ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปรากฏการณ์ความต้องการความใหม่

ปรากฏการณ์ความต้องการความใหม่

มันมี "ช่องว่าง" อยู่บนระบบสังคมและระบบการเมือง ช่องว่างที่อยู่ตรงกลางระหว่างคนรุ่นเก่าทางสังคม กับ คนรุ่นใหม่ทางสังคม เมื่อมี "สิ่งใหม่" ที่น่าสนใจและท้าทายเข้ามาแทรกตรงกลาง "ที่ว่าง" นั้น มันจึงโดดเด่น ท้ายทาย และสอดรับกับความต้องการของคนในสังคม

คนในสังคมที่มิได้แบ่งด้วยเกณฑ์ประชากรศาสตร์แบบเดิม ๆ เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ คนในเมือง คนในชนบท คนรากหญ้า คนชั้นกลาง คนชั้นสูง

แต่เป็นกลุ่มคนในสังคมที่แบ่งด้วย "ความต้องการ เทคโนโลยี และความคิด" แบบใหม่ ๆ

อันมีพื้นฐานมาจากปัญหา pain point ความล่าช้า ความไม่ทันต่อสถานการณ์ ความเคร่งครัดกฏระเบียบมากกว่าเป้าหมายความสำเร็จ ปัญหาการลงมือแก้ปัญหาที่ล่าช้า ปัญหาการพัฒนาที่เคลื่อนตัวช้า ไม่ทันต่อสถานการณ์

ที่สำคัญคือ ความรู้สึกตระหนักในศักยภาพและพลังในตนเองของคนในยุคปัจจุบัน ที่ต้องการแสดงออก ต้องการได้รับโอกาส และต้องการได้รับการตอบสนอง อย่างทันท่วงที

รวมทั้งปัญหาความคิดที่ขาดการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ขาดนวัตกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเกิด "ช่องว่างทางความคิด" ขนาดใหญ่ ทางเศรษกิจ สังคม และการเมือง ระหว่างกลุ่มทางการเมืองใหญ่ที่มีภาพลักษณ์เก่าแบบอนุรักษ์นิยม กับ กลุ่มทางการเมืองที่ครั้งหนึ่งเคยใหม่ แต่ปัจจุบันกลายเป็นของเก่าไปเสียแล้ว ซึ่งดูได้จาก "ความคิด" และ "วิธีคิด" ของคนเหล่านั้น ที่เป็นแบบ "เก่า"

ช่องว่างดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดความต้องการ "ของใหม่" มาเติมเต็มช่องว่างนี้ อันเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับ "ความคิดแบบใหม่" ของคนรุ่นใหม่

แม้ยังไม่อาจนิยามได้ชัดเจนจะแจ้งนักว่า "ความคิดแบบใหม่" คืออะไรบ้าง แต่เราต้องยอมรับว่า ความคิดแบบนี้มันมีอยู่จริง

มีอยู่ในสถาบันการศึกษา มีอยู่คณะวิชา สาขาวิชา ทั้งเก่าและใหม่ มีอยู่ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ มีอยู่ในใจกลางของประเทศ มีอยู่ในกลุ่มนิสิต นักศึกษา และบุคคลที่มีช่วงอายุ 18-25 ปี

มีอยู่ในโลกออนไลน์ ที่ดำรงอยู่ พร้อมที่จะแสดงออก โต้แย้ง ตอบโต้ ในสิ่งที่ตนเองไม่เห็นด้วย เมื่อคนที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันเหล่านี้มาพบกันในโลกออนไลน์ พวกเขาจะรวมตัวกันแบบหลวม ๆ อยู่อย่างกระจัดกระจายไปทุกหนทุกแห่ง

หากเกิดเหตุการณ์ที่มากระทบ และพวกเขาไม่เห็นด้วย ะวกเขาจะลุกขึ้นมาปรากฏตัวพร้อม ๆ กันโดยมิได้นัดหมาย โดยไม่ต้องนัดหมาย ซึ่งมันกลายเป็นพลังอันมหาศาล ที่จะกดดันเข้าใส่สิางที่พวกเขาไม่เห็นด้วย

สิ่งที่ไม่พึงมองข้ามอีกอย่างหนึ่งคือ ความต้องการความใหม่นี้ มิได้มีอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า "คนรุ่นใหม่" เท่านั้น หากแต่คนรุ่นกลาง คนรุ่นเก่า จำนวนมากที่เบื่อความเก่า อดทนกับความเก่ามานาน ต่างต้องการ "ความใหม่" ด้วยเช่นกัน

เมื่อคนทุกกลุ่มที่มีความต้องการความใหม่แสดวออกทางความคิดแบะความต้องการพร้อม ๆ กัน ในเรื่ิงเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน ความต้องการความใหม่นี้ จึงมีขนาดใหญ่อย่างคาดไม่ถึง

มันจึงเกิด "ปรากฏการณ์ความต้องการความใหม่" และ ปรากฏการณ์นิยมความใหม่"

ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่เสนอความใหม่กว่า ความก้าวหน้ากว่า ความเร็วกว่า สิ่งนั้นย่อมได้รับความนิยมได้ง่ายกว่าและรวดเร็วกว่า
.........................
#ความเข้าใจ
#เพียงความเข้าใจ
#พื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การทำความเข้าใจปรากฏการณ์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค