคคลนั้น
2. ความตระหนักในผลงานและความสำเร็จ (achievement awareness) เป็นการตระหนักรู้เกี่ยวกับผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานทางการเมือง และความสำเร็จที่เกิดขึ้น เช่น การแก้ปัญหาให้กับประชาชน การดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การส่งเสริมทางเศรษฐกิจ การสร้างรายได้ การส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี การสร้างความสุขทางจิตใจ
3. ความตระหนักในคุณงามความดี (moral awareness) เป็นการตระหนักรู้ในความดีของบุคคลทางการเมือง เช่น การทำงานด้วยความสุจริตโปร่งใส การทำงานด้วยความเสียสละ การทำงานด้วยความทุ่มเท การทำงานโดยคำนึงประโยชน์ของประชาชน ประโยชน์ของสาธารณะเป็นที่ตั้ง

3. การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ
ความร่วมมือ (cooperation) เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเมือง การสื่อสารมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความร่วมมือจากประชาชน การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ มีแนวทาง ดังนี้
1. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของสิ่งที่จะต้องทำ
2. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงความจำเป็นในสิ่งที่จะต้องทำ
3. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้น
4. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ส่วนบุคคลที่จะเกิดขึ้น
5. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงความง่ายและความสะดวกในการที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น
            6. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมนั้น
            7. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงความคุ้มค่าของการทำกิจกรรมนั้น


4. การสื่อสารเพื่อสร้างความนิยม
ความนิยม (popularity) เป็นสิ่งที่ผู้ทำงานทางการเมืองต่างต้องการได้รับ เพื่อให้นำไปสู่การได้รับเลือกตั้งเป็นตัวแทนทางการเมืองในตำแหน่งต่าง ๆ และเป็นที่มาของการได้ตำแหน่ง ได้อำนาจทางการเมือง เราสามารถใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสร้างความนิยมทางการเมือง (political popularity) ได้ดังนี้
1. การสื่อสารเพื่อสร้างความนิยม
2. การสื่อสารเพื่อสร้างส่งเสริม แพร่ขยาย
3. การสื่อสารเพื่อสร้างธำรงรักษา

5. การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์
ภาพลักษณ์

6. การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบายทางการเมือง
นโยบายทางการเมือง

7. การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานทางการเมือง
การดำเนินงานทางการเมือง

8. การสื่อสารเพื่อสร้างจิตสำนึกทางการเมือง
           จิตสำนึกทางการเมือง

9. การสื่อสารสร้างเพื่อสร้างความร่วมมือทางการเมือง
           ความร่วมมือทางการเมือง

10. การสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางการเมือง         
           การเชื่อมต่อองค์ประกอบทางการเมือง
           การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางการเมือง




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น