ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..การต่อสู้ด้วยอาวุธกับการต่อสู้ด้วยการสื่อสาร

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..การต่อสู้ด้วยอาวุธกับการต่อสู้ด้วยการสื่อสาร

ครั้นเมื่อทหารทำรัฐประหาร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

ผู้คนในประเทศอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้กระทำรัฐประหาร

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้เห็นด้วยกับการรัฐประหาร

กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร

มาพิจารณาดูกันทีละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ไม่มีปัญหาเพราะเป็นผู้ลงมือกระทำการ ย่อมเกิดจากเจตนาและความตั้งใจ จึงเกิดความพอใจ

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร แต่เนื่องจากมีความเห็นด้วย จึงเกิดความพึงพอใจ ไม่มีการต่อต้่าน ตรงกันข้ามมีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับคณะ คสช.

กลุ่มที่ 3  เป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร แต่เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร จึงเกิดความรู้สึกคัดค้าน ต่อต้าน จนไปถึงการแสดงออกซึ่งการคัดค้านต่อต้านด้วยวิธีการต่าง

กลุ่มที่ 1 ผู้ทำรัฐประหารเป็น "ทหาร"

ทหารใช้อาวุธทางกายภาพ (physical weapon) 

อาวุธทางกายภาพนั้นมีเหนือกว่าหลายร้อยเท่า ทหาร 420,000 นาย อาวุธหนัก รถถัง รถฮัมวี่ เครื่องบินรบ F16 ปืนใหญ่ 155 ม.ม.ปืนเอ็ม 16 ปืนทราโว่

การต่อสู้ด้วยกำลังจึงเป็นการพ้นวิสัยอย่างเห็นได้ชัด

การต่อสู้ด้วยการสื่อสาร จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่ฝ่ายต้านรัฐประหารเลือกใช้

กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน ไม่มีอาวุธ ไม่มีกองกำลังในมือ จึงยากที่จะหากำลังอำนาจการสู้รบทางกายภาพไปต่อกรกับทหาร ฝ่ายต่อต้านรัฐประหารจึงเลือกใช้อาวุธทางนามธรรม (abstract weapon) นั่นคือ การต่อสู้ผ่านการสื่อสารเชิงสัญญะ

สื่อสารกับ-คนไทยที่มีความคิดแบบเดียวกันในประเทศไทย 

สื่อสารกับ-คนไทยที่มีความคิดแบบเดียวกันในต่างประเทศ

สื่อสารกับ-คนที่มีความคิดแบบเดียวกันในประเทศไทย

สื่อสารกับ-ผู้มีอำนาจในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย

สื่อสารกับ-สื่อมวลชนต่างประเทศ CNN BBC และ อัลจาซีรา

เพื่อสร้างความชอบธรรม
เพื่อสร้างแนวร่วมทางอุดมการณ์
เพื่อสร้างการสนับสนุนจากผู้เห็นพ้อง

นั่นเป็นความชาญฉลาดในการต่อสู้

แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ..นี่เป็นการคัดเลือกเฉพาะบางประเด็น (selected topic) มาต่อสู้เท่านั้น

เป็นการต่อสู้เชิงรูปแบบ (form) ของประชาธิปไตย โดยมิได้พูดถึงเนื้อหา (content) ของประชาธิปไตย ที่ต้องพิจารณาถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตยบนพื้นฐานความเป็นจริงที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในประเทศของตนเองเป็นสำคัญ

25 พฤษภาคม 2557
13.09 น.
cr ภาพจากเพจห้องข่าวฉุกเฉิน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค