ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2013

แนวคิดในการปฏิรูปประเทศไทยในทัศนะของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี..แบบย่อยทีละประเด็น

แนวคิดในการปฏิรูปประเทศไทยในทัศนะของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี..แบบย่อยทีละประเด็น..ควรอ่าน สะสมต้นทุนความรู้ไว้ใช้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น !! มีบางคนไถ่ถาม ถากถาง เยาะเย้ย เสียดสี ดูแคลน ความคิดในการปฏิรูปประเทศ ว่าจะทำได้จริงหรือ? และจะทำอย่างไร?..เพื่อให้เรามีต้นทุนความรู้ เพื่อให้มีฐานข้อมูลเบื้องต้น ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเพื่อการขยายโลกทัศน์ในเรื่องนี้..ผมขอนำบทสัมภาษณ์ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 มาย่อยทีละประเด็นเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประเทศ ดังต่อไปนี้ "สาเหตุของปัญหา" สาเหตุของปัญหาคือ "การรวมศูนย์อำนาจ" ปัญหาความวุ่นวายในประเทศนั้นเรื้อรังมานาน และที่ผ่านมาเราแก้ไขปัญหากันไม่ได้ ตั้งแต่การเกิดระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี 2475 หรือ 81 ปีมาแล้ว ซึ่งแนวทางในการแก้ไขนั้น จะต้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องหลักใหญ่ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะที่นำมาสู่วิกฤตประเทศอย่างที่เป็นอยู่ กรณีการปรับโครงสร้างอำนาจ ซึ่งปัจจุบันเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เป็นต้นตอของปัญหาร้อยแปด โดยเฉพาะความขัดแย้ง เพราะการรว

การใช้หลัก 5W 1H เพื่อการสื่อสารสภาวะวิกฤติ..ในห้วงเวลาแห่งการชุมนุมประท้วงทางการเมือง

การใช้หลัก 5W 1H เพื่อการสื่อสารในสภาวะวิกฤติ..ในห้วงเวลาแห่งการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ในช่วงเวลาที่ประชาชนนับแสนนับล้านออกมาชุมนุมคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรมและต่อต้านรัฐบาล ข่าวที่สร้างความตื่นตกใจมากที่สุด คือ ข่าวตำรวจจะเข้าสลายการชุมนุม ซึ่งมันหมายถึง การปะทะกันระหว่างตำรวจกับประชาชน โล่ กระบอง และ แก๊สน้ำตา ประชาชนที่ยีงไม่เคยมีประสบการณ์ลักษณะนี้มาก่อนจะเกิดความรู้สึกตื่นตกใจ กังวลใจ หวั่นวิตก หวาดผวา..เมื่อได้รับรู้ข่าวสาร ข้อความ รูปภาพ จากสื่อเฟสบุ๊ก ก็ยิ่งรู้สึกตกใจ พากันส่งต่อแบ่งปันข้อความและรูปภาพออกไป โดยเจตนาดีที่จะช่วยเหลือกัน ระดมคน ระดมรถ ระดมสิ่งของไปช่วยเหลือกัน "ความรวดเร็ว" และ "ความรีบร้อน" ในการสื่อสาร กลายเป็นดาบสองคม ด้านดีคือ การช่วยเหลือกันได้ทันเวลา ทันท่วงที ด้านเสียคือ ความแตกตื่น (panic) ความตื่นเต้น ความตกใจ ความหวาดวิตก ความสับสนอลหม่าน ความไม่เคลียร์เรื่องข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันผลด้านเสียดังกล่าว เราอาจแก้ไขได้ด้วยวิธีการสื่อสาร โดยใช้หลัก 5W 1H โดยเรียลำดับความสำคัญ ดังนี้คือ WHAT: เกิดเหตุอะไร? เช่น เกิดเหตุระเบิด

จดหมายถึงอากำนัน

เรื่อง ภาคเกษตรกร..กับ..การมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ เรียน อากำนัน ที่นับถือ         ผมชื่นชมอากำนันมากครับ ผมชื่นชมในความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไม่ยึดติด ไม่ลังเล พร้อมที่จะเอาตัวเองเข้าเสี่ยง เพื่อต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง ต่อสู้กับระบบชั่วร้ายที่ครอบงำประเทศของเรามานาน         แนวร่วมการขจัดระบอบทักษิณและการปฏิรูปประเทศ ที่อากำนันขับเคลื่อนคราวนี้ช่าง  "มหัศจรรย์"  จริงๆ ผู้คนหลากหลายกลุ่มเข้าร่วมอย่างเปิดเผย ทั้งกลุ่ม (1) กลุ่มนักการเมือง (2) กลุ่มนักธุรกิจ (3) นักศึกษา (4) อาจารย์/นักวิชาการ (5) นักกฎหมาย (6) นักรัฐศาสตร์ (7) พนักงานรัฐวิสาหกิจ (8) ข้าราชการ (9) พ่อค้าแม่ค้า (10) ผู้ใช้แรงงาน (11) กลุ่ม SME (12) กลุ่มศิลปินดารา         ด้วยความเคารพครับ.."อากำนัน"..ถ้าจะให้  Completed  จริงๆ กระผมอยากเห็นการมีส่วนร่วมจาก  "ภาคเกษตรกร"  ในฐานะที่เป็น  "พลังการผลิตสำคัญที่สุด"  ของประเทศนี้ อาหารทุกอย่างที่เราบริโภคและส่งออกสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาล ล้วนมาจากพลัง หยาดเหงื่อ และแรงงาน ของเกษตรกร         ที่ผ่านมาฝ่ายการเมืองอาศัยฐา

การจัดการกับข่าวลือ (Rumor)

การจัดการกับข่าวลือ (Rumor) ข่าวลือ ( Rumor) ออกเป็น 3 ประเภท คือ         1. ข่าวลือที่มีผู้ตั้งใจปล่อยข่าวด้วยความไม่หวังดี         2. ข่าวลือที่มีผู้ริเริ่มเสนอข่าวเป็นคนแรกอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน   โดยไม่ได้เกิดจากความไม่หวังดี ไม่ได้ตั้งใจปล่อยข่าวมั่ว แต่ได้ริเริ่มเสนอข่าวเป็นคนแรกอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการตีความเหตุการณ์ผิด การเข้าใจผิด การเข้าใจเอาเอง การเข้าใจคลาดเคลื่อนเอง แล้วส่งข่าวออกไป ทั้งโดยตั้งใจและโดยไม่ตั้งใจ         3. ข่าวลือที่ส่งต่อออกไปโดยไม่ได้ตรวจสอบความจริง   ว่าเป็นความจริง ถูกต้อง และน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด แต่ได้ส่งข่าวนั้นต่อออกไปอย่างรวดเร็ว วิธีการจัดการข่าวลือที่ดีที่สุด         วิธีการจัดการข่าวลือที่ดีที่สุด คือ   " หยุดแพร่ข่าวต่อ"   แล้วสืบค้น ค้นหา   " ความจริง"   ให้เร็วที่สุด แล้วเอาความจริงที่อยู่ในรูปแบบ   " ข้อเท็จจริง"   มาสู้กับข่าวลือ วิธีการตรวจสอบข่าวลือในโลกโซเชียลมีเดีย         ถ้าเราเช็คโพสต์ย้อนหลัง 10 นาที อย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มมีโพสต์แรกๆ แชร์อ

ค่ำคืนแห่งความคับแค้น 26 พ.ย. 56

ค่ำคืนแห่งความคับแค้น 26 พ.ย. 56         ขณะที่คนนับหมื่นที่่กระทรวงการคัลง คนนับแสนนับล้านที่กำลังชมการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมผ่านบลูสกายและทีนิวส์ กำลังใจจดใกำลังใจจดใจจ่ออยู่กับ การฟังการปราศรัยของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่กระทรวงการคลัง ช่วงหัวค่ำประมาณ 2 ทุ่มเศษของค่ำคืนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556         คำปราศรัยของคุณสุเทพสะกดผู้ฟังที่อยู่ในเหตุการณ์ และผู้ชมโทรทัศน์ทางบ้าน ด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางการต่อสู้ของการชุมนุมทางการเมือง โดยนำเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศ 6 ข้อ..ทั้งเนื้อหาและลีลาของคุณสุเทพมั่นใจได้ว่า ต้องเร้าใจ และตราตรึงผู้ฟังให้ติดตามฟังอย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งก็ไม่ผิดหวังจริงๆ         เนื้อหาที่สร้างความระทึกใจให้แก่ผู้ชุมนุมที่อยู่ที่กระทรวงการคลัง และผู้ชมที่อยู่ทางบ้าน นั่นก็คือ การได้ข่าวมาว่า ตำรวจนับพันนับหมื่นจะบุกเข้าจับกุมตัวคุณสุเทพ และสลายการชุมนุมที่กระทรวงการคลัง ภายในคืนนี้ ขอให้ประชาชนระมัดระวังตัวและเตรียมรับมือ พร้อมกับให้คำแนะนำแนวปฏิบัติหากตำรวจบุกเข้ามาจริงๆ เนื้อหานี้สร้างความตื่นตกใจให้กับประชาชนผู้ชุมนุมมากพอสมควร เหตุการณ์นี้มีความเป็นไ

เสพข่าว..การใช้ศัพท์แสงที่สูงส่ง จนความหมายผิดเพี้ยน

เสพข่าว..การใช้ศัพท์แสงที่สูงส่ง จนความหมายผิดเพี้ยน หน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่ง..ให้สัมภาษณ์เตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการติดตามข่าวสาร โดยท่านกรุณาเตือนว่า ทุกครั้งที่ "เสพข่าว"     ให้มีวิจารณญาณ ไตร่ตรองความถูกต้องก่อนที่จะเชื่อ โดยเฉพาะข่าวในโลกออนไลน์ ชวนให้ผมเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า คำว่า "ข่าว" นี่มันเป็นสิ่งที่คนเราต้อง "เสพ" กันเลยเหรอ แค่ "อ่าน ฟัง ชม" มันไม่พอหรือ ? มันต้อง "เสพ" กันเลยเหรอ ?? มันต้องขนาดนั้นเลยหรือ ? คำว่า "เสพข่าว" มันควรจะนำมาใช้กับสถานการณ์ "การติดตามข่าวสาร" ของมนุษย์ในสังคมในชีวิตประจำวัน ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์ อ่่านข่าวออนไลน์ อ่านเฟสบุ๊ก อ่านทวิตเตอร์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ เลยหรือครับ ผมคิดว่าอันที่จริงมันควรนำมาใช้กับสถานการณ์ "การติดตามข่าวสารแบบเสพติด"  ที่เปรียบเสมือนคนติดยาเวสพติด ที่ขาดไม่ได้ ขาดแล้วจะลงแดงตาย อย่างนั้นหรือเปล่า ซึ่งคนที่เข้าข่ายแบบนั้นคงจะมีอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ใช่คนอย่างเราๆ ท่าน ที่ติดตามข่าวสารกันเป็นประจำ ซึ่งน่าจะเป็นคนส่วนใหญ

การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในโลกออนไลน์..อย่ามองข้ามคุณค่าเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสามารถทำได้ !!

การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในโลกออนไลน์ ..อย่ามองข้ามคุณค่าเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสามารถทำได้ การมีส่วนร่วมทำในสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องในโลกของการสื่อสารออนไลน์ โดยเฉพาะในสื่อโซเชียลมีเดีย เราสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ 1. กดไลค์ (Like) เพื่อแสดงออกถึง         ก. การให้กำลังใจ         ข. การมีส่วนร่วมทางอารมณ์ความรู้สึก         ค. การมีส่วนร่วมสนับสนุนทางความคิด         ลองคิดดูนะครับ ถ้าเป็นเรื่องของเรา เรากำลังทำอะไรสักอย่างที่เราต้องใช้ความอดทน เสียสละ เสี่ยงภัย เหนื่อย ล้า รู้สึกท้อใจ         ถ้ามีคนกดไลค์ 15 คน กับถ้ามีคนกดไลค์ 15,000 คน ท่านคิดว่ามันจะจะต่างกันไหม ?         จริงอยู่ที่ การกดไลค์ ไม่ได้ลงมือกระทำให้ปรากฏจริงๆ ไม่ได้ยื่นมือไปช่วยจริงๆ แต่ในทางความรู้สึกของผู้คน มันกลับมีพลังส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ มันเป็นกำลังใจ มันเป็นความรู้สึกทางจิตใจที่มีค่า         นอกจากการสร้างความรู้สึกมีกำลังใจให้แก่ผู้ได้รับแล้ว การกดไลค์ ยังเป็นสิ่งบ่งบอกกับบุคคลนั้นว่า..มีคนที่เห็นด้วย มีคนที่ให้กำลังใจ มีคนที่สนับสนุนมากมาย

บิดนิดเดียวความหมายเปลี่ยน !!

บิดนิดเดียวความหมายเปลี่ยน !! ..เรื่องภาษาข่าวที่ใใช้ หาก..บิด..พลิก..เสริม..เติมแต่ง..เพียงนิดเดียว ความหมายเปลี่ยนทันที ตัวอย่างคำว่า กระผม/ดิฉัน กับ พวกเรา กลุ่มผู้ชุมนุม กับ ม็อบ กลุ่มผู้ชุมนุมผู้โกรธแค้น กับ ม็อบหัวรุนแรง ปราศรัย กับ โจมตี เข้าไป กับ บุกเข้าไป เรียกร้อง กับ ข่มขู่ เจรจา กับ ปะทะคารม กดดัน กับ คุกคาม ยึดครอง กับ ยึดอำนาจ ฯลฯ ผู้ใช้ภาษาข่าว ภาษาพูด ภาษาเขียน ไม่ว่าจะเป็น พิธีกรข่าว นักเล่าข่าว นักข่าว ผู้สื่อข่าว ผู้สื่อข่าวอิสระ ผู้สื่อข่าวอาสาสมัคร ผู้สื่อข่าวออนไลน์ ผู้สื่อข่าวโซเชียลมีเดีย นักเลงคีย์บอร์ด นักวิชาการอิสระ นักวิชาการมีพันธะ ฯลฯ  ทุกคนควรเลือกใช้ภาษาข่าวอย่างระมัดระวัง..ตรงความจริง..ไม่เกินความจริง..และเปี่ยมด้วยความรับผิดชอบ !! เพราะภาษาบิดเพียงนิดเดียว..ความหมายเปลี่ยน !!

เพราะเหตุใดม็อบไม่ไปบุกหนังสือพิมพ์??

เพราะเหตุใดม็อบไม่ไปบุกหนังสือพิมพ์?? เหตุผลในทัศนะของผม 1.หนังสือพิมพ์..ช้า !! แม้จะเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ก็ยังช้า !! ช้าเพราะอะไร? ผู้สื่อข่าวมีรวมกันประมาณ 200 คน รายงานข่าวทีละข่าว ทีละประเด็น ทีละจุด ทีละแห่ง ในขณะที่ ประชาชนผู้ถือ smart phone    นับล้านคน ช่วยกัยรายงานข่าวผ่าน Twitter และ Facebook ได้เร็วกว่ามาก รายงานข่าวแบบ Real time ทันทีทันใด 2. หนังสือพิมพ์ไม่รอบด้าน !! หนังสือพิมพ์ประเด็นไม่หลากหลายรอบด้าน สถานที่ชุมนุมกว้างขวาง ผู้สื่อข่าวไม่สามารถเดินทางไปทำข่าวได้ทั่วถึง ในขณะที่ประชาชนนับล้านที่ถือสมาร์ทโฟนกระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่ เห็นเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ สามารถรายงานสิ่งที่พบเห็นหลายเรื่อง หลายประเด็น ครบถ้วนกว่า ตอบสนองความกระหาย ความต้องการความอยากรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนได้มากกว่า 3. ภาษาข่าวของหนังสือพิมพ์ไม่โดนใจ !! ภาษาข่าวของประชาชนเร้าใจกว่า พูดและเขียนได้โดยไม่ทีข้อจำกัดเหมือนหนังสือพิมพ์ ใช้ภาษาชาวบ้านได้ ใช้คำศัพท์แรงๆ โดนใจได้มากว่า 4. ประชาชนไม่พึ่งพาข่าวจากหนังสือพิมพ์ !! ประชาชนหันไปอ่านข่าวจาก Twitter และ Faceboo

โดรน (Drone) สายลับทางอากาศ..การต่อสู้ด้านข้อมูลข่าวสารในยุค 2013

โดรน (Drone) อาวุธทรงพลังฝยการต่อสู้ทางเทคโนโลยีข่าวสาร การต่อสู้เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบด้านข้อมูลข่าวสารในยุค 2013  เฮลิคอปเตอร์ 6 ใบพัด Drone UAV ติดตั้งกล้อง HD คุณภาพสูง บินขึ้นเพื่อถ่ายภาพทางอากาศ เพื่อมองเห็นความเคลื่อนไหว ที่ตั้ง จำนวนตำรวจหรือมวลชน อาวุธทีใช้ ท่าที สภาวะทางอารมณ์ ของฝาายตรงข้าม เตรียมปล่อย ทะยานชึ้นสู่ท้องฟ้า เครื่องควบคุมการขึ้นลง การบิน การถ่ายภาพ ควบคุมการถ่ายภาพ เตรียมลง สังเกตไฟสีเขียว-แดง โฉมหน้า "สายลับยุคดิจิทัล" ตรวจสอบผลงานการถ่ายภาพ ข้อมูลข่าวสารสำคัญที่ได้มา ภาพความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม ผลงานที่น่าพอใจ นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผย วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เวลา 18.15 น. สถานที่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนรสชดำเนินนอก กรุงเทพฯ

เส้นทางแห่งความสำเร็จ..เส้นทางแห่งความไม่สำเร็จ

เส้นแห่งทางความสำเร็จ..เส้นทางแห่ง ความไม่สำเร็จ สายที่ 1 (1) เรียน/สอบผ่าน (2) ทำวิทยานิพนธ์ (3) อบรมเข้ม = จบปริญญาโท สายที่ 2 (1) เรียน/สอบผ่าน (2) ทำ IS (3) อบรมเข้ม = จบปริญญาโท ..มาถึงจุดนี้..ทุกคนคงเห็นแล้ว ว่า ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 3 ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลยสักนิด เรียน-ทำรายงาน-สัมมนา-สอบ เป็นไปตามสเต็ป ..ด่านที่ต้องทดสอบตัวเองคือข้อ  (2) วิทยานิพนธ์ หรือ IS ..พบแล้วใช่มั๊ยครับว่ามันไม่ง่ ายเหมือนตอนเรียนรายวิชา.. ..ความยากของ วิทยานิพนธ์ หรือ IS..อยู่ที่ (1) ไม่สามารถนำเอาทฤษฎีที่ได้ร่ำเร ียนมา เอามาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจ ัยได้ ตรงนี้น่าจะเป็นด่านยากที่สุด แม้สอบได้ A ชุดวิชา ปรัชญาและทฤษฎีการสื่ือสาร ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำมาใช้ใน การวิจัยได้ เพราะการเรียนชุดวิชาได้จบลงไปแ ล้ว คนเก่งทฤษฎีจึงไม่ได้แปลว่าจะเก ่งวิจัย ที่สำคัญคือ ต้องเก่งในการ "นำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้" ต่างหาก (2) ไม่สามารถออกแบบการวิจัยได้ดี ไม่รู้จักตัวแปรที่จะศึกษาอย่าง ถ่องแท้ และออกแบบการวัดตัวแปรไม่เป็น (3) ก. วิจัยเชิงปริมาณ ไม่รู้จะนำสถิติอะไรมาใช้ วิเคราะห์ไม่เป็น จะวิเคราะห์ความแตกต่าง วิเครา

การสื่อสารเชิงสัญญะของคำว่า..ล้าน..ในทางการเมือง

ผู้ที่ริเริ่มเผยแพร่วาทกรรมคำว่า "ล้าน" เป็นคนแรกในประเทศไทย คือ "ดอกดิน กัญญามาลย์" ผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ หลายร้อยเรื่อง บางเรื่องทำรายได้ถึง "ล้านบาท"   เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ดอกดินจึงโฆษณาภาพยนตร์เรื่องนั้น โดยใช้สโลแกนว่า "ล้านแล้วจ้า" คำว่า "ล้าน" เป็นสัญญะในตัวเอง มิได้หมายถึงเพียงแค่จำนวนเงินหนึ่งล้านบาทเท่านั้น หากแต่มีความหมายโดยนัยประหวัดไปถึง " ความยิ่งใหญ่" หรือ "ความสำเร็จ" หรือ "การประสบความสำเร็จในสิ่งที่ยากอย่างยิ่ง" หรือ "การได้รับการตอบสนองจากประชาชนอย่างล้นหลาม" คำว่า "ล้าน" ได้ถูกนำมาใช้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ โดยนำไปใช้สื่อสารเพื่อสื่อความหมายเชิงสัญญะในเรื่องต่างๆ ไม่เว้นแม้เรื่องทางการเมือง ผู้ที่ริเริ่มนำมาใช้เป็นครั้งแรกคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย โดยนำมาใช้เรียกนโยบายประชานิยมโครงการขนาดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2544-2548 โครงการ "โคล้านตัว" เป็นโครงการแจกโคล้านตัวเพื่อให้ชาวบ้านนำไปเพาะเลี้ยงทำการขยายพันธ์เพื่อสร้างรายได

