ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หน้าที่ของการสื่อสารทางการเมือง (Political Communication Functions)

หน้าที่ของการสื่อสารทางการเมือง (Political Communication Functions) นอกเหนือจากการทำหน้าที่ของการสื่อสารโดยทั่วไปแล้ว การสื่อสารทางการเมืองยังมีหน้าที่เฉพาะเจาะจง 10 ประการ ดังนี้
..
1. เพื่อยกย่องสรรเสริญและเชียร์ (Acclaiming) บุคคล องค์กร นโยบาย แนวคิด มาตรการ ผลงาน
2. เพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม (Attacking) หยิบยกประเด็นมาโจมตีฝ่ายตรงข้าม เลือกจุดอ่อนมาโจมตี เลือกจุดที่ประชาชนเห็นว่าสำคัญมาโจมตี ใช้ปฏิบัติการ IO: Information Operations
3. เพื่อป้องกันตัว (Defending) ป้องกันตัวจากฝ่ายพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม กลุ่มตรงข้าม องค์กรฝ่ายตรงข้าม ผู้ไม่หวังดี หรือบางทีผู้หวังดีแต่เข้าใจผิด โดยใช้วิธีการต่อไปนี้
3.1 การป้องกันโดยการโต้กลับ (counterattack)
3.2 การป้องกันโดยการเบี่ยงประเด็น (avoidance) โดยการหันเหความสนใจออกไปเสียจากประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่กำลังถูกโจมตี
3.3 การป้องกันโดยการชี้แจงให้เข้าใจ (explain) ประเด็นที่ประชาชนสับสน เข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น การนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐ การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำเพื่อทำการเกษตร การขึ้นภาษี Vat เป็น 9% การแจกบัตรคนจน
4. เพื่อโยนหินถามทาง (Test the water) เพื่อทดสอบว่าผู้คนคิดอย่างไร หากจะมีการทำเรื่องนั้นขึ้นมาจริง ๆ
5. เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ชวนให้ชอบ ชวนให้เชียร์ ชวนให้สนับสนุน โดยมีทิศทางที่ต้องการให้เป็นไปแบบนั้นอย่างชัดเจน โดยใช้วิธีการทุกรูปแบบเพื่อให้บังเกิดผล
6. เพื่อให้ร่วมมือและทำตาม (Cooperation) โดยการสร้างความเข้าใจ (understanding) ความพึงพอใจ (satisfaction) การยอมรับ (accept) ในแนวคิด นโยบาย แนวทาง มาตรการ อย่างใดอย่างหนึ่งร่วมมือในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ลงทะเบียนคนจน เลิกปลูกข้าวหรือลดพื้นที่ปลูกข้าว หันไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น ข้าวโพด
7. เพื่อให้การสนับสนุน (Support) เช่น บริจาคเงินเข้าพรรคการเมือง ช่วยหาเสีียง
8. เพื่อสร้างความนิยม (Popularity) เพื่อให้ประชาชนเกิดความนิยม ศรัทธา ในบุคคล พรรคการเมือง องค์กรทางการเมือง รัฐบาล
9. เพื่อให้ใช้สิทธิเลือกฝ่ายตนเอง (Vote) เพื่อให้ตัดสินใจลงคะแนน เลือกฝ่ายตนเอง
10. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ (Image building) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านต่าง ๆ เช่น ความน่าเชื่อถือ ความทันสมัย ความไวต่อสถานการณ์ ความชาญฉลาดในการปฏิบัติ
..
ผมกำลังเขียนตำรา "ทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง" ว่าด้วย ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร ผลของการสื่อสาร และกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง สำหรับหลักสูตรปริญญาโทนิเทศศาสตร์ สาขาการสื่อสารทางการเมือง
..
ท่านที่สนใจติดตามอ่านได้ในอนาคตอันใกล้ ในเอกสารการสอนชุดวิชา ทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
..
ถ้าสนใจมากกว่านั้น สมัครเข้ามาเรียนปริญญาโทสื่อสารทางการเมือง ได้ทันที ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ


9 ตุลาคม 2560
20 เมษายน 2560

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค