ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รํฐประหาร..3 นิ้ว.."ความรัก" และ "ความคาดหวัง" คนไทยที่อยากได้จากผู้บริหารประเทศ

รํฐประหาร..3 นิ้ว.."ความรัก" และ "ความคาดหวัง" คนไทยที่อยากได้จากผู้บริหารประเทศ
...........................................................................................................................................

        ขณะที่คนไทยกลุ่มหนึ่ง..ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้ว เพื่อแสดงการคัดค้านต่อต้านรัฐประหาร





                    แต่คนไทยอีกกลุ่มหนึ่ง..ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้ว เพื่อเรียกร้อง "ความรัก" ให้เกิดขึ้นในประเทศนี้




        การชูสัญลักษณ์ 3 นิ้ว ของคนกลุ่มหลัง แปลความหมายโดยตรงได้ว่าหมายถึง "ความรัก" แต่หากพิจารณาร่วมกับบริบททางสังคมและการเมืองแล้ว การชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วนี้ ยังมีความหมายไปถึง การเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทุกพวก ช่วยกันสร้าง "ความรัก ความสามัคคี และความปรองดอง" ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

        สำหรับมุมมองของประชาชนอย่างเรา นอกจากความหมายดังกล่าวแล้ว เรายังมี "ความคาดหวัง" ที่จะได้เห็นการปกครองและการบริหารบ้านเมือง ในเรื่องสำคัญและเร่งด่วน 3 เรื่องคือ
.............................................................................
        1. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ 
                 1.1 การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ประชาชนในระดับรากหญ้า และชนชั้นกลางในสังคม มากกว่าการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ชนชั้นนำ นายทุน และกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจรายใหญ่ 
                 1.2 ลดการผูกขาดด้านทรัพยากร  
                 1.3 บริหารการใช้ทรัพยากรของชาติอย่างเป็นธรรม บังเกิดผลประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนอย่างแท้จริง เช่น
                        - ทรัพยากรการเกษตร ทุน ปัจจัยการผลิต เช่น แหล่งน้ำ ที่ดินทำกิน ปุ๋ย อาหารสัตว์
                        - ทรัพยากรพลังงาน น้ำมัน ปิโตเลียม ก๊าซ
                        - ทรัพยากรการสื่อสาร เช่น คลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม

                  1.4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ และการทำมาหากินของประชาชน
                  1.5 บริหารทุนในการผลิตให้แก่ประชาชน ไฟฟ้า ประปา การสื่อสาร ตลาด เงินทุน
..............................................................................
         2. การจัดระเบียบทางสังคม 
                สังคมในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารประเทศบริหารงานแบบมุ่ง "รักษาอำนาจทางการเมือง" ของตนเองและฝ่ายตนเองไว้ให้นานที่สุด การบริหารจึงย่อหย่อนประสิทธิภาพ แก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้า ซุกฝุ่นไว้ใต้พรม ซุกซ่อนปัญหาไว้มากมายโดยไม่ได้มีการแก้ไขอย่างจริงจรัง แก้ปัญหาแบบลูบหน้าปะจมูก จนก่อให้เกิดสภาพความไร้ระเบียบทางสังคม เกิดสภาพความโกลาหล ใครอยากทำอะไรก็ทำได้โดยไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย ระเบียบ กฏกติกาของสังคม ตัวอย่างเช่น ใครจะเปิดวินรถตู้ วินรถมอเตอร์ไซค์เมื่อไหร่ ที่ไหน ก็เปิดได้ หากสามารถเคลียร์กับกรมการขนส่งทางบกได้ หากเคลียร์กับตำรวจได้

                ปัญหาความไม่เป็นระเบียบทางสังคม นำไปสู่อาชญากรรม การสร้างความไม่มีระเบียบวินัย การเอารัดเอาเปรียบ  เช่น
                 - ปัญหาแรงงานต่างด้าว
                 - ปัญหาวินรถตู้
                 - ปัญหาวินมอเตอร์ไซค์
                 - ปัญหาเงินกู้นอกระบบ  
                 - ปัญหาการทุจิตคอร์รัปชันเชิงนโยบาย เช่น โครงการรับจำนำข้าว
                 - ปัญหากลุ่มอิทธิพล แก๊งค์ มาเฟีย ขบวนการอาชญากรรม
                 - ปัญหาการบริหารงานภาครัฐอย่างผิดหลักธรรมาภิบาล ย้ายคนข้ามสายงาน ย้ายคนข้ามหัว ย้ายคนเก่งคนดีออกจากตำแหน่ง ย้านเอาคนที่รับใช้นักการเมืองมามีอำนาจ
                 - ปัญหาในวงการศาสนา 

                ปัญหาข้างต้นคณะผู้บริหารประเทศกำลังหยิบขึ้นมาดำเนินการแก้ไข โดยถือเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วนในการดำเนินการอยู่แล้วในขณะนี้ 
..............................................................................................................
        3. การได้รับการคุ้มครองป้องกันจากภยันตรายและการปฏิบัติที่เป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม 
                ปัญหาการกระทำของบุคคลบางกลุ่มในสังคมที่ผิดกฎหมาย สร้างความเดือดร้อน สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ประชาชนจึงคาดหวังที่จะได้รับการคุ้มครองป้องกันจากภยันตรายอันเกิดจากการละเมิดกฎหมาย อันเกิดจากการก่อการร้าย อันเกิดจากอาชญากรรม รวมทั้งคาดหวังที่จะได้รับความเสมอภาคความเท่าเทียมกัน ในด้านสิทธิ และได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมของรัฐ ทั้งตำรวจ อัยการ ศาล 
                 คนบริสุทธิ์ต้องไม่ถูกทำร้าย เด็กต้องไม่ถูกฆ่าข่มขืน สตรีต้องไม่ถูกกระทำในฐานะเป็นเหยื่อ คนผิดต้องได้รับโทษไม่ว่าผู้กระทำผิดจะเป็นใคร มีอำนาจใหญ่โตขนาดไหน ร่ำรวยมหาศาลเพียงใด ต้องได้รับผลของการกระทำอย่างเท่าเทียมกันกับประชาชนธรรมดา
                 


                 แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศของเรา นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา..เราได้เห็นความเคลื่อนไหว เราได้เห็นการลงมือปฏิบัติ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี กำลังเกิดขึ้นในประเทศของเรา ซึ่งมีลักษณะเป็นการ "พูดจริงทำจริง" และมีลักษณะ "รวดเร็ว" เราก็รู้สึกดีใจ 

                ความดีใจของประชาชนสะท้อนจากภาพต่างที่ปรากฏในโลกโซเชียลมีเดีย เป็นอาการแสดงออกของ "ความสุข" ในขณะเดียวกันก็แสดงออกในเชิงของ "ความคาดหวัง" เป็นอย่างยิ่ง ดังภาพที่ประชาชนสร้างขึ้นจากความคิด ที่มิได้มีเจตนาเชิงเสียดสี แต่เป็นเจตนาเชิงสร้างสรรค์ อันเป็นการสร้างสรรค์ทางความคิดของความคาดหวังจากผู้นำประเทศในขณะนี้ ดังภาพ Superman ภาพนี้




                 แต่ไม่ใช่ว่าเราจะผลักภาระทั้งหมดไปให้คณะผู้บริหารบ้านเมืองต้องทำงานหนักตามลำพัง พวกเรายินดีให้ความร่วมมือเสมอ เพียงแต่การปฏิบัติบางเรื่อง ต้องใช้กำลัง ต้องใช้อำนาจ ต้องใช้กฎหมาย ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจและไม่อยู่ในวิสัยของประชาชนที่จะกระทำได้

                ประชาชนส่วนใหญ่ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับคณะผู้บริหาร ตามบทบาทตามอำนาจหน้าที่ของตนที่มีอยู่ พื้นฐานหลักๆ ที่ประชาชนร่วมมืออยู่ในขณะนี้คือ การปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง  ที่มี รวมทั้งการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันดี เป็นประชาชนที่เคารพกฏกติกา ประชาชนที่เป็นพลเมืองที่ดี ประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองที่ดี

                 จากปัญหาใหญ่ 3 ประการข้างต้น ที่สะสมมานานหลายปี สร้างความอึดอัด คับข้องใจ (frustration) ในหมู่ประชาชน จนบางครั้งต้องลงมือแก้ปัญหากันเอง ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย


                 เมื่อประชาชนมีคณะผู้บริหารที่มี "อำนาจพิเศษ" และมี "อำนาจเต็ม" ในการบริหารประเทศ ประชาชนย่อมมี "ความคาดหวัง" ว่า ผู้บริหารประเทศที่เขามีอยู่ในขณะนี้ จะสามารถแก้ปัญหาความทุกข์ยากของพวกเขาอย่างน้อย 3 ประการคือ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การจัดระเบียบทางสังคม และการได้รับการคุ้มครองป้องกันจากภยันตรายและการปฏิบัติที่เป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม  ได้โดยเร็วและมีประสิทธิภาพ ยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา

                 เพราะในห้วงเวลานี้..ประชาชนถามหา "คุณภาพชีวิต" มากกว่า "การเลือกตั้ง"

                 ประชาชนยอมเสียสละ "สิทธิ" และ "เสรีภาพ" บางประการให้แก่คณะผู้บริหารประเทศ เพื่อแลกกับ "ประโยชน์สุขของมหาชนส่วนใหญ่" ที่พวกเขามี "ความคาดหวัง"

                 ขอแสดงความคิดเห็นด้วยความสุจริตใจในฐานะประชาชนคนหนึ่ง

                 14 มิถุนายน 2557
                  แก้ไข 18 มิถุนายน 2557 14.41 น.



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค