ข่าว..วัฒนธรรมการบริโภคสินค้าความตื่นเต้น
.................................................................
เทคโนโลยีดิจิทัล..ช่วยให้เรามีช่องทีวีเพิ่มมากขึ้น
เทคโนโลยีดิจิทัล..ช่วยให้เรามีทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอีกหลายสถานี
ยิ่งเปิดสถานีโทรทัศน์มากขึ้น..ยิ่งเปิดช่องทางการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากขึ้น จะส่งผลให้..
การแข่งขันการนำเสนอข่าวจะมีมากขึ้น..
การแข่งขันช่วงชิงเรตติ้งรายการข่าวจะยิ่งรุนแรงขึ้น..
การแข่งขันช่วงชิงผู้ชมรายการข่าวจะยิ่งรุนแรงยิ่งขึ้น..
.....................................
ข่าว..จะกลายเป็น "สินค้า" (Commodity) อย่างหนึ่ง
ข่าวจะถูกผลิต (Production) มากขึ้น
ข่าวจะถูกผลิตซ้ำ (Reproduction) มากยิ่งขึ้น
......................................
ข่าวจะผลิต "ความตื่นเต้น" (Exciting) ให้แก่ผู้ชม
ผู้ชมจะบริโภคความตื่นเต้นนั้นอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ไม่นานเกินกว่า 5 วัน..ข่าวนั้นก็จะจางหายไปจากความทรงจำและความรู้สึกของผู้คน
.....................................
ข่าว..จึงต้องมีการผลิตซ้ำ (Reproduction) เพื่อทำหน้าที่ตอกย้ำความตื่นเต้น รักษาระดับความตื่นเต้นไว้ให้สม่ำเสมอ ในความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม
นอกจากการบริโภคข้อมูลข่าวสารแล ้ว การชมข่าวยังเป็นการบริโภคอารมณ ์ความรู้สึกตื่นเต้น ที่มนุษย์มีความต้องการแสวงหาใน การดำเนินชีวิตประจำวัน
การชมข่าว..กลายเป็นสิ่งจำเป็น กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ กลายเป็นวิถีชีวิตของผู้คน และกลายเป็นวัฒนธรรมชนิดหนึ่ง
ผู้ชมบริโภคข่าวในฐานะที่มันเป็น "สินค้าทางวัฒนธรรม" ชนิดหนึ่ง
ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้
....................................
นัยหนึ่ง ข่าวจะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการด้านการรับรู่้ข่าวสารและความเคลื่อนไหวในสังคม
แต่อีกนัยหนึ่ง ข่าวกลับทำหน้าที่ในการตอบสนอง human interest ได้ดียิ่งกว่า นั่นคือ "การตอบสนองทางอารมณ์" และ "การสร้างความพึงพอใจทางอารมณ์" ให้แก่ผู้ชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบสนอง "ความต้องการบริโภคความตื่นเต้น" ของผู้ชม
...................................
อันที่จริงผู้ชมได้บริโภคความตื่่นเต้นที่ได้รับจาก "ละคร" มาจนท่วมท้นแล้ว
หากแต่ผู้ชม "รู้เท่าทัน" ความรู้สึกของตัวเองว่า ละคร มันเป็น "เรื่องเล่า" มันไม่ใช่เรื่องของความเป็นจริงที่เราพบเห็นในชีวิต ขณะที่ผู้ชมกำลังชมละคร ผู้ชมก็มีสติรับรู้อยู่ตลอดเวลาว่า กำลังดูเรื่องราวที่เป็นเหตุการณ์สมมุติ หาใช่ความเป็นจริงแต่อย่างใด
ในขณะที่ "ข่าว" กลับให้ความรู้สึกการสัมผัสถึง "ความเป็นจริง" (Reality) ได้มากกว่า
ภาพข่าว ภาพเหตุการณ์ สร้างความรู้สึกตระหนักถึงความเป็นจริงได้มากกว่าละคร
ความเป็นจริงในข่าว..ไม่ว่าจะเป็น ข่าวอาชญากรรม ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสังคม ข่าวความก้าวหน้าเทคโนโลยี ล้วนแต่นำเสนอ "ความเป็นจริงอันน่าตื่นเต้น" อยู่ตลอดเวลา
ผู้บริโภค..เมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการบริโภคความตื่นเต้น ย่อมพึงพอใจ
เมื่อนั้น "ข่าว" ย่อม "ขายได้"
.........................................
