ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คุณรู้จักใคร-ใครรู้จักคุณ

การสร้างความสำเร็จของมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21 อาศัยเคล็ดลับสองประการคือ คุณรู้จักใคร กับ ใครรู้จักคุณ

นี่ไม่ใช่คำคม !! แต่มันเป็น หลักการ !! มันเป็น เคล็ดลับของความสำเร็จ เศรษฐี ผู้ร่ำรวย ผู้ทรงอิทธิพล รู้และใช้มันอยู่ แต่เขาไม่เที่ยวมาบอกใคร ๆ เท่านั้น

"คุณรู้จักใคร" หมายถึง คุณต้องรู้จักบุคคลที่จะดลบันดาลความสำเร็จให้คุณ ทุกคน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คุณต้องสร้างพลัง สร้างขีดความสามารถ สร้างความร่วมมือ สรัางความสัมพันธ์ สร้างความรู้สึกพึงพอใจให้มากที่สุด ได้แก่

1. ลูกค้า (customers) ผู้บริโภค ผู้ซื้อ ผู้ใช้บริการ ผู้ที่จะทำให้คุณมีเงิน มีรายได้ มีผลกำไร ได้รับประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง

2. พนักงานและผู้สนับสนุน (team) ทีมงาน เพื่อนร่วมงาน และพนักงานของคุณ คือคนสำคัญที่สุดที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างให้มันเกิดขึ้นตามความคิดของคุณ ผู้สนับสนุน

3. บุคคลในห่วงโซ๋งาน (supply chain) เช่น ผู้ออกแบบระบบไอที ผู้จัดหาวัสดุ ผู้จัดหาบรรจุภัณฑ์ ผู้ขนส่ง
4. ผู้เชี่ยวชาญ (experts) ยุคสมัยนี้สังคมแยกย่อยแตกแขนงมากขึ้น ผู้คนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม บัญชี การเงิน ลอจิสติกส์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีการสื่อสาร นักปราชญ์ นักจิตวิทยา นักวิเคราะห์ระบบ นักสร้างวิธีการแก้ปัญหา นักกฎหมาย นักภาษี เพราะคุณไม่รู้ทุกเรื่อง เพราะคุณไม่เก่งทุกเรื่อง การทำธุรกิจของคุณจึงต้องมีที่ปรึกษา

5. ผู้มีอำนาจ (authorize) บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่มีอำนาจควบคุม ตรวจสอบ สั่งการ บังคับ เอื้ออำนวย สนับสนุน ส่งเสริม ผลักดันให้งานของคุณสำเร็จ

ข้อ 4 ข้อ 5 เป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันมาตั้งแต่อดีต ที่เราเรียกว่า สายสัมพันธ์ หรือ คอนเน็กชั่น (connection) คนในวงการทหาร ตำรวจ นักการเมือง นักธุรกิจ ต่างเข้าใจถึงความสำคัญของคอนเน็กชั่นเป็นอบ่างดี

"ใครรู้จักคุณ" การทำธุรกิจ การประกอบกิจการ การทำงานในยุคสมัยนี้ ต้องอาศัยฐานจำนวนบุคคลผู้ที่รู้จักคุณ เพื่อให้บุคคลที่รู้จักคุณ รู้จักสินค้า บริการ สิ่งที่คุณต้องการนำเสนอ ยิ่งคุณมีผู้ที่รู้จักคุณมาก คุณยิ่งสามารถเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก คุณยิ่งสามารถส่งสารไปยังบุคคลจำนวนมากได้ ตัวคุณจะมีฐานะกลายเป็น "สื่อ" ที่สำคัญมาก

คุณลองคิดถึง ยอดวิวยูทูบ นักร้องชื่อไซ ผู้เต้นท่าเต้นกังนัมสไตล์ มียอดวิว 2,815,401,225 (สองพันแปดร้อยสิบห้าล้านสี่แสนหนึ่งพันสองร้อยยี่สิบห้า) วิว (ข้อมูลจากเว็บไซต์ YouTube.com วันที่ 19 เมษายน 2560)

ยอดวิวยูทูบเพลงประกอบละครเรื่อง นาคี ที่ขับร้องโดยก้อง ห้วยไร่ ยอดวิว 290,654,331 (สองร้อยเก้าสิบล้านหกแสนห้าหมื่นสี่พันสามร้อยสามสิบเอ็ด) วิว (ข้อมูลจากเว็บไซต์ YouTube.com วันที่ 19 เมษายน 2560)

การมีคนรู้จักคุณมากไม่ได้จบลงแค่การรู้จัก แต่มันยังเป็นการสร้างสิ่งสำคัญ 8 สิ่ง ได้แก่
1. ฐานนิยม
2. ความนิยม
3. ความเชื่อถือ
4. ความชื่นชมประทับใจ
5. อิทธิพลต่อการตัดสินใจของบุคคลอื่น
6. อำนาจในการควบคุมบางสิ่งบางอย่าง
7. อำนาจในการต่อรองบางสิ่งบางอย่าง
8. โอกาสในการสร้างธุรกิจ การเสนอขายสินค้า การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร

คุณลองคิดดูว่าถ้า YouTube แบ่งงรายได้ให้กับเจ้าของ content วิวละ 10 สตางค์ มันจะเป็นเงินเท่าไหร่?

ยุคศตวรรษที่ 21 คำว่า "ใครรู้จักคุณ" กลายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความสำเร็จ

ด้วยพลังอำนาจของเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิทัลและการสื่อสารออนไลน์ ใคร ๆ ก็สามารถทำให้ "ใครรู้จักคุณ" ได้ ไม่ได้ผูกขาดอยู่กับคนที่อายุมาก มีการศึกษาสูง มีประสบการณ์มากอีก่อไป และที่สำคัญไม่ได้ผูกขาดอยู่กับกลุ่มคนจำนวนเล็ก ๆ ที่เคยเป็นเจ้าของสื่อ ครอบครองสื่อ มีอิทธิพลทางการสื่อสารเหมือนที่เคบเป็นมาอีกต่อไป ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ ผู้ผลิตสื่อ ที่สังกัดสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 5 7 9 11 ThaiPBS อีกต่อไป ไม่ต้องเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมใด ๆ

เด็กอายุ 15 ปี ที่มีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ มีหัวคิด มีความรู้และทักษะเบื้องต้นในการใช้สื่อดิจิทัลและสื่ออนไลน์ กล้าคิด กล้าลงมือทำ ไม่กลัวการเสี่ยง สามารถผลิต content เองได้ ตามใจปรารถนา ด้วยความเป็นอิสระ ต่างก็ประสบความสำเร็จได้ แจ้งเกิดได้ ทำให้คนทั้งประเทศรู้จักได้เป็นจำนวนมาก โดยอาศัย YouTube Channel, Facebook, Facebook Live, LINE, Instagram

ลองดูตัวอย่างผลงานและความสำเร็จของเด็กไทยคนรุ่นใหม่ เช่น พี่แป้ง แห่ง Z-Bing-Z Channel ยอดผู้ติดตาม 3,166,954 คน พี่ซอฟท์แห่ง SoftPomz Channel ยอดผู้ติดตาม 1,579,765 คน

หัวใจของการผลิต contents ให้ประสบความสำเร็จ มี 8 ประการ คือ
1. สนุก
2. ตลก
3. ง่าย
4. รู้สึกเป็นมิตร
5. สไตล์การนำเสนอ
6. บุคลิกภาพประทับใจ
7. ความต่อเนื่องในการผลิตและเผยแพร่
8. คอนเทนต์ทันสมัย ไวต่อสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนว่องไว


ถ้าจำเป็นต้องเลือกเพียงอย่างเดียวระหว่าง "คุณรู็จักใคร" กับ "ใครรู้จักคุณ" ตอบได้ทันทีว่าสำหรับยุคสมัยศตวรษที่ 21 และยุคการสื่อสารดิจิทัลนี้ต้องเลือก "ใครรู้จักคุณ" มาก่อน เพราะมันคือ หัวใจของความสำเร็จ !!

คุณรู้จักใคร-ใครรู้จักคุณ ไม่ใช่ "คำคม" แต่มันเป็น "หลักการ" มันเป็น "กลยุทธ์" และมันเป็น "เคล็ดลับของความสำเร็จ" ของคนในยุคศตวรรษที่ 21 และยุคการสื่อสารดิจิทัล

รศ.ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
19 เมษายน 2560

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค