ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสื่อสารเพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น


การสื่อสารเพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
27 พฤษภาคม 2557

ความหมายของการมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วม หมายถึง กระบวนการที่ให้บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าไปมีอำนาจและเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน กระบวนการตัดสินใจ การใช้ทรัพยากร การดำเนินการตามกระบวนการ การบริหารจัดการ การควบคุม การประเมินผล การร่วมรับผิดชอบ การได้รับการแบ่งปันประโยชน์ และการได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการ ในแผนงาน โครงการ และกิจกรรมใด ๆ อันเกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อบุคคลมีส่วนได้ส่วนเสีย นั้น (ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน http://nattawatt.blogspot.com/2014/06/blog-post_166.html)

กระบวนการมีส่วนร่วม
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ คือ

ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุของปัญหา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินงาน นับตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือ การค้นหาสาเหตุของปัญหา

กระบวนการในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการสื่อสาร (communication) และเทคโนโลยีการสื่อสาร (communication technology) เป็นเครื่องมือในการทำงาน (tools) โดยการสื่อสารเพื่อการค้นหาหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผลข้อมูล รวมรวมข้อมูล แสดงข้อมูล นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา (problems) และสาเหตุของปัญหา (causes)


ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน

ในด้านการสื่อสารต้องให้ต้องให้เจ้าหน้าที่ พนักงาน และประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ กิจกรรมการปฏิบัติ แผนการปฏิบัติ ในการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อน ผลักดัน กระตุ้นเร้า ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาในท้องถิ่น


ขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมในการลงทุนและการปฏิบัติงาน ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุน การลงทุนมิได้หมายความว่าต้องลงเป็นเงินเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการลงแรง การลงทรัพยากร วัตถุดิบ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ แม้กระทั่งการมีส่วนร่วมด้วยการใช้ความรู้ ใช้ประสบการณ์ ใช้ความชำนาญของตนเอง การมีส่วนร่วมยังต้องให้เจ้าหน้าที่ พนักงาน และประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน โดยมีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามความเหมาะสม

ในด้านการสื่อสารต้องให้ต้องให้เจ้าหน้าที่ พนักงาน และประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร ดังนี้คือ
 1.การกำหนดกลยุทธ์และวิธีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการสร้างกล
ยุทธ์การสื่อสาร เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผู้รับสารและผู้มีส่วนร่วม ในประเด็นต่อไปนี้
(1) การสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจ (Awareness)
(2) การสร้างความสนใจ (Interesting)
(3) การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Change attitude)
(4) การสร้างการยอมรับ (Acceptance)
(5) การสร้างความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
(6) การสร้างเสริมแรงจูงใจ (Reinforcement)
(7) การกระตุ้นเร้าพฤติกรรม (Change behavior)
(8) การสร้างความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียว (Solidarity)
(9) การสร้างความผูกพัน (Engagement)
(10) การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Sense of ownership)
(11) การสร้างความภาคภูมิใจ (Self-esteem)
(12) การเสริมพลัง (Empowerment)

2. การกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านการสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดยมีการมอบหมายบทบาทหน้าที่ในการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความสนใจ ความชอบ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งเจ้าหน้าที่ พนักงาน และประชาชน ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1) การเป็นผู้สร้างสรรค์ (creative man) การเป็นคนเขียนเนื้อเรื่อง การเป็นคนเขียนบท
2) การเป็นผู้นำเสนอ (presenter) การเป็นผู้พูด ผู้นำเสนอ ผู้สาธิต การเป็นผู้นำในการสื่อสาร การเป็นผู้แสดงความคิดเห็น
3) การเป็นผู้ผลิต (producer) บันทึกภาพ บันทึกเสียง ถ่ายทำ ตัดต่อ
4) การเป็นนักสื่อสาร (communicators) ในบทบาทและวาระโอกาสต่าง ๆ เช่น การเป็นผู้เจรจาต่อรอง การเป็นผู้ไกล่เกลี่ย การเป็นผู้ประนีประนอม
5) การเป็นนักประชาสัมพันธ์ (PR practioner) ในบทบาทและวาระโอกาสต่าง ๆ เช่น การเป็นผู้เจรจาต่อรอง การเป็นผู้ไกล่เกลี่ย การเป็นผู้ประนีประนอม
6) การเป็นนักจัดการ (manager) เช่น นักวางแผน นักจัดหางบประมาณ นักออกแบบ ควบคุม ติดตาม แก้ไขปัญหา สนับสนุน อำนวยความสะดวก ในการสื่อสาร

3. กลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วม
1) สร้างสื่อ (media)
2) สร้างพื้นที่สาธารณะ (public sphere)
3) เปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นและใช้ประโยชน์จากสื่อและพื้นที่สาธารณะ (media utilization)
4) ใช้พลังของเครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ (Social Network)

5) สร้างบทบาท (Role) ให้แก่สมาชิก รับผิดชอบในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง

ขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผลงาน ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผลงาน
ในด้านการสื่อสารต้องให้ต้องให้เจ้าหน้าที่ พนักงาน และประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามผลการสื่อสาร ประเมินผลการสื่อสาร โดยพิจารณา
1. ผลลัพธ์ (outputs) ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการสื่อสาร
2. ผลผลิต (outcomes) ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการสื่อสาร
3. ผลกระทบ (impacts) ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการสื่อสาร
4. ผลสืบเนื่อง (consequences) เกิดขึ้นหลังจากมีการสื่อสาร
                     โดยนำมาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่กำหนดไว้ พิจารณาว่าผลการดำเนินงานสามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสารมากน้อยเพียงใด


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค