ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เป็นเพราะใจที่ไขว่คว้า หรือเป็นเพราะโชคชะตาของเจ้า?

เป็นเพราะใจที่ไขว่คว้า หรือเป็นเพราะโชคชะตาของเจ้า?
..........................
ความโชคดีของคนเราที่แตกต่างจากคนอื่นมี 4 อย่าง คือ หนึ่ง ร่างกายแข็งแรงดี สอง สมองดี สาม พบครูอจารย์ดี สี่ พบแหล่งความรู้ดี สองอย่างแรกคนส่วนใหญ่มักจะได้รับมาตั้งแต่กำเนิด แต่สองอย่างหลัง เป็นเรื่องการไขว่คว้า และบางทีก็อยู่ที่โชตชะตา
..
ตัวอย่างของคือ การได้พบแหล่งความรู้ดี ที่ไม่ได้คาดหมาย ขณะออกกำลังกายตอนสองทุ่มเมื่อวาน บังเอิญได้ดูภาพยนตร์เรื่อง The Karate Kid (1984) เวอร์ชั่นแรกสุด
..
Miyaki ครูผู้สอนคาราเต้ชาวญี่ปุ่น พูดถ้อยคำดี ๆ เตือนสติ Daniel ลูกศิษย์เด็กหนุ่ม ตอนที่ลูกศิษย์มาบอกว่าเขาได้ใบขับขี่แล้ว ในวันเกิดของเด็กหนุ่มพอดี ก่อนที่เขาจะมอบรถยนต์รุ่นคลาสสิคให้เด็กหนุ่ม ครูมิยากิพูดว่า
..
"จงจำไว้ว่า ใบขับขี่ ไม่อาจแทน ตา หู มือ และสมอง ของเจ้าได้"
..
โดนเลยครับ การได้ยินคำพูดของครูมิยากิ (ในภาพยนตร์ใช้คำว่า Mentor) นี้สำหรับผมมีสองประเด็น
..
ประเด็นแรก คือ ผมคิดเปรียบเทียบขึ้นมาทันทีว่า
..
"ใบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก" ไม่อาจแทนตา หู มือ และสมอง ของเจ้าได้" เช่นกัน และผมยังอยากพูดต่ออีกนิดนึงว่า
..
"และมันยังไม่อาจแทนจิตวิญญาณของเจ้าด้วยเช่นกัน"
..
ประเด็นที่สอง คือ การได้พบครูอาจารย์ดี และการได้พบแหล่งความรู้ดี บางครั้งมันก็ได้มาโดยความตั้งใจดีของตัวเอง เช่น ไปสมัครเรียน ไปร่วมสัมมนา แต่บางครั้งมันก็ได้มาโดยโชคชะตา หรือจะเรียกอย่างอื่นก็ได้ อะไรก็แล้วแต่ เช่น โชควาสนา จังหวะชีวิต อยู่ถูกที่ถูกเวลา
..
การที่ผมบังเอิญได้ฟังประโยคนี้ ก็เป็น "โชคชะตา" ของผมเช่นกัน ไม่ว่าจะอย่างไร ผมก็ขอขอบคุณคนเขียน screen play ให้ครูมิยากิพูดให้ผมได้ยิน
..
ผมมั่นใจว่า ผู้ส่งสาร คือ คนเขียนบท ไม่ได้ตั้งใจที่จะให้ครูมิยากิสอนลูกศิษย์ของเขาคนเดียวหรอก เพราะถ้าคนเขียนบทต้องการแบบนั้นจริง ๆ เขาสามารถเขียนบทให้ ครูมิยากิ "กระซิบ" ข้างหู คนดูก็ไม่ได้ยินประโยคนี้แล้ว
..
นั่นหมายความว่า คนเขียนบทภาพยนตร์ รวมทั้งผู้กำกับภาพยนตร์ เขา้้ตองการสื่อสารกับผู้ชม ต้องการบอกคนดูภาพยนตร์ The Karate Kid (1984) ด้วยเช่นกันว่า
..
การที่คุณได้เอกสารรับรองความสามารถอะไรบางอย่างมานั้น มันยังไม่พอต่อการสร้างความสำเร็จ เพราะคุณต้องไปเผชิญกับสถานการณ์จริงที่ไม่อาจควบคุมได้ ไม่อาจคาดเดาได้
..
อย่างเช่นในภาพยนตร์เรื่องนี้ เด็กหนุ่มคงคิดไม่ถึงว่า โลกนี้จะมีครูที่เลว ชั่วร้าย ไร้คุณธรรม สั่งให้ลูกศิษย์ตัวเองทำผิดกติกา เจตนาทำร้ายคู่ต่อสู้ให้บาดเจ็บ เพียงเพื่อให้ลูกศิษย์ตัวเองชนะ
..
ถึงเวลาเจอสถานการณ์จริง เหมือนตอนที่คุณต้องไปขับรถยนตร์บนถนนจริง ๆ เมื่อคุณเจอคนที่มีจิตใจชั่วร้าย ไร้คุณธรรม ใบขับขี่ไม่สามารถช่วยอะไรคุณได้เลย แต่สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือ "ตา หู มือ และ สมอง" ของคุณ
..
เมื่อคุณไปทำงาน คุณต้องเจอผู้คนหลายแบบปะปนกันไป ทั้งคนมีคุณธรรมและคนไร้คุณธรรม ทั้งคนที่มีความละอายสูงกับคนที่มีความละอายต่ำ ทั้งคนที่มีมโนธรรมสูงกับคนที่มีมโนธรรมต่ำ
..

ถึงเวลานั้นถึงมี "ใบปริญญา" กี่ใบช่วยคุณไม่ได้ คุณต้องใช้ "ตา หู มือ สมอง" ของตัวเองแก้ปัญหา
..
และยิ่งในยุคสมัยปัจจุบัน คุณยังต้องมี "จิตวิญญาณ" (spirit) หมายถึงต้องมีจิตใจที่หนักแน่นมั่นคงมาก (strongest mind) มิฉะนั้น คุณอาจหลงไหล ไปผิดทาง และอาจได้รับอันตรายร้ายแรง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค