การจัดการกับข่าวลือ (Rumor)
ข่าวลือ (Rumor) ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ข่าวลือที่มีผู้ตั้งใจปล่อยข่าวด้วยความไม่หวังดี
2. ข่าวลือที่มีผู้ริเริ่มเสนอข่าวเป็นคนแรกอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน โดยไม่ได้เกิดจากความไม่หวังดี
ไม่ได้ตั้งใจปล่อยข่าวมั่ว แต่ได้ริเริ่มเสนอข่าวเป็นคนแรกอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน
ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการตีความเหตุการณ์ผิด การเข้าใจผิด การเข้าใจเอาเอง
การเข้าใจคลาดเคลื่อนเอง แล้วส่งข่าวออกไป ทั้งโดยตั้งใจและโดยไม่ตั้งใจ
3. ข่าวลือที่ส่งต่อออกไปโดยไม่ได้ตรวจสอบความจริง ว่าเป็นความจริง ถูกต้อง
และน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด แต่ได้ส่งข่าวนั้นต่อออกไปอย่างรวดเร็ว
วิธีการจัดการข่าวลือที่ดีที่สุด
วิธีการจัดการข่าวลือที่ดีที่สุด
คือ "หยุดแพร่ข่าวต่อ" แล้วสืบค้น ค้นหา "ความจริง" ให้เร็วที่สุด
แล้วเอาความจริงที่อยู่ในรูปแบบ "ข้อเท็จจริง" มาสู้กับข่าวลือ
วิธีการตรวจสอบข่าวลือในโลกโซเชียลมีเดีย
ถ้าเราเช็คโพสต์ย้อนหลัง
10 นาที อย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มมีโพสต์แรกๆ แชร์ออกมา
เราจะค้นพบต้นตอไม่ยาก..ไม่ใช่ไปจัดการเขา..เพียงแค่เอา "ข้อเท็จจริง"
มาต่อสู้
วิธีการป้องกันและแก้ไขข่าวลือ คือ
1. ค้นหาความจริง
2. การตรวจสอบความจริงก่อนส่งต่อ
3. สื่อสารอย่างชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน ตามหลัก 5W 1H
WHO WHAT WHEN WHERE WHY HOW
4. ยังไม่เชื่อจนกว่าจะแน่ใจใน
(1) ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว ที่เป็นผู้ส่งข่าวมาให้เรา
เป็นแหล่งข่าวชั้นต้น คือเห็นเหตุการณ์โดยตรงด้วยตนเองหรือมีประสบการณ์ตรง
หรือเป็นผู้ได้รับฟังจากผู้มีส่วนร่วมกับเหตุการณ์มาอีกต่อหนึ่ง
หรือเป็นเพียงผู้ที่ได้รับข่าวสารต่อๆ กันมา
(2) ความเป็นไปได้ของข่าว
(3) ความเขื่อถือได้ของข่าว โดยมีการตรวจสอบซ้ำอย่างน้อยสองครั้ง (double
check)
(4) มีผู้ยืนยันข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้
(5) ความสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
27 พฤศจิกายน 2556
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น