ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างทัศนคติ..ด้วยสื่อภาพยนตร์

ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างทัศนคติ..ด้วยสื่อภาพยนตร์

         นับเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งที่คณะผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศ เลือกใช้ภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็นพระนเรศวรมหาราช ภาคที่ 5 ตอนยุทธหัตถี" เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับประชาชนทั่วประเทศ

         โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกองทัพ ในการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ ลดความตึงเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งปลุกจิตสำนึกให้เกิดความรักความสามัคคี และเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านการชมภาพยนตร์

         ความน่าสนใจอยู่ที่
         1. ภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคที่ 5 ตอนยุทธหัตถี"  เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณ ความสามารถ ความกล้าหาญ ความเสียสละ และความรักชาติของพระมหากษัตริย์ไทย
         2. ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์แนวประวัติศาสตร์ จะมีลักษณะการนำเสนอ "ความจริง" บางช่วงบางตอนที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งมีความสำคัญ      
         3. ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ภาคต่อ ที่มีการสร้างและฉายต่อเนื่องกันมาแล้ว 4 ภาค ประชาชนมีความรู้จักคุ้นเคย บริบทของภาพยนตร์ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องอธิบายใหม่
         4 ภาพยนตร์เป็นสื่อที่ง่ายต่อการบริโภค ผู้บริโภคมีความพึงพอใจที่จะชมเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
         5. ภาพยนตร์ เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลอย่างสูงยิ่งต่อการรับรู้และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้ชม ดังเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Shilder's List ภาพยนตร์เรื่อง The Piano ภาพยนตร์เรื่อง Saving Pirate Rian
         6. ภาพยนตร์เรื่องนี้ มีผู้ดำเนินการสร้างไว้แล้ว เป็น "สื่อสำเร็จรูป" ที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องสร้างใหม่ ซึ่งใช้เวลานาน
         7. ภาพยนตร์เรื่องนี้ มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทสังคมไทยด้านการเมืองการปกครองในขณะนี้
         8. ภาพยนตร์เรื่องนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวภารกิจของกองทัพไทยในการต่อสู้ปกป้องบ้านเมืองจากภัยคุกคาม



ภาพประชาชนสนใจมาขอเข้าชมภาพยนตร์ฟรีที่เมเจอร์รังสิต วันที่่ 15 มิถุนายน 2557
ภาพจากเว็บไซต์ ThaiPBS วันที่่ 15 มิถุนายน 2557 เวลาประมาณ 11.30 น.

         ประเด็นที่น่าสนใจ
          1. ภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคที่ 5 ตอนยุทธหัตถี" นี้ มีเนื้อหาเกี่ยวภารกิจของกองทัพไทยในการต่อสู้ปกป้องบ้านเมืองจากภัยคุกคาม แต่ภัยคุกคามภายนอก อันเกิดจากศัตรูนอกประเทศ
               แต่สำหรับ ภัยคุกคามที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน เป็นภัยคุกคามภายใน อันเกิดจากการกระทำของประชาชนในประเทศไทยด้วยกัน ที่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายออกเป็นกลุ่ม เป็นพวก เป็นสี ซึ่งมีความขัดแย้งทางความคิด ใช้กำลัง ใช้ความรุนแรงเข้าทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งการใช้อำนาจรัฐอย่างฉ้อฉลทางกฎหมาย อย่างฉ้อฉลทางการเมือง อันขัดต่อหลักนิติธรรม และหลักความเป็นธรรม  เพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ตลอดจนอาศัยอำนาจทางการเมืองในการทุจริตคอร์รัปชัน สูบทรัพยากรของชาติ สูบงบประมาณแผ่นดินไปเป็นของตนเองและพวกพ้อง
           2. ภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อได้ชมแล้ว ผู้ชมจะเกิดความรู้สึก "รักชาติ" เกิดความรู้สึกตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นชาติ ตระหนักถึงความสำคัญของความสามัคคีระหว่างคนไทยด้วยกัน
           3. ผู้ชมได้เรียนรู้และซึมซับเอาคุณค่าต่างๆ ไว้ได้ด้วยตนเองโดยอัติโนมัติ โดยไม่เกิดความรู้สึกถูกบังคับ หรือถูกยัดเยียด
           4. การเปิดให้ชมฟรี 1 รอบ เป็นยุทธวิธีที่ได้ผล เพราะสร้างกระแสความสนใจและความตื่นตัวได้ดี
           5. การที่ประชาชนจำนวนมากได้ชมสื่อภาพยนตร์เรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกัน ย่อมเกิดความรู้สึกร่วม เกิดทัศนคติร่วม อันนำไปสู่การเกิด "พลังแห่งมโนธรรมสำนึกร่วม" ของคนจำนวนมาก ในประเด็นความรักชาติ ความเทิดทูนชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
           6. ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ
           7. ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลและมีพลังในการปลุกจิตสำนึก
           8. ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลและมีพลังในการปลูกฝังค่านิยม
           9. หากผู้ปกครองผู้บริหารประเทศ คิดจะสร้างสื่อเพื่อสื่อสารกับประชาชนจำนวนมาก โดยการสร้างสื่อใหม่ขึ้นมาเอง เช่น สปอตโฆษณารณรงค์ความรักชาติ อาจไม่ได้ผลเท่ากับการใช้สื่อทีมีอยู่แล้วเช่นนี้ เพราะประชาชนมีโอกาสคิดว่าผู้สร้างมีส่วนได้เสีย มีส่วนเกี่ยวข้อง การสร้างสื่อย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง ประชาชนจะระวังตัวในการรับรู้ เกิดการป้องกันตนเอง ไม่ให้เชื่อตามโดยง่าย แต่การใช้สื่อที่บุคคลอื่นเป็นผู้สร้าง ย่อมได้ชื่อว่ามีความเป็นกลางมากกว่า ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมากกว่า ประชาชนเปิดใจรับสารมากกว่า ซึ่งตรงนี้เป็นยุทธวิธีที่สำคัญประการหนึ่ง
            10.ยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การได้รับรู้พลังการสนับสนุนของประชาชน ภาพยนตร์เป็นสื่อที่ผู้ชมต้องมีความตั้งใจไปชม เดินทางออกจากบ้าน มีความยากลำบากพอสมควร มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าตั๋วเข้าชมภาพยนตร์ ความตั้งใจของประชาชนนี่เอง แสดงออกถึง เจตจำนง (Will) ของประชาชนว่า ตนเองยินดี ตนเองพอใจ ตนเองเห็นด้วย ต่อแนวทางของผู้จัด นั่นคือ ทำให้ผู้จัดโครงการทราบว่า มีประชาชนในการสนับสนุนมากน้อยเพียงใด พูดให้ชัดคือ มีประชาชนที่สนับสนุนกองทัพและคณะผู้บริหารมากน้อยเพียงใด

                 จากการประเมินกระแสการตอบรับอย่างล้นหลาม ประเมินประชาชนจำนวนมากที่ขอรับบัตรเข้าชมภาพยนตร์ ย่อมเป็นเครื่องชี้วัดถึง "ความสำเร็จ" ของคณะผู้จัดโครงการนั่นคือ กองทัพ และ คณะผู้บริหาร

                  และหากเราเชื่อทฤษฎีเจตจำนงอิสระ (Free Will) เราย่อมเชื่อได้ว่า

                  "จำนวนผู้ชมมากมายมหาศาล" ที่มาชมภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคที่ 5 ตอนยุทธหัตถี" มีความหมายถึง "ความรัก" มีความหมายถึง "ความร่วมมือ" มีความหมายถึง "การให้การสนับสนุน" ต่อกองทัพและคณะผู้บริหารประเทศ ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวนี้มาจากจิตใจของประชาชนอันบริสุทธิ์ ปราศจากการครอบงำจากอิทธิพลใดๆ

                   อันเป็น "การแสดงเจตนารมณ์" ของประชาชนอย่างชัดแจ้งและเปิดเผย มากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

                   อันเป็น "การแสดงเจตนารมณ์ผ่านสื่อภาพยนตร์" ของประชาชนที่สื่อสารไปยังกองทัพและผู้นำการปกครองประเทศในขณะนี้

                   อันเป็น "การแสดงเจตนารมณ์ผ่านสื่อภาพยนตร์" ที่มีการนำมาใช้ในการสื่อสารกับประชาชนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย
                  
                  15 มิถุนายน 2557
                   12.59 น.  
....................
เนื้อข่าวจากไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 10.47 น.
ประชาชนแห่เข้าคิวรับตั๋วหนังฟรี ดู"พระนเรศวรฯ" ตามนโยบายคืนความสุขให้ประชาชนของ คสช. จนโรงหนังเกือบทุกพื้นที่หนาแน่นไปด้วยผู้คน บางคนมาตั้งแต่เช้า กลัวพลาดโอกาส...
เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. จากกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  มีนโยบายคืนความสุขให้ประชาชน โดยเปิดให้ชมภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยุทธหัตถี ภาค 5 ฟรี รอบเดียวในเวลา 11.00 น. วันนี้ิ จำนวน 160 โรงภาพยนต์ทั่วประเทศ ซึ่ง 1 คน มีสิทธิ์รับตั๋วหนังได้ 1 ใบนั้น
มีรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมาก เดินหน้าทางมายังหน้าโรงภาพยนตร์ที่เปิดให้ชมฟรี เพื่อเข้าคิวรับตั๋วจนแน่นขนัดทั่วประเทศ อาทิ หน้าเมเจอร์ รัชโยธิน และห้างเซ็นทรัลพระราม 3 เป็นต้น ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่คอยดูแลความเรียบร้อย ซึ่งบางคนมาตั้งแต่เวลา 07.00 น. ขณะที่โรงภาพยนตร์หลายแห่งต้องเพิ่มที่นั่งในโรงภาพยนตร์ เพื่อรองรับคนจำนวนมากที่เดินทางมาจนเต็มพื้นที่.
......................
เนื้อข่าวจากโพสต์ทูเดย์ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 18:47 น

คสช.คืนความสุขที่สยามพารากอนคสช.คืนความสุขให้คนในชาติที่ศูนย์การค้าสยามพารากอนจัดให้ชมหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวร รอบพิเศษ วันที่14มิ.ย.57เมื่อเวลา 17.00 น.ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานในการจัดกิจกรรม "คืนความสุขให้คนในชาติ" พร้อมจัดให้มีการชมภาพยนตร์รอบพิเศษเรื่อง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคที่ 5 ตอนยุทธหัตถี" เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกองทัพ ในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ลดความตึงเครียดจากสถานการณ์ทางการเมืองรวมทั้งปลุกจิตสำนึกให้เกิดความรักความสามัคคีและเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านการชมภาพยนตร์


โดยมี พ.ท.วันชนะ สวัสดี หรือผู้พันเบิร์ด ซึ่งรับบทเป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รวมทั้ง พ.อ.วินธัย สุวารี ทีมโฆษกคสช.ที่รับบทเป็นพระเอกาทศรถ พร้อมด้วยนักแสดงนำในภาพยนตร์เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง นอกจากนี้ยังมีเวทีกิจกรรมคืนความสุขให้คนในชาติ" บริเวณลานพาร์คพารากอน ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีจากวงดุริยางค์ทหารบกพร้อมการแสดงโชว์จากนักแสดงในเรื่องและจุดถ่ายรูปกับประชาชนที่มาร่วมงาน ส่วนกิจกรรม "คืนความสุขให้ประชาชน" ด้วยการชมภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชฟรีทั่วประเทศ ในวันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายนนี้ จะจัดให้มีการชมรอบเดียวทุกโรงภาพยนตร์ ในเวลา 11.00 น. โดยสามารถรับตั๋วชมภาพยนตร์ได้ที่หน้าโรงภาพยนตร์ ซึ่งกิจกรรมที่เกิดขึ้น เป็นความร่วมมือจากหม่อมเจ้าชาตรี เฉลิมยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์ รวมถึงเครือบริษัทสหมงคลฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนล และโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ ในการเข้าร่วมโครงการคืนความสุขให้ประชาชน โดยไม่ได้มีการจ่ายเงินค่าตั๋วหรือหักจากภาษีของประชาชนแต่อย่างใด
สำหรับกิจกรรม "คืนความสุขให้คนในชาติ" ที่จัดขึ้นในวันนี้ นอกจากจะมีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน อาทิ มโนราห์ ผีตาโขน และ ยังมีการแสดงของ 'สภาโจ๊ก' ซึ่งนำคนที่หน้าตาคล้ายนักการเมืองชื่อดัง อาทิ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. และคนอื่นๆ มาแสดงบนเวที และได้ร่วมกันจับมือแสดงความสมัครสมานสามัคคี เครดิตภาพ ทวิตเตอร์‏@Bell_Rakung


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค