ผู้ที่ริเริ่มเผยแพร่วาทกรรมคำว่า "ล้าน" เป็นคนแรกในประเทศไทย คือ "ดอกดิน กัญญามาลย์" ผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ หลายร้อยเรื่อง บางเรื่องทำรายได้ถึง "ล้านบาท" เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ดอกดินจึงโฆษณาภาพยนตร์เรื่องนั้น โดยใช้สโลแกนว่า "ล้านแล้วจ้า"
แต่ไม่ว่าผลจะเกิดขึ้นอย่างไร ภายใต้สังคมวัฒนธรรมอันสลับซับซ้อน ผู้คนในระบบการเมือง ผู้คนนอกระบบการเมืองที่หลากหลาย ต่างช่วยกันทำหน้าที่เป็นเสมือน "เครื่องจักรผลิตความหมาย" สรรค์สร้างความหมายออกมาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
สัญญะของคำว่า "ล้าน" จะทำงานอย่างซื่อสัตย์เหมือนที่เคยเป็นมาเพียงใด เวลาไม่นานต่อจากนี้ เราจะได้เห็นกัน
คำว่า "ล้าน" เป็นสัญญะในตัวเอง มิได้หมายถึงเพียงแค่จำนวนเงินหนึ่งล้านบาทเท่านั้น หากแต่มีความหมายโดยนัยประหวัดไปถึง "ความยิ่งใหญ่" หรือ "ความสำเร็จ" หรือ "การประสบความสำเร็จในสิ่งที่ยากอย่างยิ่ง" หรือ "การได้รับการตอบสนองจากประชาชนอย่างล้นหลาม"
คำว่า "ล้าน" ได้ถูกนำมาใช้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ โดยนำไปใช้สื่อสารเพื่อสื่อความหมายเชิงสัญญะในเรื่องต่างๆ ไม่เว้นแม้เรื่องทางการเมือง ผู้ที่ริเริ่มนำมาใช้เป็นครั้งแรกคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย โดยนำมาใช้เรียกนโยบายประชานิยมโครงการขนาดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2544-2548
โครงการ "โคล้านตัว" เป็นโครงการแจกโคล้านตัวเพื่อให้ชาวบ้านนำไปเพาะเลี้ยงทำการขยายพันธ์เพื่อสร้างรายได้ และสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ
โครงการ "กองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท" เป็นโครงการที่พลิกโฉมเศรษฐกิจสังคมของไทยโดยนำเอาเงินล้านไปวางไว้ใน 65000 หมู่บ้าน ให้ประชาชนบริหารจัดการกันเอง ซึ่งโโครงการนี้ได้รับความนิยมจากประชาชนมาก เป็นโครงการที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า "กองทุนเงินล้าน"
แม้ว่าจะนำมาใช้ต่างเวลา ต่างมิติ ต่างบริบท แต่คำว่า "ล้าน" ยังคงนำมาใช้เพื่อสื่อความหมายเชิงสัญญะทางการเมือง โดยสื่อความหมายถึง "ความยิ่งใหญ่" และ "ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่" หรือ "สิ่งที่ได้มายาก"
นอกจากสองความหมายดังที่ว่าแล้ว คำว่า "ล้าน" ในทางการเมือง ยังหมายความถึง "สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่ได้มาอย่างเหนือความคาดหมาย"
เงินล้านในบริบทสังคมไทยสมัยคุณดอกดิน กัญญามาลย์ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว เป็นเงินจำนวนมากมายมหาศาล ยากที่ใครจะได้มาครอบครอง มีแต่เฉพาะชนชั้นสูงในสังคม และเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะมีเงินมากขนาดนี้ได้
เงินล้านในบริบทสังคมไทยสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ยังเป็นเงินจำนวนมาก ยากที่ประชาชนชั้นรากหญ้าในชนบทจะได้มา อาจกล่าวได้ว่า แม้จะทำนาทั้งชีวิตก็ไม่มีโอกาสได้จับเงินล้าน จนเมื่อมีโครงการกองทุนเงินล้านเข้ามาในหมู่บ้านนั่นแหละ ชาวบ้านจึงมีโอกาสได้จับเงินล้านกับเขาจริงๆ เสียที แม้ไม่ได้จับเงินล้านในฐานะเป็นเจ้าของรายบุคคล แต่ก็ยังได้ชื่อว่าเป็น "การมีอำนาจในการร่วมครอบครองกรรมสิทธิ์" และ "การมีอำนาจตัดสินใจ" ในเงินจำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งโดยปกติแล้วประชาชนชั้นรากหญ้าไม่เคยมีโอกาสเข้าถึง
การมีอำนาจครอบครองกรรมสิทธิ์ และการมีอำนาจตัดสินใจในการใช้เงิน 1 ล้านบาท จึงเป็น "การได้อำนาจเชิงสัญญะ" ของประชาชน กล่วอีกนัยหนึ่งได้ว่ามันเป็น "การสื่อสารเชิงสัญญะ" ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สร้างความหมายขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารกับประชาชน
มาถึงยุคเปลี่ยนผ่านสำคัญช่วง พ.ศ.2549-2553 ยุคที่การเมืองของประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤติ จากปัญหาความขัดแย้งทางความคิดของรัฐบาลกับพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ฝ่ายมวลชนคนเสื้อแดงได้ใช้คำ "ล้าน" อีกครั้งหนึ่งโดยใช้กลุ่มวลีที่ว่า "มวลมหาประชาชนนับล้าน" ที่จะออกมาต่อต้านรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ล่วงถึงปี พ.ศ.2556 เกิดประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหญ่ที่มาถึงจุดแตกหัก นั่นคือ การออกกฎหมายนิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และการแก้ไขที่มาของ สว. จึงมีการนำคำว่า "ล้าน" มาใช้ในการสื่ิอสารเชิงสัญญะกับประชาชนอีกวาระหนึ่ง
ล่วงถึงปี พ.ศ.2556 เกิดประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหญ่ที่มาถึงจุดแตกหัก นั่นคือ การออกกฎหมายนิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และการแก้ไขที่มาของ สว. จึงมีการนำคำว่า "ล้าน" มาใช้ในการสื่ิอสารเชิงสัญญะกับประชาชนอีกวาระหนึ่ง
วาทกรรมคำว่า "ล้าน" กำลังถูกนำมาใช้ในยุทศาสตร์การเมือง โดยแกนนำผู้ชุมนุมเวทีราชดำเนินซึ่งเป็นอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 9 คน ที่เร่งระดมประชาชนมาร่วมชุมนุมใหญ่ในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2556 โดยตั้งเป้าหมายให้มีผู้มาร่วมชุมนุมจำนวน 1 ล้านคนขึ้นไป โดยใช้ชื่อ Theme งานว่า "มวลมหาประชาชนคนไทย ใจเกินล้าน"
การสื่อความหมายยังคงเหมือนเดิมเมื่อครั้งที่ ดอกดิน กัญญามาลย์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยใช้มาก่อนแล้วนั่นคือ
ความยิ่งใหญ่ ความสำเร็จ ความสำเร็จอันได้มาอย่างยากยิ่ง ความสำเร็จที่ได้มาอย่างไม่คาดฝัน
ทุกฝ่ายทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และฝ่ายประชาชน คงต้องติดตามดูกันว่า วาทกรรม คำว่า "ล้าน" ที่นำมาใช้ในคราวนี้ จะเป็นความหมายเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหรือไม่? เพียงใด? จะได้พบความยิ่งใหญ่ และความสำเร็นอันยิ่งใหญ่ที่ได้รับอย่างไม่คาดฝันหรือไม่?
หากประชาชนมาเกินล้านดังว่า นั่นก็หมายถึงประชาชนได้ร่วมกัน "สร้างสัญญะ" ขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อสื่อความหมายไปยังรัฐบาลว่า ประชาชนเห็นพ้องกับแนวทางของผู้นำการชุมนุม และผู้ชุมนุมอาจนำไปกล่าวอ้างได้ว่า นี่คือ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่ได้มากอย่างเหนือความคาดหมาย
อันว่าสัญญะนั้นไม่ใช่สิ่งตายตัว หากแต่ผันแปรไปตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เราดำรงชีวิตอยู่ ผู้คนเป็นอย่างไร สังคมวัฒนธรรมก็เป็นอย่างนั้น สังคมวัฒนธรรมเป็นอย่างไร สัญญะก็มีความหมายอย่างนั้น สัญญะทำหน้าที่สื่อความหมายอย่างซื่อสัตย์ต่อผู้สร้างความหมายเสมอ
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประชาชนจะคิดอย่างไร? จะเห็นพ้องแล้วช่วยกันส่งเสริมความหมายที่ผู้นำการชุมนุมได้สร้างขึ้น หรือจะเห็นต่างพากันนิ่งเฉยราวกับไม่รับรู้ความหมาย ก็ขึ้นอยู่กับความคิดคำนึงของประชาชนเป็นสำคัญ
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประชาชนจะคิดอย่างไร? จะเห็นพ้องแล้วช่วยกันส่งเสริมความหมายที่ผู้นำการชุมนุมได้สร้างขึ้น หรือจะเห็นต่างพากันนิ่งเฉยราวกับไม่รับรู้ความหมาย ก็ขึ้นอยู่กับความคิดคำนึงของประชาชนเป็นสำคัญ
แต่ไม่ว่าผลจะเกิดขึ้นอย่างไร ภายใต้สังคมวัฒนธรรมอันสลับซับซ้อน ผู้คนในระบบการเมือง ผู้คนนอกระบบการเมืองที่หลากหลาย ต่างช่วยกันทำหน้าที่เป็นเสมือน "เครื่องจักรผลิตความหมาย" สรรค์สร้างความหมายออกมาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
สัญญะของคำว่า "ล้าน" จะทำงานอย่างซื่อสัตย์เหมือนที่เคยเป็นมาเพียงใด เวลาไม่นานต่อจากนี้ เราจะได้เห็นกัน
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
22 พฤศจิกายน 2556
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น