รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..อำนาจทางทหาร อำนาจทางการเมือง..ความแตกต่างของความหมาย
..................................................................................................................
Meaning is always within context and contexts incorporate meaning
ความหมายมักจะซ่อนตัวอยู่ในบริบทเสมอ..ส่วนบริบทจะรวบรวมความหมายเอาไว้ภายในตัวเอง
....................................................................................................................
การตีความหมายปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นอยู่ในห้วงเวลานี้ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจ "บริบท" (contexts) ที่มีมาก่อนหน้านั้นและกำลังดำรงอยู่ในขณะนั้น
ปรากฏการณ์การใช้อำนาจทางทหารเข้าแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เพราะมีความแตกต่างจากการรัฐประหารหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา
...................................
ปรากฏการณ์ที่ชัดเจนและโดดเด่นอย่างยิ่งคือปัญหาความสงบเรียบร้อยในสังคม ได้แก่
- ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ
- ปัญหายาเสพติด
- ปัญหาอาชญากรรม อาวุธสงคราม บ่อนการพนัน
..................................
ปรากฏการณ์ที่แตกต่างและโดดเด่น คือ ปัญหาเศรษฐกิจ
- การแก้ไขปัญหาจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้ชาวนา
- การสร้างรถไฟรางคู่
- การบริหารจัดการน้ำ
- การแก้ปัญหาราคาพลังงาน
..................................
จุดที่น่าสังเกตคือ ทหารยังคงมีอำนาจและมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหา โดยมีคณะที่ปรึกษาด้านต่างๆ เป็นมันสมอง
ดูเหมือนการแก้ไขปัญหาสำคัญหลายอย่างกำลังดำเนินไปด้วยดี
.................................
อำนาจทางทหารที่มีอำนาจเต็มอยู่ในปัจจบันนี้ มิได้แตกต่างจากอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลพลเรือนที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ รัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นก็ "มีอำนาจเต็มและมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด" ไม่ต่างจากอำนาจทหารในตอนนี้ ทั้งอำนาจในฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และอำนาจในฝ่ายนิติบัญญัติที่มี ส.ส. ส่วนใหญ่ในสภาคอยสนับสนุน
.................................
แต่ทำไม..รัฐบาลพลเรือน จึงมีการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองอย่างจริงจัง ทั้งปัญหาความสงบเรียบร้อย ปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาเศรษฐกิจ นอกจากไม่มีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว กลับสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นอีก เช่น ปัญหาการค้างจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้ชาวนา ปัญหาการบริการจัดการน้ำงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ที่กำลังถูกคัดค้านต่อต้านจากประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะการสร้างฟลัดเวลย์ ปัญหาการทำโครงการ 2 ล้านล้านบาท
...............................
การมีอำนาจเต็มและการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..จึงมิได้หมายความว่า จะมีประสิทธิภาพ หรือไร้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองเสมอไป
การมีอำนาจเต็มและการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..อาจไร้ประสิทธิภาพก็ได้
การมีอำนาจเต็มและการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..อาจมากด้วยประสิทธิภาพก็ได้
...............................
หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการบริหารบ้านเมืองด้วยอำนาจทางทหารอยู่ในขณะนี้ กับการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลพลเรือนในยุคสมัยต่างๆ..จะเห็นได้ว่า การที่จะสามารถหรือไม่สามารถบริหารบ้านเมืองและแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 4 ประการคือ
1. เงื่อนไขด้านการบริหารและประสานผลประโยชน์ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องเผชิญกับเงื่อนไขทางการเมืองของพรรคการเมืองที่เป็นหลักในการจัดตั้งรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาล ที่ใช้เงินลงทุนเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง และมีความคิดที่จะถอนทุนคืน รวมทั้งสะสมทุนใหม่เพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป
2. เงื่อนไขเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมือง นักการเมืองเคยชินกับการได้มาซึ่งอำนาจ การใช้อำนาจ และการบริหารอำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง
3. เงื่อนไขการครองใจประชาชนที่เป็นฐานเสียง เพื่อการยึดครองความนิยมในหมู่ประชาชน พรรคการเมืองจึงต้องอาศัยนโยบายเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความนิยม นโยบายที่ขายได้ และบริโภคง่าย คือ นโยบายประชานิยม ซึ่งสร้างประโยชน์ให้ประชาชนส่วนหนึ่ง และสรา้งประโยชน์ให้แก่พรรคการเมืองส่วนหนึ่ง
4. เงื่อนไขการรักษาอำนาจที่ได้มา เพื่อให้อำนาจรัฐที่ได้มาคงอยู่กับพรรคการเมืองของตนยาวนานที่สุด พรรคการเมืองจึงต้องประสานประโยชน์กับกลุ่มอำนาจ กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มผลประโยชน์ ในการรักษาอำนาจดังกล่าว พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล จำเป็นให้ความช่วยเหลือโดยใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่ในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
- แบ่งอำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ในแหล่งผลประโยชน์ต่างๆ เช่น บ่อนการพนัน ตู้ม้า สถานบันเทิง
- ละเว้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในบางเรื่อง
- เกื่อหนุนการดำเนินธุรกิจของเอกชนด้วยการออกนโยบายทางการเมืองที่สอดคล้องและสนับสนุน เช่น นโยบาย 2 สูง
บางทีเงื่อนไขปัจจัยดังกล่าว..อาจเป็นเหตุผลให้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะที่การบริหารบ้านเมืองโดยการใช้อำนาจทางทหาร..อาจไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยดังกล่าว จึงทำให้การแก้ไขปัญหาของชาติกำลังดำเนินไปด้วยดีในขณะนี้..นี่คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เบื้องหน้า ในห้วงเวลานี้
3 มิถุนายน 2557
11.01 น.