"ข่าว"..จะกลายเป็น "วัฒนธรรมการบริโภคสินค้าความตื่นเต้น" ไปในที่สุด
.........................................
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
2 มิถุนายน 2557
23.09 น.
.................................................................
เทคโนโลยีดิจิทัล..ช่วยให้เรามีช่องทีวีเพิ่มมากขึ้น
เทคโนโลยีดิจิทัล..ช่วยให้เรามีทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอีกหลายสถานี
ยิ่งเปิดสถานีโทรทัศน์มากขึ้น..ยิ่งเปิดช่องทางการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากขึ้น จะส่งผลให้..
การแข่งขันการนำเสนอข่าวจะมีมากขึ้น..
การแข่งขันช่วงชิงเรตติ้งรายการข่าวจะยิ่งรุนแรงขึ้น..
การแข่งขันช่วงชิงผู้ชมรายการข่าวจะยิ่งรุนแรงยิ่งขึ้น..
.....................................
ข่าว..จะกลายเป็น "สินค้า" (Commodity) อย่างหนึ่ง
ข่าวจะถูกผลิต (Production) มากขึ้น
ข่าวจะถูกผลิตซ้ำ (Reproduction) มากยิ่งขึ้น
......................................
ข่าวจะผลิต "ความตื่นเต้น" (Exciting) ให้แก่ผู้ชม
ผู้ชมจะบริโภคความตื่นเต้นนั้นอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ไม่นานเกินกว่า 5 วัน..ข่าวนั้นก็จะจางหายไปจากความทรงจำและความรู้สึกของผู้คน
.....................................
ข่าว..จึงต้องมีการผลิตซ้ำ (Reproduction) เพื่อทำหน้าที่ตอกย้ำความตื่นเต้น รักษาระดับความตื่นเต้นไว้ให้สม่ำเสมอ ในความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม
นอกจากการบริโภคข้อมูลข่าวสารแล
การชมข่าว..กลายเป็นสิ่งจำเป็น กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ กลายเป็นวิถีชีวิตของผู้คน และกลายเป็นวัฒนธรรมชนิดหนึ่ง
ผู้ชมบริโภคข่าวในฐานะที่มันเป็น "สินค้าทางวัฒนธรรม" ชนิดหนึ่ง
ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้
....................................
นัยหนึ่ง ข่าวจะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการด้านการรับรู่้ข่าวสารและความเคลื่อนไหวในสังคม
แต่อีกนัยหนึ่ง ข่าวกลับทำหน้าที่ในการตอบสนอง human interest ได้ดียิ่งกว่า นั่นคือ "การตอบสนองทางอารมณ์" และ "การสร้างความพึงพอใจทางอารมณ์" ให้แก่ผู้ชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบสนอง "ความต้องการบริโภคความตื่นเต้น" ของผู้ชม
...................................
อันที่จริงผู้ชมได้บริโภคความตื่่นเต้นที่ได้รับจาก "ละคร" มาจนท่วมท้นแล้ว
หากแต่ผู้ชม "รู้เท่าทัน" ความรู้สึกของตัวเองว่า ละคร มันเป็น "เรื่องเล่า" มันไม่ใช่เรื่องของความเป็นจริงที่เราพบเห็นในชีวิต ขณะที่ผู้ชมกำลังชมละคร ผู้ชมก็มีสติรับรู้อยู่ตลอดเวลาว่า กำลังดูเรื่องราวที่เป็นเหตุการณ์สมมุติ หาใช่ความเป็นจริงแต่อย่างใด
ในขณะที่ "ข่าว" กลับให้ความรู้สึกการสัมผัสถึง "ความเป็นจริง" (Reality) ได้มากกว่า
ภาพข่าว ภาพเหตุการณ์ สร้างความรู้สึกตระหนักถึงความเป็นจริงได้มากกว่าละคร
ความเป็นจริงในข่าว..ไม่ว่าจะเป็น ข่าวอาชญากรรม ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสังคม ข่าวความก้าวหน้าเทคโนโลยี ล้วนแต่นำเสนอ "ความเป็นจริงอันน่าตื่นเต้น" อยู่ตลอดเวลา
ผู้บริโภค..เมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการบริโภคความตื่นเต้น ย่อมพึงพอใจ
เมื่อนั้น "ข่าว" ย่อม "ขายได้"
.........................................
"ข่าว"..จะกลายเป็น "วัฒนธรรมการบริโภคสินค้าความตื่นเต้น" ไปในที่สุด
.........................................
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
2 มิถุนายน 2557
23.09 น.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น