ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คิดแบบเก่าในสื่อใหม่

คิดแบบเก่าในสื่อใหม่ !!
...................................
Facebook เป็นดิจิทัลมีเดียที่ interactive ได้แบบเรียลไทม์ นักการเมืองที่เอาแต่โพสต์ข่าวสาร daily activities เพื่อ inform การทำงานของตนเองว่า แต่ละวันไปทำความดีอะไรมาบ้าง
.
โดยปราศจากการเข้ามาอ่าน ปราศจากการรับรู้ปัญหาและความต้องการ เข้ามาตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น แสดงมุมอง วิทัยทัศน์ของตนเอง ปราศจากแสดงการมีส่วนร่วม กับ audience ในเฟซบุ๊ก
.
แม้จะสื่อสารบน New media แต่รูปแบบการสื่อสาร ยังคงเป็นรูปแบบ Traditional media มาก ๆ เปรียบได้กับการใช้รถแห่ประกาศโฆษณาสินค้าในชนบท ที่เป็นการสื่อสารทางเดียว บางครั้งยังทำให้รู้สึกว่าเป็น propaganda มากกว่า
.
สะท้อนให้เห็น Mindset ว่ายังคงมีชุดความคิดการใช้สื่อและการสื่อสาร ใน paradigm แบบดั้งเดิม ที่ล้าสมัย
.
ผลที่เกิดขึ้นคือ ผู้รับสารจะ "อ่านผ่าน ๆ" และจะ "เลื่อนผ่าน" ไปอย่างรวดเร็ว ไม่ได้ทั้งการจดจำ ความประทับใจ ความพึงพอใจ ไม่สร้างความรู้สึกผูกพันทางจิตใจกับประชาชนผู้รับสาร
.
ที่สำคัญคือ ไม่ได้รับความชื่นชม และไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนผู้รับสารอย่างที่ตนเองคาดหมายไว้
.
อาจกล่าวได้ว่า เป็นการสื่อสารที่ล้มเหลว
.
เหตุผลหลักของควาใล้มเหลว คือ ไม่สร้างความรู้สึกร่วม ไม่สร้างความร่วมมือ ไม่สร้างความรู้สึกใกล้ชิดผูกพัน กับประชาชนผู้รับสาร ซึ่งทุกวันนี้พวกเขาเป็น active audience
.
อย่าเผลอไปคิดว่า นักการเมืองเป็น influencer ทีเดียว นักการเมืองไม่มีภาพลักษณ์เป็น celebrity ในสายตาประชาชน ที่ทำอะไรมักจะได้รับความสนใจเสมอ แต่นักการเมืองเป็น leader เป็น representative ในการแก้ปัญหา
.
ประเด็นสำคัญ ที่ห้ามลืมคือ โลกออนไลน์ มีอยู่จริง โลกออนไลน์ประกอบด้วยผู้คนหลายสิบล้านคน
ที่มีตัวตน มีลมหายใจ มีตวามร้สึก มีความคิด มีสติปัญญา ที่รับรู้ ตอบสนองได้ และพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์ตอบสนองตลอดเวลา

แม้ในยามที่นักการเมือง ท่านรัฐมนตรี ท่าน สส. ท่าน สว. กำลังหลัยอยู่ในเวลานี้ active audience จำนวนต่างต้องการมีส่วนร่วมในการสื่อสารกับท่าน
.
สิ่งที่นักการเมืองกำลังทำบนเฟซบุ๊กอยู่ในขณะนี้คือ การเอาเรื่องราวในโลกทางกายภาพที่ตนเองภูมิใจ  มาบอกคนในโลกออนไลน์ โดยที่คนในโลกออนไลน์ส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นด้วยตัวเอง มันจึงขาดอารมณ์ร่วม ขาดความรู้สึกร่วมเป็นทุนอยู่แล้ว
.
การบอกกล่าว (inform) ด้วยรูปภาพ คำพูด วิดีโอ ถือเป็นการให้ข้อมูลฝ่ายเดียวเท่านั้น
.
แต่การสื่อสารทางการเมือง ต้องสร้างอารมณ์ร่วม สร้างความรู้สึกร่วม สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมในผลงาน และความสำเร็จนั้นด้วย จนแทบเหมือนกับผู้รับสารอยู่นเหตุการณ์นั้ด้วย นี่คือ แนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ที่จำเป็นมากในโลกออนไลน์
.
การใช้สื่อใหม่เพื่อการสื่อสารทางการเมือง ในยุคดิจิทัล ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ต้องเปลี่ยน mindset ใหม่ จึงจะเกิดผลสำเร็จในการสื่อสารทางการเมือง

หากคิดปรับตัวตอนนี้ นับว่ายังไม่สาย ปรับชุดความคิด ปรับกระบวนทัศน์ ปรับวิธีการสื่อสาร ให้มันใหม่ สมกับการใช้สื่อใหม่จริง ๆ

การใช้ chat bot และการใช้ AI เข้ามาช่วยในการสื่อสารทางการเมือง สำหรับ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. สว. กลายเป็นสิ่งที่ควรจะต้องทำโดยเร็ว

Chat bot ช่วยสร้างการตอบสนอง ช่วยหาข้อมูลมาบอกกล่าว ช่วยเก็บคำถามไว้ให้ รอฝ่ายท่านมาตอบ

ทั้งนี้จะต้องมี admin ที่เป็นมนุษย์มาเป็นตัวแทนของท่านในการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา เพราะผู้รับสารต้องการรับรู้ "ความมีตัวตน" ของท่าน ที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา แม้ในยามที่ท่านอยู่ยนเครื่องบิน ยามที่ท่านนอนหลับก็ตาม
.
เมื่ออาสาเข้ามาแล้ว ก็ต้องสู้ เรียนรู้ ปรับตัว อย่างรวดเร็ว ทันต่อเทคโนโลยี ทันต่อสถานการณ์ และทันต่อความต้องการของประชาชน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค