ความชอบธรรมในการครองอำนาจ
เงื่อนไขเรื่อง "ความชอบธรรม" (Legitimacy) เป็นหัวใจสำคัญที่สุดของ "การดำรงอยู่" หรือ "การพังทลาย" ของความเป็นรัฐบาลในห้วงเวลานี้
ความชอบธรรม" (Legitimacy) อาจพิจารณาใน 3 ลักษณะคือ
1. ความชอบธรรมในการได้มาซึ่งอำนาจ
พลเมืองยินยอมพร้อมใจที่จะสละเสรีภาพบางส่วนเพื่อยกให้รัฐใช้อำนาจปกครอง พิจารณาในกรณีนี้รัฐบาลมีความชอบธรรมอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุเพราะได้อำนาจรัฐมาตามระบบการเมืองการปกครองอย่างถูกต้องจากฎหมายและกติกาของสังคม ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้วยความพร้อมใจของพลเมืองส่วนใหญ่ที่เลือกท่านเข้ามาเป็นรัฐบาล
2. ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ
การใช้อำนาจนอกจากจะต้องเป็นความชอบธรรมตามหลักกฎหมาย (Legality) อันหมายถึง มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้แล้ว ยังหมายรวมถึงความถูกต้องชอบธรรมตามแบบแผนสังคมค่านิยม (norms and values) และมโนธรรมสำนึกร่วมที่มีอยู่ในสังคมนั้นด้วย นอกจากนี้การใช้อำนาจที่มีความชอบธรรม ยังจะต้องเป็นการใช้อำนาจเพื่อส่วนรวม (public) เป็นหลัก มิใช่การใช้อำนาจเพื่อส่วนตน ญาติพี่น้อง และพวกพ้อง หากพิจารณาจากการกระทำของฝ่ายรัฐบาลที่ผ่านมา สร้างความสงสัยเคลือบแคลงใจแก่พลเมืองอยู่มิใช่น้อย ตัวอย่างเช่น โครงการจำนำข้าว โครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้าน เมื่อมีการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมที่เป็นการลบล้างความผิดทางอาญาแผ่นดินที่ร้ายแรง แม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ดำเนินการ ไม่ใช่การริเริ่มของรัฐบาลโดยตรง แแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เต็มปากว่ารัฐบาลไม่เกี่ยวข้อง ดังข้อเท็จจริงจากการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า รัฐบาลมีแนวคิดจะออกกฎหมายโดยตราเป็นพระราชกำหนด ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร แม้ว่ารัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารจะมีอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำเช่นนั้นได้ แต่อาจมีปัญหาว่าการกระทำเช่นนั้นจะขัดต่อหลักนิติธรรม และขัดต่อแผนแผนสังคมและค่านิยม รวมทั้งฝ่าฝืนต่อมโนธรรมสำนึกหรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของผู้คนในของสังคม (conscience) ตลอดจนยังเป็นที่สงสัยว่าการออกกฎหมายนี้เป็นการออกกฎหมายเพื่อส่วนรวมจริงๆ หรือเป็นการออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือบุคคลบางคนบางกลุ่มบางพวกเท่านั้น เมื่อพิจารณาในส่วนนี้ จึงเห็นได้ว่ารัฐบาลมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมในการใช้อำนาจเสียแล้ว
3. ความชอบธรรมในการครองอำนาจ
ความชอบธรรมในการครองอำนาจ ซึ่งเกิดจากการได้รับสิทธิอำนาจในการปกครองเชิงบารมี (charismatic authority) ความชอบธรรมข้อนี้เกิดจาก การให้การยอมรับของประชาชนต่อการปกครองนั้น (consent of the governed) เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏเชิงรูปธรรมในสังคม ที่มีประชาชนจำนวนหลายแสนคนออกมาชุนนุมประท้วงบนท้องถนน ประชาชนหลายแสนคนออกมาเป่านกหวีดแสดงสัญลักษณ์ของการคัดค้าน มหาวิทยาลัยอันประกอบด้วยอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยหลายสิบแห่งออกมาคัดค้าน กลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลทั่วประเทศไทยหลายแสนคนออกมาคัดค้าน การคัดค้านซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆกันในห้วงเวลาเดียวกัน ประเด็นของการคัดค้านเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่ยอมรับการกระทำของนักการเมือง ไม่ยอมรับการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมือง ไม่ยอมรับการกระทำของรัฐมีมีแนวคิดจะออกกฎหมายลบล้างความผิด เมื่อพิจารณาในส่วนนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีปัญหาความชอบธรรมในการครองอำนาจ
ในบรรดาความชอบธรรม 3 เรื่องหลัก รัฐบาลมีปัญหาความชอบธรรมอยู่ 2 เรื่องคือ ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ และ ความชอบธรรมในการครองอำนาจ
ถ้าจะพูดตามหลักการก็คงจะเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลมีปัญหาความชอบธรรมทั้งสองเรื่องดังกล่าว
แต่จะว่าไปแล้ว..ปัญหาความชอบธรรมที่หนักที่สุด กลับมีน้ำหนักมากที่สุดเพียงเรื่องเดียวคือ คือ ปัญหาความชอบธรรมในการครองอำนาจ อันเกิดจาก "การไม่ยอมรับของประชาชน" หลายล้านคน
การไม่ยอมรับของ "มวลมหาประชาชนหลายล้านคน" ในประเทศไทย เปรียบเสมือนคลื่นสึนามิขนาดยักษ์ที่มีพลานุภาพมหาศาล ถาโถมเข้าใส่รัฐบาลที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนี้
รัฐบาลจะอยู่ในอำนาจต่อไปหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น !!
แต่รัฐบาลจะอยู่อย่างชอบธรรมหรือไม่ เป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่า !!
ปัญหา ความชอบธรรม (Legitimacy) นี่แหละจะเป็นสิ่่งที่ทำให้ รัฐบาล "อยู่ไม่ได้" เพราะมีประชาชนพลเมืองต่อต้านจำนวนมากมายมหาศาล ขณะเดียวกันปัญหาความชอบธรรมนี่เอง ที่อาจทำให้รัฐบาล "ไม่อยากอยู่" ในอำนาจอีกต่อไป
เพราะถึงแม้จะตั้งมั่นเป็นรัฐบาลอยู่ได้ ก็จะอยู่อย่างทุกข์ใจแสนสาหัส !!
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
10 พฤศจิกายน 2556
เงื่อนไขเรื่อง "ความชอบธรรม" (Legitimacy) เป็นหัวใจสำคัญที่สุดของ "การดำรงอยู่" หรือ "การพังทลาย" ของความเป็นรัฐบาลในห้วงเวลานี้
ความชอบธรรม" (Legitimacy) อาจพิจารณาใน 3 ลักษณะคือ
1. ความชอบธรรมในการได้มาซึ่งอำนาจ
พลเมืองยินยอมพร้อมใจที่จะสละเสรีภาพบางส่วนเพื่อยกให้รัฐใช้อำนาจปกครอง พิจารณาในกรณีนี้รัฐบาลมีความชอบธรรมอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุเพราะได้อำนาจรัฐมาตามระบบการเมืองการปกครองอย่างถูกต้องจากฎหมายและกติกาของสังคม ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้วยความพร้อมใจของพลเมืองส่วนใหญ่ที่เลือกท่านเข้ามาเป็นรัฐบาล
2. ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ
การใช้อำนาจนอกจากจะต้องเป็นความชอบธรรมตามหลักกฎหมาย (Legality) อันหมายถึง มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้แล้ว ยังหมายรวมถึงความถูกต้องชอบธรรมตามแบบแผนสังคมค่านิยม (norms and values) และมโนธรรมสำนึกร่วมที่มีอยู่ในสังคมนั้นด้วย นอกจากนี้การใช้อำนาจที่มีความชอบธรรม ยังจะต้องเป็นการใช้อำนาจเพื่อส่วนรวม (public) เป็นหลัก มิใช่การใช้อำนาจเพื่อส่วนตน ญาติพี่น้อง และพวกพ้อง หากพิจารณาจากการกระทำของฝ่ายรัฐบาลที่ผ่านมา สร้างความสงสัยเคลือบแคลงใจแก่พลเมืองอยู่มิใช่น้อย ตัวอย่างเช่น โครงการจำนำข้าว โครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้าน เมื่อมีการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมที่เป็นการลบล้างความผิดทางอาญาแผ่นดินที่ร้ายแรง แม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ดำเนินการ ไม่ใช่การริเริ่มของรัฐบาลโดยตรง แแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เต็มปากว่ารัฐบาลไม่เกี่ยวข้อง ดังข้อเท็จจริงจากการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า รัฐบาลมีแนวคิดจะออกกฎหมายโดยตราเป็นพระราชกำหนด ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร แม้ว่ารัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารจะมีอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำเช่นนั้นได้ แต่อาจมีปัญหาว่าการกระทำเช่นนั้นจะขัดต่อหลักนิติธรรม และขัดต่อแผนแผนสังคมและค่านิยม รวมทั้งฝ่าฝืนต่อมโนธรรมสำนึกหรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของผู้คนในของสังคม (conscience) ตลอดจนยังเป็นที่สงสัยว่าการออกกฎหมายนี้เป็นการออกกฎหมายเพื่อส่วนรวมจริงๆ หรือเป็นการออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือบุคคลบางคนบางกลุ่มบางพวกเท่านั้น เมื่อพิจารณาในส่วนนี้ จึงเห็นได้ว่ารัฐบาลมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมในการใช้อำนาจเสียแล้ว
3. ความชอบธรรมในการครองอำนาจ
ความชอบธรรมในการครองอำนาจ ซึ่งเกิดจากการได้รับสิทธิอำนาจในการปกครองเชิงบารมี (charismatic authority) ความชอบธรรมข้อนี้เกิดจาก การให้การยอมรับของประชาชนต่อการปกครองนั้น (consent of the governed) เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏเชิงรูปธรรมในสังคม ที่มีประชาชนจำนวนหลายแสนคนออกมาชุนนุมประท้วงบนท้องถนน ประชาชนหลายแสนคนออกมาเป่านกหวีดแสดงสัญลักษณ์ของการคัดค้าน มหาวิทยาลัยอันประกอบด้วยอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยหลายสิบแห่งออกมาคัดค้าน กลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลทั่วประเทศไทยหลายแสนคนออกมาคัดค้าน การคัดค้านซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆกันในห้วงเวลาเดียวกัน ประเด็นของการคัดค้านเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่ยอมรับการกระทำของนักการเมือง ไม่ยอมรับการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมือง ไม่ยอมรับการกระทำของรัฐมีมีแนวคิดจะออกกฎหมายลบล้างความผิด เมื่อพิจารณาในส่วนนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีปัญหาความชอบธรรมในการครองอำนาจ
ในบรรดาความชอบธรรม 3 เรื่องหลัก รัฐบาลมีปัญหาความชอบธรรมอยู่ 2 เรื่องคือ ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ และ ความชอบธรรมในการครองอำนาจ
ถ้าจะพูดตามหลักการก็คงจะเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลมีปัญหาความชอบธรรมทั้งสองเรื่องดังกล่าว
แต่จะว่าไปแล้ว..ปัญหาความชอบธรรมที่หนักที่สุด กลับมีน้ำหนักมากที่สุดเพียงเรื่องเดียวคือ คือ ปัญหาความชอบธรรมในการครองอำนาจ อันเกิดจาก "การไม่ยอมรับของประชาชน" หลายล้านคน
การไม่ยอมรับของ "มวลมหาประชาชนหลายล้านคน" ในประเทศไทย เปรียบเสมือนคลื่นสึนามิขนาดยักษ์ที่มีพลานุภาพมหาศาล ถาโถมเข้าใส่รัฐบาลที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนี้
รัฐบาลจะอยู่ในอำนาจต่อไปหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น !!
แต่รัฐบาลจะอยู่อย่างชอบธรรมหรือไม่ เป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่า !!
ปัญหา ความชอบธรรม (Legitimacy) นี่แหละจะเป็นสิ่่งที่ทำให้ รัฐบาล "อยู่ไม่ได้" เพราะมีประชาชนพลเมืองต่อต้านจำนวนมากมายมหาศาล ขณะเดียวกันปัญหาความชอบธรรมนี่เอง ที่อาจทำให้รัฐบาล "ไม่อยากอยู่" ในอำนาจอีกต่อไป
เพราะถึงแม้จะตั้งมั่นเป็นรัฐบาลอยู่ได้ ก็จะอยู่อย่างทุกข์ใจแสนสาหัส !!
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
10 พฤศจิกายน 2556
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น