ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตกยุคดิจิทัล (Digital Technological Lag)

การตกยุคดิจิทัล (Digital Technological Lag)

การตกยุคดิจิทัล คือ การก้าวตามไม่ทัน การเรียนรู้ไม่ทัน การปรับตัวไม่ทัน เทคโนโลยีดิจิทัล
เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้ผู้คนสามารถทำการสื่อสารเชื่อมโยง ระหว่างตนเองกับเพื่อน ตนเองกับครอบครัว ตนเองกับสังคมที่ทำงาน ตนเองกับชุมชน ตนเองกับกลุ่มสังคมกลุ่มต่าง ๆ ได้ง่าย

เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้ผู้คนสามารถสื่อสาร เข้าถึง เปิดรับ รับรู้ บริโภค ข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทดิจิทัลได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย

ผู้ประกอบการด้านสื่อสาร ต่างแข่งขันกันผลิตสื่อดิจิทัลมาบริการทั้ง ข่าวสาร ความบันเทิง สาระความรู้ ธุรกิจการค้า การขับเคลื่อนสังคม

องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วน (1) เจ้าของเนื้อหา (content) (2) ผู้ผลิตสื่อดิจิทัลหรือผู้ประกอบการ (production entrepreneur) ) (3) สื่อดิจิทัล (digital media) และ (4) ผู้บริโคสื่อดิจิทัล (consumer) ต่างต้องเรียนรู้ ปรับตัว พัฒนาการ ให้ทันต่อยุคสมัยและขีดความสามารถทางเทคโนโลยี

การที่ผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิงรายหนึ่ง ประสบปัญหาขาดทุนจากการลงทุนซื้อลิขสิทธิ์การแสดงโชว์บันเทิงของนักแสดงโชว์ชื่อดังคนหนึ่งคิดเป็นเงินถึง 20 ล้านบาท โดยมีแผนจะนำการแสดงโชว์นั้นผลิตซีดีขาย น่าจะเป็นกรณีตัวอย่างของการตกยุคดิจิทัลได้ดีพอสมควร

พนักงานขายเครื่องใช้ไฟฟ้าตามห้างให้ข้อมูลว่า เดี๋ยวนี้ผู้คนไม่นิยมซื้อเครื่องเล่นวิดีโอ เครื่องเล่นซีดี กันแล้ว เพราะส่วนใหญ่จะดูทางอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ สื่อดิจิทัล

ค่ายเพลงขนาดยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยก็เกือบจะเลิกผลิตแผ่นซีดีเพลงออมาขายกันหมดแล้ว หันไปให้บริการดาวน์โหลดเป็นสื่อดิจิทัลกันมากกว่า เพราะตรงความต้องการของผู้บริโภคมากกว่า เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายกว่า ขายได้ง่ายกว่า ขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ขายผ่านระบบออนไลน์ ไม่ต้องอาศัยพนักงานขาย ลดต้นทุน ไม่กวนใจผู้ซื้อ

รูปแบบการบริโภคสื่อ ทั้งข่าวสาร ความบันเทิง สาระความรู้ ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนต้องการบริโภคเนื้อหาใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

ภายใต้โครงสร้างและรูปแบบของสื่อเหมือนเดิม ข่าวอาชญากรรม ข่าวสังคม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการเมือง เรื่องตลก เรื่องขำขัน เรื่องโศกเศร้า เรื่องผิดหวัง เรื่องขัดแย้ง เรื่องชิงรักหักสวาท เรื่องเซ็กส์ เรื่องความสวยงาม เรื่องความร่ำรวย เรื่องชั้น ทุกอย่างยังเหมือนเดิม

แต่เทคโนโลยีในการเข้าถึง การเผยแพร่ และการบริโภค เปลี่ยนจากอนาล็อกเป็นดิจิทัลเกือบหมดทุกวงการแล้ว
ทั้งเจ้าของเนื้อหา ผู้ผลิตสื่อดิจิทัลหรือผู้ประกอบการ และผู้บริโค ต้องเรียนรู้ ต้องปรับตัว ให้ทันต่อเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อมิให้กลายเป็น "คนตกยุคดิจิทัลเทคโนโลยี" ซึ่งสร้างความเสียหายสร้างความล้าหลังให้แก่ธุรกิจและการพัฒนาชีวิตตนเอง

5 มกราคม 2560

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค