เสพข่าว..การใช้ศัพท์แสงที่สูงส่ง จนความหมายผิดเพี้ยน
หน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่ง..ให้สัมภาษณ์เตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการติดตามข่าวสาร โดยท่านกรุณาเตือนว่า ทุกครั้งที่ "เสพข่าว" ให้มีวิจารณญาณ ไตร่ตรองความถูกต้องก่อนที่จะเชื่อ โดยเฉพาะข่าวในโลกออนไลน์
ชวนให้ผมเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า
คำว่า "ข่าว" นี่มันเป็นสิ่งที่คนเราต้อง "เสพ" กันเลยเหรอ
แค่ "อ่าน ฟัง ชม" มันไม่พอหรือ ? มันต้อง "เสพ" กันเลยเหรอ ??
มันต้องขนาดนั้นเลยหรือ ?
คำว่า "เสพข่าว" มันควรจะนำมาใช้กับสถานการณ์ "การติดตามข่าวสาร" ของมนุษย์ในสังคมในชีวิตประจำวัน ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์ อ่่านข่าวออนไลน์ อ่านเฟสบุ๊ก อ่านทวิตเตอร์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ เลยหรือครับ
ผมคิดว่าอันที่จริงมันควรนำมาใช้กับสถานการณ์ "การติดตามข่าวสารแบบเสพติด" ที่เปรียบเสมือนคนติดยาเวสพติด ที่ขาดไม่ได้ ขาดแล้วจะลงแดงตาย อย่างนั้นหรือเปล่า ซึ่งคนที่เข้าข่ายแบบนั้นคงจะมีอยู่จำนวนหนึ่ง
แต่ไม่ใช่คนอย่างเราๆ ท่าน ที่ติดตามข่าวสารกันเป็นประจำ ซึ่งน่าจะเป็นคนส่วนใหญ่ มากกว่าคนจำพวกที่เสพข่าวแบบบ้าคลั่ง ผมคิดว่า "การติดตามข่าวสาร" ของมนุษย์ในสังคมในชีวิตประจำวัน ไม่น่าจะต้องใช้คำศัพท์ที่ "ฟังยาก" ถึงขนาดนั้น
บางทีการใช้ศัพท์วิชาการ การทำตัวเป็นนักวิชาการ และการใช้ศัพท์แสงที่สูงส่ง
มันก็ทำให้ความหมายของสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารกับคนอื่น "ผิดเพี้ยนไปจากความจริง" ได้มากพอสมควรทีเดียว
เรื่องง่าย..ก็กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องธรรมดา..ก็กลายเป็นเรื่องซับซ้อน
ใช้ศัพท์แสงแบบธรรมดาๆ ก็พอมั้งครับท่าน !!
จะอ่าน จะฟัง จะดู จะติดตามอะไรก็ว่ากันไป..การใช้ภาษาพูดจากันในชีวิตประจำวัน
ไม่ต้อง "ซับซ้อน" ขนาดนั้นก็ได้
ไม่ต้อง "สูงส่ง" ขนาดนั้นก็ได้
ไม่ต้องถึงขนาด "เสพข่าว" ก็ได้
ฟังแล้วรู้สึก "เยอะ" เกินไปจริงๆ ครับพี่น้อง
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
26 พฤศจิกายน 2556
หน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่ง..ให้สัมภาษณ์เตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการติดตามข่าวสาร โดยท่านกรุณาเตือนว่า ทุกครั้งที่ "เสพข่าว" ให้มีวิจารณญาณ ไตร่ตรองความถูกต้องก่อนที่จะเชื่อ โดยเฉพาะข่าวในโลกออนไลน์
ชวนให้ผมเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า
คำว่า "ข่าว" นี่มันเป็นสิ่งที่คนเราต้อง "เสพ" กันเลยเหรอ
แค่ "อ่าน ฟัง ชม" มันไม่พอหรือ ? มันต้อง "เสพ" กันเลยเหรอ ??
มันต้องขนาดนั้นเลยหรือ ?
คำว่า "เสพข่าว" มันควรจะนำมาใช้กับสถานการณ์ "การติดตามข่าวสาร" ของมนุษย์ในสังคมในชีวิตประจำวัน ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์ อ่่านข่าวออนไลน์ อ่านเฟสบุ๊ก อ่านทวิตเตอร์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ เลยหรือครับ
ผมคิดว่าอันที่จริงมันควรนำมาใช้กับสถานการณ์ "การติดตามข่าวสารแบบเสพติด" ที่เปรียบเสมือนคนติดยาเวสพติด ที่ขาดไม่ได้ ขาดแล้วจะลงแดงตาย อย่างนั้นหรือเปล่า ซึ่งคนที่เข้าข่ายแบบนั้นคงจะมีอยู่จำนวนหนึ่ง
แต่ไม่ใช่คนอย่างเราๆ ท่าน ที่ติดตามข่าวสารกันเป็นประจำ ซึ่งน่าจะเป็นคนส่วนใหญ่ มากกว่าคนจำพวกที่เสพข่าวแบบบ้าคลั่ง ผมคิดว่า "การติดตามข่าวสาร" ของมนุษย์ในสังคมในชีวิตประจำวัน ไม่น่าจะต้องใช้คำศัพท์ที่ "ฟังยาก" ถึงขนาดนั้น
บางทีการใช้ศัพท์วิชาการ การทำตัวเป็นนักวิชาการ และการใช้ศัพท์แสงที่สูงส่ง
มันก็ทำให้ความหมายของสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารกับคนอื่น "ผิดเพี้ยนไปจากความจริง" ได้มากพอสมควรทีเดียว
เรื่องง่าย..ก็กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องธรรมดา..ก็กลายเป็นเรื่องซับซ้อน
ใช้ศัพท์แสงแบบธรรมดาๆ ก็พอมั้งครับท่าน !!
จะอ่าน จะฟัง จะดู จะติดตามอะไรก็ว่ากันไป..การใช้ภาษาพูดจากันในชีวิตประจำวัน
ไม่ต้อง "ซับซ้อน" ขนาดนั้นก็ได้
ไม่ต้อง "สูงส่ง" ขนาดนั้นก็ได้
ไม่ต้องถึงขนาด "เสพข่าว" ก็ได้
ฟังแล้วรู้สึก "เยอะ" เกินไปจริงๆ ครับพี่น้อง
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
26 พฤศจิกายน 2556
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น