..................................................................................................................
Meaning is always within context and contexts incorporate meaning
ความหมายมักจะซ่อนตัวอยู่ในบริบทเสมอ..ส่วนบริบทจะรวบรวมความหมายเอาไว้ภายในตัวเอง
....................................................................................................................
การตีความหมายปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นอยู่ในห้วงเวลานี้ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจ "บริบท" (contexts) ที่มีมาก่อนหน้านั้นและกำลังดำรงอยู่ในขณะนั้น
ปรากฏการณ์การใช้อำนาจทางทหารเข้าแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เพราะมีความแตกต่างจากการรัฐประหารหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา
...................................
ปรากฏการณ์ที่ชัดเจนและโดดเด่นอย่างยิ่งคือปัญหาความสงบเรียบร้อยในสังคม ได้แก่
- ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ
- ปัญหายาเสพติด
- ปัญหาอาชญากรรม อาวุธสงคราม บ่อนการพนัน
..................................
ปรากฏการณ์ที่แตกต่างและโดดเด่น คือ ปัญหาเศรษฐกิจ
- การแก้ไขปัญหาจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้ชาวนา
- การสร้างรถไฟรางคู่
- การบริหารจัดการน้ำ
- การแก้ปัญหาราคาพลังงาน
..................................
จุดที่น่าสังเกตคือ ทหารยังคงมีอำนาจและมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหา โดยมีคณะที่ปรึกษาด้านต่างๆ เป็นมันสมอง
ดูเหมือนการแก้ไขปัญหาสำคัญหลายอย่างกำลังดำเนินไปด้วยดี
.................................
อำนาจทางทหารที่มีอำนาจเต็มอยู่ในปัจจบันนี้ มิได้แตกต่างจากอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลพลเรือนที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ รัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นก็ "มีอำนาจเต็มและมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด" ไม่ต่างจากอำนาจทหารในตอนนี้ ทั้งอำนาจในฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และอำนาจในฝ่ายนิติบัญญัติที่มี ส.ส. ส่วนใหญ่ในสภาคอยสนับสนุน
.................................
แต่ทำไม..รัฐบาลพลเรือน จึงมีการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองอย่างจริงจัง ทั้งปัญหาความสงบเรียบร้อย ปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาเศรษฐกิจ นอกจากไม่มีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว กลับสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นอีก เช่น ปัญหาการค้างจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้ชาวนา ปัญหาการบริการจัดการน้ำงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ที่กำลังถูกคัดค้านต่อต้านจากประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะการสร้างฟลัดเวลย์ ปัญหาการทำโครงการ 2 ล้านล้านบาท
...............................
การมีอำนาจเต็มและการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..จึงมิได้หมายความว่า จะมีประสิทธิภาพ หรือไร้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองเสมอไป
การมีอำนาจเต็มและการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..อาจไร้ประสิทธิภาพก็ได้
การมีอำนาจเต็มและการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..อาจมากด้วยประสิทธิภาพก็ได้
...............................
หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการบริหารบ้านเมืองด้วยอำนาจทางทหารอยู่ในขณะนี้ กับการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลพลเรือนในยุคสมัยต่างๆ..จะเห็นได้ว่า การที่จะสามารถหรือไม่สามารถบริหารบ้านเมืองและแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 4 ประการคือ
1. เงื่อนไขด้านการบริหารและประสานผลประโยชน์ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องเผชิญกับเงื่อนไขทางการเมืองของพรรคการเมืองที่เป็นหลักในการจัดตั้งรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาล ที่ใช้เงินลงทุนเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง และมีความคิดที่จะถอนทุนคืน รวมทั้งสะสมทุนใหม่เพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป
2. เงื่อนไขเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมือง นักการเมืองเคยชินกับการได้มาซึ่งอำนาจ การใช้อำนาจ และการบริหารอำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง
3. เงื่อนไขการครองใจประชาชนที่เป็นฐานเสียง เพื่อการยึดครองความนิยมในหมู่ประชาชน พรรคการเมืองจึงต้องอาศัยนโยบายเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความนิยม นโยบายที่ขายได้ และบริโภคง่าย คือ นโยบายประชานิยม ซึ่งสร้างประโยชน์ให้ประชาชนส่วนหนึ่ง และสรา้งประโยชน์ให้แก่พรรคการเมืองส่วนหนึ่ง
4. เงื่อนไขการรักษาอำนาจที่ได้มา เพื่อให้อำนาจรัฐที่ได้มาคงอยู่กับพรรคการเมืองของตนยาวนานที่สุด พรรคการเมืองจึงต้องประสานประโยชน์กับกลุ่มอำนาจ กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มผลประโยชน์ ในการรักษาอำนาจดังกล่าว พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล จำเป็นให้ความช่วยเหลือโดยใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่ในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
- แบ่งอำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ในแหล่งผลประโยชน์ต่างๆ เช่น บ่อนการพนัน ตู้ม้า สถานบันเทิง
- ละเว้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในบางเรื่อง
- เกื่อหนุนการดำเนินธุรกิจของเอกชนด้วยการออกนโยบายทางการเมืองที่สอดคล้องและสนับสนุน เช่น นโยบาย 2 สูง
บางทีเงื่อนไขปัจจัยดังกล่าว..อาจเป็นเหตุผลให้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะที่การบริหารบ้านเมืองโดยการใช้อำนาจทางทหาร..อาจไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยดังกล่าว จึงทำให้การแก้ไขปัญหาของชาติกำลังดำเนินไปด้วยดีในขณะนี้..นี่คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เบื้องหน้า ในห้วงเวลานี้
3 มิถุนายน 2557
11.01 น.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น