ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
9 มิถุนายน 2559

            การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น
            การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
            1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ
            1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น ตามที่ปรากฏในกรอบแนวคิดการวิจัยหรือยัง ถ้ายังไม่ครบต้องเพิ่มเติมให้ครบทุกตัวแปร
            1.3 การตรวจสอบการวัดตัวแปร ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่าการตั้งคำถามเพื่อวัดตัวแปรในแบบสอบถาม มีความสอดคล้องกับสิ่งที่เรากำหนดไว้ในการวัดตัวแปรหรือไม่ โดยพิจารณาข้อคำถามกับ “ชื่อตัวแปร” และ “นิยามศัพท์เฉพาะ” ว่าตรงกันหรือไม่ ตั้งคำถามเพื่อวัดตัวแปรครบถ้วนทุกมิติ ทุกประเด็นย่อยหรือไม่ ถ้ายังไม่ตรงต้องแก้ไขให้ตรง ถ้ายังไม่ครบต้องแก้ไขให้ครบถ้วน
            ตัวอย่าง นิยามศัพท์เขียนไว้ว่า “การเปิดรับสื่อ” หมายถึง การที่ผู้รับสารสามารถเข้าถึงหรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อ 5 ประเภท ได้แก่ สื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อนอกบ้าน สื่อกิจกรรม และสื่อบุคคล ในการเขียนข้อคำถามในแบบสอบถาม จะต้องเขียนคำถามให้ครอบคลุมสื่อทั้ง 5 ประเภทดังกล่าว
            1.4 การตรวจสอบรูปแบบการพิมพ์ การจัดหน้า การเว้นระยะห่างระหว่างบรรทัด การเว้นระยะห่างระหว่างข้อความและประโยค การเว้นวรรค การย่อหน้า การกั้นหน้ากั้นหลังของหน้ากระดาษ การตั้งค่าหน้ากระดาษ
1.5 การตรวจสอบตัวสะกด ต้องมีการตรวจสอบตัวสะกด คำถูกคำผิด ต้องแก้ไขไม่ให้มีคำผิดปรากฏอยู่
1.6 ความครบถ้วนตามองค์ประกอบของเครื่องมือวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                 (1) จดหมายชี้แจง
                 (2) คำชี้แจงของข้อคำถามแต่ละตอน
                 (3) คำถามและตัวเลือกตอบ
                 (4) หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินผล เช่น มากที่สุด มีค่าเท่ากับ 5 มาก มีค่าเท่ากับ 4 ปานกลาง มีค่าเท่ากับ 3 น้อย มีค่าเท่ากับ 2 น้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 1
                 (5) คำอธิบายเพิ่มเติม กรณีที่เป็นคำศัพท์เฉพาะ ควรเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมไว้ในหมายเหตุ
                 (6) คำขอบคุณที่ผู้ตอบแบบสอบถามได้ช่วยตอบแบบสอบถาม

2. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย
            การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยอาจารย์ที่ปรึกษา จะเริ่มพิจารณาในเรื่อง ขั้นตอนในการวัดตัวแปร ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอน ได้แก่
2.1 การกำหนด “แนวคิด” (Concept) แนวคิดนี้ได้มาจากปัญหาวิจัยที่ระบุแนวคิดที่ต้องการศึกษา และนำไปสร้างเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย เช่น ทัศนคติ ความพึงพอใจ การเปิดรับสื่อ การรู้เท่าทันสื่อ พฤติกรรมการซื้อ พฤติกรรมการบริโภค
2.2 การแปลงรูป “แนวคิด” ที่มีลักษณะเป็น “นามธรรม” ให้กลายเป็นสิ่งที่เป็น “รูปธรรม” โดยใช้วิธีการให้คำนิยาม (definition) เกี่ยวกับ “คุณลักษณะ” ของแนวคิดนั้น การนิยามแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การนิยามทั่วไป (general definition) หรือการนิยามเชิงแนวคิด (conceptual definition) และ การนิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) ในการวัดตัวแปรเราจะใช้การนิยามเชิงปฏิบัติการ
 การนิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) เป็นการระบุคุณลักษณะของสิ่งที่จะวัดให้เป็นสิ่งที่สามารถ “สังเกต” ได้ เก็บข้อมูลได้ บันทึกข้อมูลได้
2.3 การตรวจสอบตามหลักการวัด ในการวัดจะต้องยึดหลักเรื่องการวัด โดยหลักสำคัญของการวัด ประกอบด้วย การตรวจสอบความตรง การตรวจสอบความเที่ยง การตรวจสอบความไว ในรายละเอยดจะได้กล่าวถึงต่อไป


3. การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือวิจัย
ความตรง (Validity) หมายถึง การวัดในสิ่งที่ต้องการวัด วัดตรงกับปัญหาวิจัย วัดตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
           การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือวิจัย จึงหมายถึง การตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องมือวิจัยที่สามารถบอกได้ถึงสภาพที่แท้จริงของตัวแปรที่ศึกษา โดยเครื่องมือที่สร้างขึ้นจะต้องสามารถ “วัดในสิ่งที่ต้องการวัด” อย่างแท้จริง
ตัวอย่างเช่น ต้องการถามเรื่อง “ความโปร่งใส” ในการดำเนินงานข้อคำถามจะต้องถามในสิ่งที่
สะท้อนถึง “คุณลักษณะ” ของความโปร่งใสเท่านั้น ซึ่งจะต้องอ้างอิงมาจากการนิยามตัวแปรเชิง
ปฏิบัติการ ที่อยู่ในรูปของ “คำนิยามศัพท์เฉพาะ” เช่น การเขียนข้อคำถามถึง “ความสามารถตรวจสอบ
ได้” ในขั้นตอนการดำเนินงาน แต่จะไม่ถามถึง “ความซื่อสัตย์” ของตัวบุคคลผู้ดำเนินงาน ซึ่งถือว่าอยู่
นอกประเด็นของความโปร่งใส แม้คำถามจะเป็นประโยชน์ แต่ก็ไม่ถือว่ามีความตรงตามหลักการวิจัย
การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา การตรวจสอบความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์
3.1 การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) หมายถึง เครื่องมือวิจัยนั้นสามารถวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และวัดได้ตรงคุณลักษณะของ “แนวคิด” หรือคุณลักษณะของ “ตัวแปร” ที่ศึกษา กรณีที่เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ข้อคำถามที่สร้างขึ้นจะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการวัด ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตรงตามคุณลักษณะของตัวแปรที่ศึกษาที่ระบุไว้ในคำนิยามศัพท์เฉพาะ
การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยต้องดำเนินงาน 3 ขั้นตอนดังนี้คือ
     3.1.1 การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยตัวผู้วิจัย
เป็นการตรวจสอบโดยผู้วิจัยนำข้อคำถามที่สร้างขึ้นมาตรวจสอบเปรียบเทียบกับ ชื่อเรื่องวิจัย (Research title) ปัญหาวิจัย (Research problem) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objective) นิยามศัพท์เฉพาะ (Operational definition) และ กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual framework) โดยตรวจสอบว่า มีการวัดตัวแปรตรงตามแนวคิดที่กำหนดไว้หรือไม่
     3.1.2 การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา
เป็นการตรวจสอบโดยผู้วิจัยนำเครื่องมือวิจัยและข้อคำถามที่สร้างขึ้น ส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาหลักและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดำเนินการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม จะทำการตรวจรายการข้อคำถามแต่ละข้อว่าได้ “วัดในสิ่งที่ต้องการวัด” หรือไม่ หรือ “ถามในสิ่งที่ต้องการถาม” หรือไม่
อาจารย์ที่ปรึกษาจะตรวจ “ถ้อยคำ” (words) “ภาษา” (language)  “ประโยค” (sentences) รูปแบบภาษา และสำนวนภาษา ว่ามีความถูกต้องและมีความเหมาะสมเพียงใด โดยอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมจะตรวจแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสม
นอกจากนี้ยังตรวจสอบการใช้ภาษาที่มีลักษณะ “กำกวม” มีความหมายไม่ชัดเจน รวมทั้งการตรวจสอบภาษาที่มีความหมายได้สองนัย หรือมีความหมาย “หลายนัย” หรือเข้าใจได้หลายแง่มุม จะต้องแก้ไขให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกัน ในมุมเดียวกัน
เมื่อได้รับข้อแนะนำ (comments) จากอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมแล้ว ให้ผู้วิจัยดำเนินการแก้ไขปรับปรุงแบบสอบถามให้ถูกต้องตามคำแนะนำ แล้วจึงดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
ในการส่งเครื่องมือวิจัยให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ ผู้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย จำเป็นต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จึงจะสามารถตรวจสอบได้ ดังนั้น นักศึกษาจะต้องจัดทำเอกสารที่แสดงข้อมูล รวม 9 รายการส่งให้ผู้ตรวจ ดังต่อไปนี้คือ
1) ชื่อผู้วิจัย สังกัด ที่อยู่ ที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์
2) ชื่อเรื่องวิจัย (Research title)
3) ปัญหาวิจัย (Research problem)
4) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objectives)
5) สมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) (ถ้ามี)
6) นิยามศัพท์เฉพาะ (Operational definition)
7) กรอบทฤษฎีของการวิจัย (Theoretical framework) (ถ้ามี)
8) กรอบแนวคิดของการวิจัย (Conceptual framework)
            9) แบบสอบถาม (Questionnaire) หรือ แบบทดสอบ
           
     3.1.2 การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ
เป็นการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยการนำเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านตรวจสอบ จำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (content specialist) 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย (research specialist) 1 คน โดยขั้นตอนการตรวจจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้คือ
3.1.2.1 การตรวจความตรงเชิงเนื้อหาของข้อคำถาม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจรายการข้อคำถามแต่ละข้อว่าได้ “วัดในสิ่งที่ต้องการวัด” หรือไม่ หรือ “ถามในสิ่งที่ต้องการถาม” หรือไม่ โดยการตรวจ “ถ้อยคำ” (words) “ภาษา” (language) “ประโยค” (sentences) รูปแบบภาษา และสำนวนภาษา ว่ามีความถูกต้องและมีความเหมาะสมเพียงใด โดยผู้เชี่ยวชาญจะตรวจแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อได้รับข้อแนะนำ (comments) จากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ให้ผู้วิจัยดำเนินการแก้ไขปรับปรุงแบบสอบถามให้ถูกต้องตามคำแนะนำ แล้วจึงดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
3.1.2.2 การตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดย “การตรวจสอบความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์” แล้วนำมาคำนวณหาค่า “ดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์” (Item-Objective Congruence Index: IOC) ที่นักวิจัยนิยมเรียกกันว่าหาค่า IOC โดยมีวิธีการดังนี้
                                    1) สร้างแบบฟอร์มตรวจสอบความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์
โดยการนำข้อคำถามของการวิจัยมาเขียนในแบบฟอร์ม ดังตัวอย่าง

แบบตรวจความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
(Item-Objective Congruence Index: IOC)

ชื่อเรื่องวิจัย ...............................................................................................................................................
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ข้อ 1 .............................................................................................................................................
ข้อ 2 .............................................................................................................................................
ข้อ 3 .............................................................................................................................................
ข้อ 4 .............................................................................................................................................

คำชี้แจง โปรดพิจารณาข้อคำถามในแบบสอบถามแต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้ว่า คำถามมีความสอดคล้อง
               กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและประเด็นที่ต้องการวัดหรือไม่เพียงใด
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ข้อที่ 1 ...............................................................................................................
...................................................................................................................................................................
ประเด็น
ที่ต้องการวัด
แบบสอบถาม
ระดับความสอดคล้อง
ค่า IOC
ตอนที่ข้อที่
คำถาม
สอด
คล้อง
(1)
ไม่แน่ใจ
(0)
ไม่สอด
คล้อง
(-1)

1






2






3






4






5






6






การคิดค่าคะแนน
สอดคล้อง มีค่าคะแนนเท่ากับ 1
ไม่แน่ใจ มีค่าคะแนนเท่ากับ 0
ไม่สอดคล้อง มีค่าคะแนนเท่ากับ 1

การคำนวณหาค่า IOC คำนวณได้จากสูตรดังนี้
                        สูตร    

                        เมื่อ R = ผลคูณของคะแนน กับ จำนวนผู้เชี่ยวชาญในแต่ละระดับของความสอดคล้อง
                               N = จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
ค่า IOC ที่คำนวณได้จะมีค่าระหว่าง -1 ถึง 1 ข้อคำถามที่มีมีค่า IOC สูงเข้าใกล้ 1 จะยิ่ง
มีความตรงสูง สำหรับค่า IOC ที่ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ได้คือ จะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 0.5 แต่ถ้าจ
ให้เครื่องมือวิจัยมีความตรงสูงยิ่งขึ้น ควรใช้ค่า IOC ไม่น้อยกว่า .70 ขึ้นไป
                        2) นำแบบประเมินค่าความสอดคล้อง IOC ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจประเมินแล้วให้คะแนนความสอดคล้อง
                        3) นำค่าคะแนนความสอดคล้องที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่า IOC ตามสูตร (ดูตัวอย่าง)
                        สูตร    
ตัวอย่าง สมมุติว่ามีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือวิจัย 10 คน ได้ผลการประเมินมาดังข้อมูลในตาราง
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาระดับความภักดีในตราสินค้าเครื่องสำอางแบรนด์ A

ประเด็น
ที่ต้องการวัด
แบบสอบถาม
ระดับความสอดคล้อง
ค่า IOC
ตอนที่ข้อที่
คำถาม
สอด
คล้อง
(1)
ไม่แน่ใจ
(0)
ไม่สอด
คล้อง
(-1)
ความภักดีใน
ตราสินค้าแบรนด์ A
ตอนที่1






1.1
ท่านมีความรู้สึกผูกพันกับยี่ห้อสินค้าที่ท่านซื้อใช้เป็นประจำ
6
2
2
.40

1.2
ท่านติดตามข่าวสารเกี่ยวสินค้ายี่ห้อที่ท่านโปรดปรานอยู่เสมอ
7
2
1
.60

1.3
ท่านเลือกซื้อสินค้ายี่ห้อเดิมเป็นประจำ
9
1
0
.90

1.4
แม้จะมีสินค้ายี่ห้ออื่นราคาถูกกว่า แต่ท่านก็ยังเลือกซื้อสินค้ายี่ห้อเดิมที่ท่านโปรดปราน
8
1
1
.70

1.5
ถ้าสินค้ายี่ห้อที่ท่านโปรดปรานขาดตลาด ท่านจะรอจนกว่าสินค้ามีขายท่านจึงจะซื้อ
9
1
0
.90

1.6
ท่านมักพูดคุยถึงสินค้ายี่ห้อที่ท่านโปรดปรานกับเพื่อนสนิทบ่อย ๆ
5
3
2
.30

การคำนวณหาค่า IOC ตำนวณได้จากสูตรดังนี้

   สูตร    

ข้อ 1.1               IOC = [6×1] + [2×0] + [2×-1 ] ÷ 10 = ?
                        IOC = [6] + [0] + [-2] ÷ 10 = .40
ข้อ 1.2               IOC = [7×1] + [2×0] + [1×-1 ] ÷ 10 = ?
                        IOC = [7] + [0] + [-1] ÷ 10 = .60

ข้อ 1.3               IOC = [9×1] + [1×0] + [0×-1 ] ÷ 10 = ?
                        IOC = [9] + [0] [0] ÷ 10 = .90
ข้อ 1.4               IOC = [8×1] + [1×0] + [1×-1 ] ÷ 10 = ?
                        IOC = [8] + [0] + [-1] ÷ 10 = .70 
ข้อ 1.5               IOC = [9×1] + [1×0] + [0×-1 ] ÷ 10 = ?
                        IOC = [9] + [0] + [-0] ÷ 10 = .90
ข้อ 1.6               IOC = [5×1] + [3×0] + [2×-1 ] ÷ 10 = ?
                        IOC = [5] + [0] + [-2] ÷ 10 = .30
                       
4) ตัดสินตามเกณฑ์การพิจารณา เพื่อคัดเลือกว่าข้อคำถามข้อใดผ่านเกณฑ์ ข้อใดไม่ผ่านเกณฑ์
ต้องนำไปแก้ไขปรับปรุง หรือตัดทิ้ง (ดูตัวอย่าง)
ผลการพิจารณาตามเกณฑ์
            ข้อ 1.1 ได้ค่า IOC = .40 ถือว่า ไม่ผ่านเกณฑ์ ต้องแก้ไขปรับปรุงข้อคำถาม หรือ ตัดข้อนี้ทิ้ง
            ข้อ 1.2 ได้ค่า IOC = .60 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ นำคำถามข้อนี้ไปใช้ได้ ในระดับพอใช้
            ข้อ 1.3 ได้ค่า IOC = .90 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ นำคำถามข้อนี้ไปใช้ได้ ในระดับดีมาก
            ข้อ 1.4 ได้ค่า IOC = .70 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ นำคำถามข้อนี้ไปใช้ได้ ในระดับดี
            ข้อ 1.5 ได้ค่า IOC = .90 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ นำคำถามข้อนี้ไปใช้ได้ ในระดับดีมาก
            ข้อ 1.6 ได้ค่า IOC = .30 ถือว่า ไม่ผ่านเกณฑ์ ต้องแก้ไขปรับปรุงข้อคำถาม หรือ ตัดข้อนี้ทิ้ง
            5) นำผลการประเมินค่าความสอดคล้องไปคัดเลือกข้อคำถามที่ผ่านเกณฑ์ และนำข้อคำถามที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

3.2 การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง
การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) หมายถึง เครื่องมือวิจัยนั้นสามารถวัดได้ครอบคลุม ครบถ้วน รอบด้าน ในทุกมิติ ในทุกประเด็น ในทุกความหมาย ของหัวเรื่องที่นักวิจัยต้องการจะวัด ซึ่งการพิจารณาว่าครอบคลุม ครบถ้วน รอบด้าน หรือไม่เพียงใด นักวิจัยต้องอาศัยความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับหัวเรื่องหรือตัวแปรตัวนั้นมาเป็นเครื่องมือในการศึกษาทำความเข้าใจและสร้างเครื่องมือวัดให้ครอบคลุมครบถ้วนรอบด้านมากที่สุด
การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง นำมาใช้กับเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวัดตัวแปรที่มีโครงสร้าง มีส่วนประกอบ มีคุณลักษณะที่หลากหลาย ที่ประกอบเข้าด้วยกัน เป็นตัวแปรตัวหนึ่ง โดยเฉพาะตัวแปรประเภท เชาวน์ปัญญา (IQ) ทัศนคติ (attitude) ความเชื่อ (belief) ค่านิยม (value) ความพึงพอใจ (satisfaction) ความนิยม (popularity) ความซื่อสัตย์ (honesty) ความภักดี (loyalty) ความผูกพัน (engagement) ดังนั้น การเครื่องมือวัดจะต้องสามารถสะท้อน หรือแสดงออกถึงพฤติกรรม ของประเด็นที่จะศึกษาได้อย่างครบถ้วน
            ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวแปร “ความโปร่งใส” (transparency) จะต้องมีการวัดตัวแปรในประเด็นย่อยใน 4 องค์ประกอบใหญ่ ได้แก่
            1. องค์ประกอบด้านการมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน (procedure)
            2. องค์ประกอบด้านความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (access to information)
            3. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (participation)
            4. องค์ประกอบด้านความสามารถในการตรวจสอบได้ (accountability)

4. การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย
ความเที่ยง (Reliability) หรือ ความเชื่อถือได้ หมายถึง ความเชื่อถือที่มีต่อเครื่องมือวัด
ว่า เมื่อนำไปวัดเรื่องเดียวกันซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ก็ยังให้ผลคงที่ หรือสอดคล้องกันทุก ๆ ครั้ง หรืออธิบายอีก
นัยหนึ่งว่า ความเที่ยง คือ ความคงที่ของเครื่องมือวัด หรือ ความคงที่ของผลที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือชุดเดียวกัน กับกลุ่มตัวอย่างชุดเดียวกัน ในเวลาที่แตกต่างกัน ก็ยังให้ผลของการวัดเท่ากัน ตัวอย่างเช่น เราสร้างเครื่องชั่งน้ำหนักขึ้นมาเครื่องหนึ่ง เมื่อนำไปชั่งน้ำหนัก นาย ก. นาย ข. นาย ค. ที่มีน้ำหนักตัว 65 กิโลกรัมเท่ากัน โดยชั่งน้ำหนักนาย ก. ชั่งน้ำหนักนาย ข. ชั่งน้ำหนักนาย ค. ต้องได้ผลการชั่งออกมาเท่ากันคือ 65 กิโลกรัมเหมือนเดิม ยิ่งเหมือนเดิมมากเท่าไหร่ เครื่องมือชั่งน้ำหนักยิ่งมีความเที่ยงมากเท่านั้น
            การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย ทำโดยการนำแบบสอบถามไปทดลองเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประชากรที่ศึกษามากที่สุด จำนวนตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป เรียกว่า “การ Try Out แล้วนำมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เหตุที่เรากำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป เพราะในทางสถิติถือว่า จำนวนกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป จะอนุโลมว่ามีการแจกแจงเป็นแบบปกติ (normal distribution)
            กรณีที่เราสร้างเครื่องมือวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าหรือเรตติ้งสเกล (Rating scale)วิธีการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ “วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่า” (Coefficient – Alpha) ซึ่งวิธีการนี้ “ครอนบาค” (Cronbach) ได้พัฒนาขึ้นมาใช้ โดยสามารถนำมาใช้ได้กับเครื่องมือวิจัยที่เป็นแบบมาตราประเมินค่าแบบเรตติ้งสเกล
            การที่จะทำให้ข้อคำถามในเครื่องมือวิจัยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าหรือค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงสูงขึ้น ขึ้นอยู่กับการสร้างข้อคำถามที่มีคุณภาพสูง ข้อคำถามที่มีคุณภาพสูง หมายถึง ข้อคำถามที่มีความยากพอสมควร และมีค่าอำนาจการจำแนกสูง

เกณฑ์การพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าหรือค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง
โดยทั่วไปแล้วนักวิจัยยอมรับว่าค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าหรือค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงที่มีค่าไม่ต่ำว่า .70 เป็นค่าที่ยอมรับได้
แต่ถ้าเป็นงานวิจัยที่มุ่งศึกษาความแตกต่างของค่าเฉลี่ย หรือมุ่งศึกษาสหสัมพันธ์ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าหรือค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย ควรจะมีค่าไม่ต่ำกว่า .80
สำหรับงานวิจัยที่มุ่งศึกษาค่าคะแนนของแบบทดสอบ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าหรือค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย ควรจะมีค่าไม่ต่ำกว่า .70
แต่ถ้างานวิจัยนั้นต้องการวัดขีดความสามารถของบุคลากร เพื่อเฟ้นหาบุคคลที่มีขีดความสามารถสูง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าหรือค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย ควรจะมีค่าไม่ต่ำกว่า .90

5. การตรวจสอบความไวต่อการวัด (Sensitivity)

ความไวต่อการวัด (Sensitivity) หมายถึง ความสามรถของเครื่องมือวัดที่สามารถจำแนกความแตกต่างของคุณลักษณะของสิ่งที่จะวัดได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น เครื่องชั่งน้ำหนักขนาดสเกล 100 กิโลกรัม ที่ใช้ชั่งสิ่งของหนักมาก เช่น กระสอบข้าวสาร เมื่อนำมาชั่งน้ำหนักของสิ่งของที่มีขนาดเบามาก เช่น สร้อยทองคำ ไม่สามารถจะวัดค่าโดยละเอียดได้ เราต้องใช้เครื่องชั่งน้ำหนักที่มีสเกลน้อย เช่น ชั่งได้ไม่เกิน 1 กิโลกรัมมาใช้ จึงจะสามารถวัดค่าน้ำหนักของสร้อยคอทองคำได้ ความสามารถในการวัดดังกล่าวเรียกว่า ความไวต่อการวัด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค