ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปรากฏการณ์ "ทศกัณฑ์แคะขนมครก" การวิพากษ์เพื่อการพัฒนา

ปรากฏการณ์ "ทศกัณฑ์แคะขนมครก" การวิพากษ์เพื่อการพัฒนา
.............................................................................................
ถ้านักนิเทศศาสตร์อยากจะกระโดดลงไปร่วมวงกับ "ประเด็นเรื่องทศกัณฑ์" ขอให้ใช้ความรู้ที่เรียนมาในการ "วิพากษ์" อย่างมีเหตุผลและมีความรู้สนับสนุน
..
อย่าเพียงแค่เอามันในอารมณ์ ใช้วาทกรรมเคยชิน ในแนวที่ว่า..ทำลายวัฒนธรรม เสื่อมเสียวัฒนธรรม ทำลายคุณค่า หรือในแนวก่นด่าอีกฝ่ายหนึ่งว่า..ไดโนเสาร์ เต่าล้านปี หลงยุค
..
นักนิเทศศาสตร์ควรมองให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ "ทศกัณฑ์แคะขนมครก" นี้ เป็น "ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างของสังคม" และเป็น "ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม" ระหว่างคนสองฝ่ายในสังคม
..
โดยแต่ละฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเอง ฝ่ายหนึ่งมุ่งเน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรม การคงคุณค่าของวัฒนธรรมตามขนบดั้งเดิม อีกฝ่ายหนึ่งมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ ดัดแปลง ต่อยอด และการใช้ประโยชน์วัฒนธรรม
..
หากพิจารณาให้ดี ขจัดอคติออกไปจากใจ เราจะเห็นว่าทั้งสองฝ่าย ต่างมี "เจตนาดี" ด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อเขามีเจตนาดี ใยต้องก่นด่า คนเราสร้างความเข้าใจกันด้วยเหตุผล ไม่ได้หรือ?
..
เหตุการณ์ทางการเมืองและสังคมในช่วง ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาถึง พ.ศ. 2557 สังคมได้สร้างการแบ่งแยกผู้คนออกเป็นสองฝ่ายสองขั้วอย่างสุดโต่ง จนเกิดเป็นสังคมมนุษย์ ขาว-ดำ ดี-ชั่ว ถูก-ผิด รวย-จน สูง-ต่ำ พวกเขา-พวกเรา ก้าวหน้า-ล้าหลัง พัฒนา-ไม่พัฒนา สิ่งเหล่านี้ถูกปลูกฝังลงไปจนถึง "จิตใต้สำนึก" ของผู้คน ชักนำให้ผู้คนสองฝ่ายออกมาปะทะกัน ทั้งการปะทะกันในโลกออนกราวนด์ (on ground) และการปะทะกันบนโลกออนไลน์ (online)
..
อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเกิดปรากฏการณ์ความขัดแย้งทางความคิดระหว่างแนวคิดสองแนวคิด จิตใต้สำนึกเรา ก็ดึงเอา "วิธีคิด" แบบขั้วเป็นสองฝ่ายมาห้ำหั่นกัน มาปะทะกันให้รู้แพ้รู้ชนะ
..
การวิพากษ์ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการแสวงหาคำตอบที่เหมาะสม แสวงหาทางออกที่เหมาะสม และช่วยการสร้างความเข้าใจต่อ "ปรากฏการณ์ทศกัณฑ์แคะขนมครก"
..
แต่ต้องไม่ลืมว่า การวิพากษ์ไม่ได้มีความมุ่งเพื่อการเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง แต่มีไว้เพื่อการขยายความรู้ความเข้าใจและความคิดของมนุษย์ ให้ยอมรับกันด้วยเหตุผล
..
เรียนปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก มาแล้ว..ลองเอาหลักปรัญญาและทฤษฎีการสื่อสารทางนิเทศศาสตร์ สำนักวิพากษ์ มาประยุกต์ใช้ในการ
ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ "ทศกัณฑ์แคะขนมครก" กันดูสักครั้ง น่าจะเป็นการพัฒนาทางความคิดที่ดีมากครับ

24 กันยายน 2559

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค