ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พลังการสื่อสารของผู้นำประเทศ

พลังการสื่อสารของผู้นำ
..........................
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมพ์ ปราศัยในพิธีลงนามในร่างกฎหมายงบประมาณทางทหารปี 2019 วันนี้ที่ Fort Drum, New York เวลาในไทยประมาณ 2.00 น. มีสิ่งสำคัญคือ

1. เนื้อหาสาระสำคัญ
ความสำคัญของร่างกฎหมายงบประมาณทางทหาร ใช้เงินเท่าไหร่ จะเอาไปทำอะไร
(1) ปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ เรือรบ รถถัง เฮลิคอปเตอร์ แบลกฮอค ที่มีอายุการใช้งานนาน สภาพเก่าแก่
(2) สร้างความเข้มแข็งให้แก่กองทัพ สร้างความเข้มแข็งของประเทศ สร้างความปลอดภัยให้แก่คนในประเทศ

2. วัตถุประสงค์

2.1 สร้างความเข้าใจ (to understand) ทำไมจึงต้องใช้เงินจำนวนมากทางการทหาร

(1)  เพราะต้องการป้องกันประเทศ ทั้ง Land, Sea, Air, and Space

(2) เพราะต้องการต่อสู้กับภัยทั้งหลายที่คุกคามความมั่นคงของประเทศ

(3) เพราะต้องการให้คนในประเทศมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยและมีความสุข

(4) เพราะต้องการคนในชาติและคนชาติอื่น "เคารพ" ประเทศอเมริกา และ ธงชาติอเมริกา

(5) เพราะเราจะสร้างชาติอเมริกาให้ยิ่งใหญ่

2.2 สร้างความตระหนัก (awareness)
โดนัลด์ ทรัมพ์ พูดถึงความสำคัญของคน 3 กลุ่ม คือ

- Military members
- Service members, และ
- Family members

คนสามกลุ่มนี้ คือ กำลังสำคัญในการสร้างชาติอเมริกาให้ยิ่งใหญ่

2.3 ปลุกเร้าพลังความร่วมมือ (Arouse/Persuasion/Collaboration)

คนอเมริกันต้องตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ ช่วยกันทำหน้าที่ของตนเอง

2.4 สร้างความเชื่อมั่นให้คนในชาติ (Confidence)

"ทหาร" ที่เข้าร่วมพิธีเป็น "ทหารหนุ่ม" "ทหารสาว" เป็นส่วนใหญ่ (เราไม่เห็นภาพทหารชราในภาพเลย ในพิธีอาจจะมีแต่ไม่ได้ถูกจัดให้ขึ้นมาบนเวที)

ทหารหนุ่มสาวเหล่านี้อยู่ร่วมเฟรมที่โต๊ะลงนาม ปากกาที่เซ็นชื่อทรัมพ์เอามาจากนายทหารที่ยืนทางด้านซ้ายมือของเขา

ทหารหนุ่มสาว คือ อนาคตของประเทศอเมริกา เขาจะเป็นผู้ใช้เงินงบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์ เขาคือตัวแทนของกองทัพ

มีนัยบางประการว่า ทหารหนุ่มสาวส่วนใหญ่ จะต้องการการพิสูจน์ตนเอง ให้ได้รับการยอมรับในความสามารถ เป็นที่ยอมรับ ยกย่อง ชื่นชม มากกว่า "เงิน"

ที่ผ่านมาเราแทบไม่ได้ยินข่าวเรื่อง การได้รับเงินคอมมิสชั่นจากการซื้ออาวุธของกองทัพอเมริกา

การนำทหารหนุ่มสาวมาร่วมพิธีลงนาม จึงเป็นสิ่งที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง เพราะจะได้รับความเชื่อถือ (Credibility) และ ความเชื่อมั่น (Confidently) จากประชาชน

โดยมี Basic assumption ว่า นายทหารหนุ่มสาว ปรารถนา "เกียรติ" (Honor) มากกว่า "เงิน" (Money)

ภาพลักษณ์ (Image) ของนายทหารหนุ่มสาวเป็นภาพลักษณ์ที่ดี เมื่อนำมาวางเรียงเคียงภาพลักษณ์ของกองทัพ และภาพลักษณ์ของประธานาธิบดี จึงบังเกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาชน

Image ของ ประธานาธิบดี จึงดีไปด้วยเช่นกัน image สำคัญต่อ ความเชื่อถือ และ การสนับสนุน

3. เป้าหมาย
พิธีลงนามในร่างกฎหมายงบประมาณทางทหารนี้ ไม่เพียงแค่พูดปราศัยสื่อสารกับคน 3 กลุ่ม คือ  Military members, Service members, และ Family members ซึ่งเป็นซานประชากรที่ใหญ่ที่สุดเท่านั้น แต่ยังสื่อสารไปยัง

(1) สภาคองเกรส ชักชวนโน้มน้าวใจให้เห็นชอบ
(2) ประชาชนอเมริกันทั้งประเทศ ไม่ว่าฝ่ายใดๆ
(3) สื่อมวลชน ที่ต้องการให้สนับสนุน
(4) นักธุรกิจในอเมริกา เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ คุณทำธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นใจ
(5) ประเทศศัตรูและกลุ่มศัตรูของอเมริกา ทรัมพ์พูดถึงกลุ่ม Isis และอัฟกานิสสถาน คุณต้องเคารพยำเกรงในความเข้มแข็งของอเมริกา

4. รูปแบบ
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมพ์

4.1 กล่าวยกย่องให้เกียรติ John S. McCain ที่ดูแลร่างกฎหมายฉบับนี้ว่าเป็นคนสำคัญ  National Defense Authorization Act

4.2 กล่าวยกย่อง มอบความรับผิดชอบและมอบความไว้วางใจให้แก่ทหาร

4.3 กล่าวขอบคุณ ให้เกียรติ และยกย่องบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้อง เอ่ยขื่อ ขอให้ยืนขึ้นปรากฏตัวต่อที่ประชุม ทรัมพ์ปายมือเชิญ และยกนิ้วหัวแม่มือให้ thumb upzz

4.4 กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของหลายฝ่ายทีมงานของเขา ทหาร สภาคองเกรส แบะประชาชน

4.5 ให้ข้อมูลตัวเลขงบประมาณได้อย่างชัดเจนหลายครั้งโดยไม่ต้องก้มดูเอกสาร

4.6 ภาษาพูด จังหวะ ท่าทาง ลีลา กระชับ กินใจ ปลุกเร้า สร้างความหวัง สร้างกำลังใจ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างความรู้สึกยิ่งใหญ่

4.7 สไตล์ เข้มแข็ง แข็งกร้าว ดุดันเป็นบางช่วง อบอุ่นประทับใจ เป็นมิตร ใกล้ชิด ผูกพัน เป็นบางช่วง (สร้างความรู้สึกเชื่อถือ เชื่อมั่น ไว้วางใจ สร้างการยอมรับในภาวะผู้นำระดับสูง)

5. ห้วงความคิด (Mindset)

คนที่จะพูดออกมาเช่นนี้ แสดงออกมาเช่นนี้ ปัจจัยภายในของเขา คือ จิตใจ ความคิด กรอบความคิด วิธีคิด ของเขาย่อมมีความชัดเจนในวิสัยทัศน์ จุดยืน ทิศทาง เจตจำนง เป้าประสงค์ สิ่งที่จะทำ

กรอบความคิด ที่มองเห็นองค์ประกอบและความสัมพันธ์ ตัวเขาเป็นใคร มาจากไหน มายืนอยู่จุดนี้ได้อย่างไร รากฐานคืออะไร อะไรคือสิ่งที่เขาควรทำ เขาต้องรับผิดชอบต่อใครบ้าง

เขาเป็นใคร อำนาจที่เขาได้มา มาจากไหน เขาต้องใช้อำนาจนั้นเพื่ออะไร อย่างไร เขาควรตระหนักอะไร ควรให้เกียรติใคร ยกย่องใคร เขาควรพูดกับใคร อย่างไร

เขาควรจะคิดอย่างไร พูดอย่างไร จึงจะได้รับความรัก ความเข้าใจ ความร่วมมือ การสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทหาร (military members) คนทำงาน (service members) ครอบครัว (family members)
.....
สรุป องค์ประกอบที่สำคัญ คือ ตัวตนกรอบความคิด การสื่อสาร การบริหารอำนาจ และภาวะผู้นำของประธานาธิบดี
.....
Source: Goodmorning America TV

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค