ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2014

อย่าทำข่าวแค่เป็นข่าว..การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่สมบูรณ์ ในการทำข่าวอาชญากรรม

อย่าทำข่าวแค่เป็นข่าว.. อย่าทำข่าวแค่เป็นข่าว..การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่สมบูรณ์ ในการทำข่าวอาชญากรรม อาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับเด็ก เป็นสิ่งที่สังคมควรตระหนัก ไม่ใช่แค่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้อำนวยการโรงเรียน และตำรวจ ที่ต้องแบกรับหน้าที่นี้  หากเราเชื่อในทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของ ออกุส ก็องต์ เอมิล เดอร์ไคม์ และพาร์สัน ทุกฝ่ายในสังคมต้อง "ทำหน้าที่" ในการร่วมมือกันต่อต้าน ร่วมมือกันป้องกัน และร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ไม่เว้นแม้แต่สื่อมวลชน !! ไม่เว้นแม้แต่ผู้สื่อข่าว !! ท่านต้องทำหน้าที่ !! จริงอยู่ที่ท่านทำหน้าที่ "รายงานข่าว" อยู่แล้ว แต่นั่นไม่สมบูรณ์พอสำหรับสังคมสมัยนี้ เดอร์ไคม์ สอนเราว่า อาชญากรรมเป็นธรรมชาติปกติของสังคม เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาชญากรรมได้ คุณูปการของอาชญากรรมคือ อาชญากรรมสอนให้สังคม "เรียนรู้ที่จะรับมือ" กับปัญหาอาชญากรรม การรับมือกับอาชญากรรมในบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน ทำได้มากกว่าการรายงานข่าว หากพิจารณาจากทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ สื่อมวลชนควรจะทำหน้าที่สำคัญอีกคือ 1. ให้การเรียนรู้แก่ประชาชน ในการป้องก

รํฐประหาร..3 นิ้ว.."ความรัก" และ "ความคาดหวัง" คนไทยที่อยากได้จากผู้บริหารประเทศ

รํฐประหาร..3 นิ้ว.."ความรัก" และ "ความคาดหวัง" คนไทยที่อยากได้จากผู้บริหารประเทศ ...........................................................................................................................................         ขณะที่คนไทยกลุ่มหนึ่ง..ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้ว เพื่อแสดงการคัดค้านต่อต้านรัฐประหาร                      แต่คนไทยอีกกลุ่มหนึ่ง..ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้ว เพื่อเรียกร้อง "ความรัก" ให้เกิดขึ้นในประเทศนี้         การชูสัญลักษณ์ 3 นิ้ว ของคนกลุ่มหลัง  แปลความหมายโดยตรงได้ว่าหมายถึง "ความรัก" แต่หากพิจารณาร่วมกับบริบททางสังคมและการเมืองแล้ว  การชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วนี้  ยังมีความหมายไปถึง การเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทุกพวก ช่วยกันสร้าง "ความรัก ความสามัคคี และความปรองดอง" ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย         สำหรับมุมมองของประชาชนอย่างเรา นอกจากความหมายดังกล่าวแล้ว เรายังมี "ความคาดหวัง" ที่จะได้เห็นการปกครองและการบริหารบ้านเมือง ในเรื่องสำคัญและเร่งด่วน 3 เรื่องคือ ..........................

ความหมายของการมีส่วนร่วม

ความหมายของการมีส่วนร่วม 14 มิถุนายน 2557 ผมต้องการทำความเข้าใจความหมายของการมีส่วนร่วม ผมจึงไปอ่านตำราต่างประเทศ และตำราไทยหลายเล่ม ที่อธิบายความหมายและนิยามของคำว่า การมีส่วนร่วม ไว้หลายลักษณะ ผมได้สะกัดคำสำคัญและสาระสำคัญออกมา แล้วนำมาประมวลเป็นความรู้ใหม่ ทำให้ได้ความหมายของคำว่าการมีส่วนร่วม ดังนี้ --------------- การมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง กระบวนการที่ให้บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าไปมีอำนาจและเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน กระบวนการตัดสินใจ การใช้ทรัพยากร การดำเนินการตามกระบวนการ การบริหารจัดการ การควบคุม การประเมินผล การร่วมรับผิดชอบ การได้รับการแบ่งปันประโยชน์ และการได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการ ในแผนงาน โครงการ และกิจกรรมใด ๆ อันเกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อบุคคลมีส่วนได้ส่วนเสีย นั้น (ณัฐฐ์วัฒน์   สุทธิโยธิน อ้างใน nattawat.blogspot.com) --------------- รายชื่อบุคคลและหนังสืออ้างอิงที่ผมใช้ในการประมวลความหมายของคำว่า การมีส่วนร่วม มีดังนี้ นรินทร์ชัย   พัฒนาพงศา  (2538  อ้างใน นรินทร์ชัย พัฒนพงศา  2546) นิรันดร์   จงวุฒิเวศย์

ที่ไหนมี "ควัน" ย่อมมี "ไฟ" เราอยากเห็นอะไรจาก "ผู้สื่อข่าว"

ที่ไหนมี "ควัน" ที่นั่นย่อมมี "ไฟ" ข่าวพาดหัว แรงงานเขมร "หนี" กลับบ้าน ชวนให้สงสัยว่า ทำไมต้องหนี ในเมื่อค่าแรงในไทยสูงกว่า ทั้งทำงานมาเป็นเวลานานแล้ว ยังไม่เคยมีข่าวเช่นนี้ ที่ไหนมี "ควัน" ที่นั่นย่อมมี "ไฟ" ที่ไหนมี "ปัญหา" ที่นั่นย่อมมี "สาเหตุ" อยากเห็น..ผู้สื่อข่าวไทย..ทำข่าว "แรงงานชาวเขมรกลับประเทศ" แบบรายงานข่าวเชิงลึก..สืบหาสาเหตุที่แท้จริงว่า 1. เหตุผลที่แท้จริงแรงงานเขมรเดินทางกลับ -ถูกตำรวจทหารจับ จริงหรือไม่ -แรงงานเขมรที่เดินทางกลับมีเอกสารเหล่านี้หรือเปล่า     -พาสปอร์ต     -วีซ่า     -ใบโควต้าแรงงาน     - ใบอนุญาตทำงาน     (work permit) 2. แรงงานเขมรกลับบ้านเพราะอะไร      -หนีกลับเอง      -ถูกทางการไทยกดดันให้กลับ ด้วยเหตุผลบางอย่าง       -ถูกทางการเขมรดึงแรงงานกลับ ด้วยเหตุผลบางอย่าง ไม่อยากเห็น..ผู้สื่อข่าวไทย..เดินทางไกล 2-3 ร้อยกิโลเมตร ไปถึงปราจีนบุรี ไปถึงปอยเปต เพียงแค่รายงานข่าวแบบ "ผิวเผิน"..แค่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเพียง &q

ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างทัศนคติ..ด้วยสื่อภาพยนตร์

ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างทัศนคติ..ด้วยสื่อภาพยนตร์          นับเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งที่คณะผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศ เลือกใช้ภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็นพระนเรศวรมหาราช ภาคที่ 5 ตอนยุทธหัตถี" เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับประชาชนทั่วประเทศ          โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกองทัพ ในการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ ลดความตึงเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งปลุกจิตสำนึกให้เกิดความรักความสามัคคี และเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านการชมภาพยนตร์          ความน่าสนใจอยู่ที่          1. ภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคที่ 5 ตอนยุทธหัตถี"  เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณ ความสามารถ ความกล้าหาญ ความเสียสละ และความรักชาติของพระมหากษัตริย์ไทย          2. ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์แนวประวัติศาสตร์ จะมีลักษณะการนำเสนอ "ความจริง" บางช่วงบางตอนที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งมีความสำคัญ                3. ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ภาคต่อ ที่มีการสร้างและฉายต่อเ

ฟุตบอลโลก..พื้นที่แห่งการบริโภคความหมาย

ฟุตบอลโลก..พื้นที่แห่งการบริโภคความหมาย พื้นที่ชีวิต.. สนามแข่งขันฟุตบอลโลก กับการแปรเปลี่ยนความหมาย ไปตาม "การสร้างความหมาย" ของมนุษย์ในมุมมองที่แตกต่าง ขึ้นอยู่กับว่าผู้สร้างความหมายเป็นใคร.. นักกีฬา โค้ช ผู้จัดการทีม ผู้สนับสนุน ผู้จัดการแข่งขัน ผู้บริหารการกีฬาของโลก ผู้ได้สิทธิการขายบัตร ผู้ได้ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ เจ้าของธุรกิจยักษ์ใหญ่ ผู้ผลิตสินค้ามวลชน (mass products) ที่มองเห็นลูกค้านับพันล้านคนทั่วโลก ผู้ชมกีฬาทางโทรทัศน์ ผู้บริโภคสินค้า ความหมายของฟุตบอลโลก ความหมายของการแข่งขันกีฬา ความหมายของสนามกีฬา จึงขึ้นอยู่กับว่า..คุณเป็นใคร ............................... ฟุตบอลโลก..การแข่งขันกีฬา นักกีฬา สนามกีฬา พื้นที่แห่งการพิสูจน์ความสามารถของนักกีฬา พื้นที่แห่งน้ำตาและรอยยิ้มของผู้ได้ชัยและผู้พ่ายแพ้ พื้นที่แห่งการประลองมันสมองของโค้ช พื้นที่แห่งการบริหารอำนาจของฟีฟ่า พื้นที่แห่งการจัดสรรผลประโยชน์ทางการค้า พื้นที่ชุมนุมความสนใจของมวลมนุษย์ผู้หลงไหลลีลาของลูกหนัง..กว่าพันล้านคนทั่ว

สิทธิ หน้าที่ และจริยธรรมของ สื่อ สื่อมวลชน นักนิเทศศาสตร์ ในทางการเมืองการปกครอง

สิทธิ หน้าที่ และจริยธรรมของ สื่อ สื่อมวลชน นักนิเทศศาสตร์ ในทางการเมืองการปกครอง เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 12 มิถุนายน 2557  16.45 น. ------------------- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น           นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสารในการพัฒนาท้องถิ่น ควรจะต้องรู้จักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้เข้าใจระบบ หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น ได้อย่างถูกต้อง ไม่กระทำผิดกฎหมายเสียเอง กฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น มีดังนี้ 1. กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการท้องถิ่น แบ่งออกเป็น           (1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554           (2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542           2. กฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้ง แบ่งออกเป็น            

เสรีภาพ..ภายใต้การเมืองการปกครองระบอบ.."ประชาธิปไตยที่บกพร่อง"

การต่อสู้ด้วยการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ ของ บก.ลายจุด บก.ลายจุด จัดว่าเป็นนักออกแบบสัญลักษณ์คนหนึ่ง เมื่อคราวประท้วงศาลรัฐธรรมนูญ บก.ลายจุด เคยใช้ ภาพตัวอักษรคำว่า "เอียง" บนกระดาษสีขาว เพื่อสื่อความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งสังคมเข้าใจความหมายตรงกัน และใช้ในการสื่อสารเพื่อระดมพลังของบุคคลที่มีความเห็นในแนวเดียวกัน มาคราวนี้ เมื่อเขาถูกจับดำเนินคดีอาญาฝ่าฝืน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฝ่าฝืนคำสั่งให้ไปรายงานตัวของ คสช. บก.ลายจุดเลือกใช้วิธีการสื่อสารผ่านสัญลักษณ์อีกครั้ง เป็นการใช้มือตนเองแสดงสัญลักษณ์นกพิราบสื่อสาร 2 ตัว แสดงให้สื่อมวลชนถ่ายรูป เพื่อนำไปเสนอทางสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์ พิจารณาจากสัญลักษณ์..นัยแรกตีความตามวิญญูชนว่า ภาพนี้สื่อความหมายถึง "เสรีภาพ" ส่วนนัยอื่นๆ นั้นยังไม่ทราบเจตนาของผู้ส่งสาร เสรีภาพ..ภายใต้การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่บกพร่อง การสื่อสารด้วยสัญลักษณ์..เป็นการสื่อสารที่ไม่ต้องใชัคำพูด แต่มากด้วยความหมาย หากมองในแง่ความชาญฉลาดในการสร้างสรรค์และการใช้สื่อ นับว่าประสบผลสำเร็จ ภาพนี้จะถูกตีพิมพ์ในหน้า 1 นสพ. และถู