สื่อและการสื่อสาร..เสมือน..ลมหายใจของผู้คน

ความสำคัญอย่างยิ่งของสื่อและการสื่ิอสาร..!! ทุกท่านคิดเห็นตรงกันหรือใกล้เคียงกันไหมว่า ในภาวะที่ประเทศกำลังมีปัญหาวิกฤติทางการเมืองเช่นนี้ "สื่อและการสื่ิอสาร" เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นดั่ง  "ลมหายใจ"  ของคนส่วนใหญ่เลยทีเดียว  ในสภาวะที่เกิดวิกฤติ ผู้คนต่างต้องการ รู้ข่าวสาร ต้องการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่น ต้องการแสวงหาข่าวสารที่ตนสนใจ อยากรู่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกๆ ชั่วโมง และทุกๆนาที สื่อและการสื่อสาร นี้จะขาดหายไปไม่ได้เลย แม้เพียง 1 ชั่วโมง และแม้เพียงแค่ 10 นาทีก็หายไปไม่ได้ ท่านลองคิดถึงสภาพเหตุการณ์วันหนึ่งคือ วันที่ท่าน update version ของเฟซบุ๊ก    6.7.2 แล้วเกิดความผิดพลาดของระบบ ทำให้ท่านไม่สามารถใชเฟซบุ๊ก 4-6 ชั่วโมง วันนั้นท่านอึดอัดเพียงใด ท่านคับข้องใจเพียงใด ท่านต้องการให้การสื่อสารกลับมาใช้ได้เหมือนเดิมโดยเร็วที่สุด..จริงไหม และเมื่อพยายามอยู่เป็นชั่วโมง มันก็ยังใช้ไม่ได้ ท่านรีบไปหา "สื่ออื่น" มาชดเชยทันทีใช่หรือไม่? บางท่านหันไปหาทวิตเตอร์ ! บางท่านหันไปหา YouTube ! บางท่านหันไปหาเว็บไซ

งาน กับ เรียน..เราจะสร้างความสมดุลย์ และความสุขในชีวิตอย่างไร

งาน..กับ..เรียน เลือกอะไรดี? เราจะวางน้ำหนักอย่างไร? เราจะสร้างสมดุลย์อย่างไร? ระหว่าง การทำงาน กับ การเรียน การทำงาน = ชีวิต รายได้ การมีกินมีใช้ ความอยู่รอด การเลี้ยงดูผู้ที่เรามีหน้าที่รับผิดชอบ การหาความสุขส่วนตัวบางส่วน และการสร้างสรรค์ในสิ่งที่เราปรารถนา การเรียน = การเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ การขยายโลกทัศน์ การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน การได้รับโอกาสทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น การมีโอกาสที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาศักยภาพในการแสวงหาความรู้ใหม่และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่  ภายใต้ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) กรอบเวลา 3 ปีเท่าๆกัน Choice 1 ถ้า..วางน้ำหนักที่การทำงานกับการเรียน "เท่าๆกัน" 50:50 ผลที่ได้ = ไปเรื่อยๆ ไม่โดดเด่นทั้งสองด้าน ไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิต บางทีอาจไม่ได้ดีทั้งสองด้าน พอ 5 ปีผ่านไปไม่มีอะไรดีขึ้น งานทรงๆ เรียนโทรม อาจเรียนไม่จบ แถมยังอาจทรุดโทรมทั้งสองด้าน โอกาสรุ่งเรืองก้าวหน้าในชีวิตบั้นปลายมองไม่เห็น  สรุปคือ งานไม่เด่น-เรียนไม่ดี ทุกข์กับสุข มาพร้อมๆกัน สุขทุกวัน-ทุกข์ทุกวัน Choice 2 ถ้า..วางน้ำหนักที่การทำ

สิ่งเร้า..ที่มีอิทธิพลต่อ..นักกฎหมาย

นักกฎหมาย กับ อิทธิพลของสิ่งเร้า !! เมื่อเจอสิ่งเร้าบางอย่าง นักกฎหมายก็เกิดอาการ "หลงใหล" ได้เหมือนคนธรรมดาทั่วไป สามารถเผลอไผลพูดในสิ่งที่คาดไม่ถึง ซึ่งตนเองจะไม่พูดในยามที่มีสติ และสามารถเผลอไผลกระทำในสิ่งที่ตนเองจะไม่กระทำในยามมีสติ สิ่งเร้าที่มีอิทธิพลอย่างมาก 10 ประการ ได้แก่ 1. ไมโครโฟนที่นักข่าวรุมล้อมขอสัมภาษณ์อย่างคึกคัก 2. ไมโครโฟนที่ติดเสื้อเนื่องจากการได้รับเชิญไปพูดคุยในรายการสัมภาษณ์ข่าวโทรทัศน์ 3. โทรศัพท์ขอสัมภาษณ์ออกอากาศสดในรายการข่าวโทรทัศน์ 4. ไมโครโฟนที่หน้าเวทีการชุมนุมที่มีผู้คนหลายหมื่นคนร่วมชุมนุม ซึ่งพร้อมที่จะทำตามคำชี้นำบางอย่าง 5. เสียงเชียร์กระหึ่มกึกก้องของผู้ชุมนุมทางการเมืองหลายหมื่นคน 6. อำนาจในการมีสิทธิพูดชี้นำสังคม ชี้นำมวลชน ชี้นำผู้คนให้คล้อยตาม ทำตาม ราวกับมีไม้เท้ากายสิทธิ์ 7. การได้รับข้อเสนอให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น ที่ปรึกษา ซึ่งมีเงินค่าตอบแทนสูง 8. การได้รับเกียรติให้ไปประชุมในทำเนียบรัฐบาล 9. การได้รับเกียรติให้ไปพบผู้นำรัฐบาลที่ตึกไทยคู่ฟ้า 10. บรรยากาศทางการเมืองที่ร้อนแรง คึกคัก มีสีสัน ในขณะที่ผู้คนในสังคมอยากฟังความคิด

ความแตกต่างระหว่างวิชาชีพ นักกฎหมาย กับ นักข่าว

1. ความเหมือนระหว่างวิชาชีพ นักกฎหมาย กับ นักข่าว วิชาชีพนักกฎหมาย กับ นักข่าว.. มีความเหมือนกันตรงที่ ..ทั้งนักกฎหมายและนักข่าว ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ให้ข้อมูลความเป็นจริงทั้งสองด้าน อย่างปราศจากอคติ ให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้าน ไม่ปิดบังความจริง 2. ความแตกต่างระหว่างวิชาชีพ นักกฎหมาย กับ นักข่าว วิชาชีพนักกฎหมาย กับ นักข่าว.. แตกต่างกันตรงที่ ..นักกฎหมาย สามารถอธิบาย แสดงความเห็น วิเคราะห์ วินิจฉัย ลงความเห็น ชี้ผิดชี้ถูก ตัดสินการกระทำของผู้หนึ่งผู้ใดได้ ตามหลักกฎหมายและหลักเหตุผล แต่นักข่าวหาได้มีอำนาจหน้าที่ทั้งหมดเช่นว่านั้น นักข่าวมีหน้าที่เพียงอธิบายให้ข้อเท็จจริง วิเคราะห์ข้อเท็จจริง นำเสนอข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นของตนลงไปในเนื้อข่าว ไม่สามารถลงความเห็น ไม่สามารถชี้ผิดชี้ถูก และไม่สามารถตัดสินการกระทำของผู้หนึ่งผู้ใดได้ 3. ความพ้องกันของวิชาชีพนักฎหมาย กับ นักข่าวคือ "เป้าหมาย" และ "ปลายทาง" เป้าหมายของนักกฎหมาย คือ "ความยุติธรรมในสังคม" ปลายทางก็คือ "ทำให้สังคมสงบสุข" เป้าหมายของนักข่