ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อย่าทำข่าวแค่เป็นข่าว..การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่สมบูรณ์ ในการทำข่าวอาชญากรรม

อย่าทำข่าวแค่เป็นข่าว..

อย่าทำข่าวแค่เป็นข่าว..การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่สมบูรณ์ ในการทำข่าวอาชญากรรม

อาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับเด็ก เป็นสิ่งที่สังคมควรตระหนัก ไม่ใช่แค่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้อำนวยการโรงเรียน และตำรวจ ที่ต้องแบกรับหน้าที่นี้ 

หากเราเชื่อในทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของ ออกุส ก็องต์ เอมิล เดอร์ไคม์ และพาร์สัน ทุกฝ่ายในสังคมต้อง "ทำหน้าที่" ในการร่วมมือกันต่อต้าน ร่วมมือกันป้องกัน และร่วมมือกันแก้ไขปัญหา

ไม่เว้นแม้แต่สื่อมวลชน !!
ไม่เว้นแม้แต่ผู้สื่อข่าว !! ท่านต้องทำหน้าที่ !!

จริงอยู่ที่ท่านทำหน้าที่ "รายงานข่าว" อยู่แล้ว แต่นั่นไม่สมบูรณ์พอสำหรับสังคมสมัยนี้

เดอร์ไคม์ สอนเราว่า อาชญากรรมเป็นธรรมชาติปกติของสังคม เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาชญากรรมได้ คุณูปการของอาชญากรรมคือ อาชญากรรมสอนให้สังคม "เรียนรู้ที่จะรับมือ" กับปัญหาอาชญากรรม

การรับมือกับอาชญากรรมในบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน ทำได้มากกว่าการรายงานข่าว

หากพิจารณาจากทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ สื่อมวลชนควรจะทำหน้าที่สำคัญอีกคือ

1. ให้การเรียนรู้แก่ประชาชน ในการป้องกันตนเองจากอาชญากรรม
- ด้วยการเปิดเผยวิธีการของอาชญากร
- ด้วยการสอนวิธีการป้องกัน
- ด้วยการสอนวิธีการหลีกเลี่ยง การเผชิญหน้า การแก้ไขสถานการณ์

2. กระตุ้นให้ประชาชนเกิดการรวมตัวกัน รวมพลังกัน เพื่อรับมือกับอาชญากรรม

3. กระตุ้นเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เปิดเผยร่องรอยของอาชญากร

5. มอบภาพหลักฐานที่เป็นประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวน และดำเนินคดี

6. ประสานความคิดผู้คนในสังคม ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ นักนิติศาสตร์ นักอาชญาวิทยา นักวิจัย นักวิชาการ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของอาชญากรรม แนวทางการป้องกันและแก้ไข

7. เกาะติดคดี ติดตามรายงานความคืบหน้าในการดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง

8. วิเคราะห์เสนอทางออกของปัญหาให้แก่สังคม

9. ไม่รายงานข่าวอันเป็นการชี้ช่องอาชญากรรม

10. ไม่นำเสนอเนื้อหาที่บ่มเพาะนิสัยอาชญากร

11. ไม่นำเสนอเนื้อหาปลูกฝังความรุนแรง

12. ไม่สอนวิธีกระทำผิดทางอ้อม

13. ไม่ซ้ำเติมเหยื่ออาชญากรรม

14. มุ่งมั่นรายงานข่าวเชิงลึกเพื่อคุ้มครองปกป้องประชาชน

หาก เอมิล เดอร์ไคม์ ได้เห็นการทำหน้าที่อันสมบูรณ์ของผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชน ท่านคงจะปลาบปลื้มใจ ที่สามารถทำให้ประชาชนคิดได้ ท่านคงจะดีใจที่ทำให้ผู้คนมีความรัก สามัคคี และร่วมมือกันในการแก้ปัญหาอาชญากรรมได้สำเร็จ

ในการนี้จึงขอวิงวอนมายังสื่อมวลชนโดยเฉพาะผู้สื่อข่าวทุกท่าน

..ขอได้โปรดอย่าทำข่าว แค่เป็นข่าว..ท่านทำได้มากกว่านั้น

ท่านสามารถทำหน้าที่สื่อมวลชนที่สมบูรณ์ได้ ด้วยศักยภาพของท่าน

ท่านสามารถคุ้มครองและปกป้องเด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส ผู้บริสุทธิ์ได้..ด้วยวิชาชีพของท่าน


18 มิถุนายน 2557 16.19 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค