ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เราาจะศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และการสื่อสารให้เป็นเลิศได้อย่างไร

เราจะศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และการสื่อสารให้เป็นเลิศได้อย่างไร

มีคนเคยถามอาจารย์ว่า ผม/ดิฉัน/หนู จะเป็นอะไรดี จะศึกษาเชิงลึกเรื่องอะไรเพื่อให้เกิดความเก่งในเรื่องอะไร เช่น ครีเอทีฟ นักผลิตสื่อ นักข่าว นักเขียนบท นักแสดง นักสื่อสารสุขภาพ นักสื่อสารเพลงและดนตรี นักสื่อสารทางทีวี นักสื่อสารกับชุมชน นักสื่อสารการเกษตร นักสื่อสารเพื่อการพัฒนา นักสื่อสารการตลาด ฯลฯ 

คำถามมาจากบุคคลหลากหลายอาชีพแตกต่างด้วยเพศ อายุ อาชีพประสบการณ์ รสนิยม 

เชื่อมั๊ยว่า คำตอบสำหรับทุกคนกลับมีเพียงคำตอบเดียว และเป็นคำตอบที่เหมือนกันคือ คือ "เป็นตัวของตัวเอง เป็นอย่างที่ตัวเองเป็น" นั่นแหละดีที่สุด

ไม่ใช่คำตอบกวนอารมณ์ แต่มีความหมาย นั้นคือ นักศึกษาแต่ละคน จบปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงาน มีความชำนาญ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้น ทุกคนจึงมี "ความเป็นตัวเอง" เป็นต้นทุนติดตัวมากันทุกคน

ต้นทุนที่ว่านี้แบ่งออกเป็น 2 มิติคือ
-มิติการทำงาน (เราทำงานอะไร)
-มิติความเชี่ยวชาญ (เราเชี่ยวชาญเรื่องใด)

การศึกษาปริญญาโท จึงมีคำแนะนำดังนี้
1. เราควรมองตนเองว่า ณ ปัจจุบัน เรา "เป็นอะไร" 
2. เราควรตั้งฐานการศึกษาจากต้นทุน สองประการที่กล่าวข้างต้น ดังนั้น เราจึงได้แนวทางในการศึกษา (approach) 2 แนวทางคือ

แนวทางที่หนึ่ง การศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับงานที่ทำ (problem based) งานที่ทำมีปัญหาอะไร จะแก้ปัญหาด้วยการสื่อสารอย่างไร จะพัฒนางานด้วยการสื่อสารอย่างไร นอกจากนี้ในการทำงานเราย่อมมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของเรา (experience-based) ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอาจเป็นเรื่องเดียวกันกับงานที่ทำ หรือเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานที่ทำก็ได้ เช่น เป็นนักข่าว แต่มีความเชี่ยวชาญในการทำอาหาร เรายังสามารถศึกษาจากความเชี่ยวชาญของเราได้

แนวทางที่สอง การศึกษาตามประเด็น (Issue-based) มนุษย์ทุกคนต่างมีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และความสนใจ เผ็นของตนเองBe yourself
มีคนเคยถามอาจารย์ว่า ผม/ดิฉัน/หนู จะเป็นอะไรดี จะศึกษาเชิงลึกเรื่องอะไรเพื่อให้เกิดความเก่งในเรื่องอะไร เช่น ครีเอทีฟ นักผลิตสื่อ นักข่าว นักเขียนบท นักแสดง นักสื่อสารสุขภาพ นักสื่อสารเพลงและดนตรี นักสื่อสารทางทีวี นักสื่อสารกับชุมชน นักสื่อสารการเกษตร นักสื่อสารเพื่อการพัฒนา นักสื่อสารการตลาด ฯลฯ 

คำถามมาจากบุคคลหลากหลายอาชีพแตกต่างด้วยเพศ อายุ อาชีพประสบการณ์ รสนิยม 

เชื่อมั๊ยว่า คำตอบสำหรับทุกคนกลับมีเพียงคำตอบเดียว และเป็นคำตอบที่เหมือนกันคือ คือ "เป็นตัวของตัวเอง เป็นอย่างที่ตัวเองเป็น" นั่นแหละดีที่สุด

ไม่ใช่คำตอบกวนอารมณ์ แต่มีความหมาย นั้นคือ นักศึกษาแต่ละคน จบปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงาน มีความชำนาญ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้น ทุกคนจึงมี "ความเป็นตัวเอง" เป็นต้นทุนติดตัวมากันทุกคน

ต้นทุนที่ว่านี้แบ่งออกเป็น 2 มิติคือ
-มิติการทำงาน (เราทำงานอะไร)
-มิติความเชี่ยวชาญ (เราเชี่ยวชาญเรื่องใด)

การศึกษาปริญญาโทนิเทศศาสตร์ จึงมีคำแนะนำดังนี้
1. เราควรมองตนเองว่า ณ ปัจจุบัน เรา "เป็นอะไร"

2. เราควรตั้งฐานการศึกษาจากต้นทุน สองประการที่กล่าวข้างต้น ดังนั้น เราจึงได้แนวทางในการศึกษา (approach) 2 แนวทางคือ

แนวทางที่หนึ่ง การศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับงานที่ทำ (problem based) งานที่ทำมีปัญหาอะไร จะแก้ปัญหาด้วยการสื่อสารอย่างไร จะพัฒนางานด้วยการสื่อสารอย่างไร นอกจากนี้ในการทำงานเราย่อมมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของเรา (experience-based) ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอาจเป็นเรื่องเดียวกันกับงานที่ทำ หรือเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานที่ทำก็ได้ เช่น เป็นนักข่าว แต่มีความเชี่ยวชาญในการทำอาหาร เรายังสามารถศึกษาจากความเชี่ยวชาญของเราได้

แนวทางที่สอง การศึกษาตามประเด็น (Issue-based) มนุษย์ทุกคนต่างมีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม วิสัยทัศน์ มุมมองที่มีต่อโลก แตกต่างกันไป สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความสนใจใน "ประเด็น" แตกต่างกัน บางคนเป็นหมออาจสนใจประเด็นปัญหาชาวนา บางคนเป็นพยาบาลแต่สนใจประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ บางคนเป็นดารากลับสนใจปัญหาเด็กด้อยโอกาส บางคนเป็นนักการเงินแต่กลับสนใจประเด็นปัญหาวัฒนธรรม การศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์และการสื่อสาร เราสามารถศึกษาจากประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ โดยอาศัยมุมมองด้านการสื่อสาร

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "การเป็นตัวเอง" ทำตามความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของตัวเอง หรือทำตามความสนใจของตนเอง นั่นแหละจะดีที่สุด ทั้งมีความสุข มีความเก่ง มีความเป็นเลิศ และมีโอกาสประสบความสำเร็จ ยิ่งกว่าการเป็นคนอื่น หรือเป็นเหมือนคนอื่น

Be yourself

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
25 สิงหาคม 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค