ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เส้นทางแห่งความสำเร็จ..เส้นทางแห่งความไม่สำเร็จ

เส้นแห่งทางความสำเร็จ..เส้นทางแห่งความไม่สำเร็จ

สายที่ 1 (1) เรียน/สอบผ่าน (2) ทำวิทยานิพนธ์ (3) อบรมเข้ม = จบปริญญาโท
สายที่ 2 (1) เรียน/สอบผ่าน (2) ทำ IS (3) อบรมเข้ม = จบปริญญาโท

..มาถึงจุดนี้..ทุกคนคงเห็นแล้วว่า ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 3 ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลยสักนิด เรียน-ทำรายงาน-สัมมนา-สอบ เป็นไปตามสเต็ป

..ด่านที่ต้องทดสอบตัวเองคือข้อ (2) วิทยานิพนธ์ หรือ IS ..พบแล้วใช่มั๊ยครับว่ามันไม่ง่ายเหมือนตอนเรียนรายวิชา..
..ความยากของ วิทยานิพนธ์ หรือ IS..อยู่ที่

(1) ไม่สามารถนำเอาทฤษฎีที่ได้ร่ำเรียนมา เอามาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยได้ ตรงนี้น่าจะเป็นด่านยากที่สุด แม้สอบได้ A ชุดวิชา ปรัชญาและทฤษฎีการสื่ือสาร ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำมาใช้ในการวิจัยได้ เพราะการเรียนชุดวิชาได้จบลงไปแล้ว คนเก่งทฤษฎีจึงไม่ได้แปลว่าจะเก่งวิจัย ที่สำคัญคือ ต้องเก่งในการ "นำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้" ต่างหาก

(2) ไม่สามารถออกแบบการวิจัยได้ดี ไม่รู้จักตัวแปรที่จะศึกษาอย่างถ่องแท้ และออกแบบการวัดตัวแปรไม่เป็น

(3) ก. วิจัยเชิงปริมาณ ไม่รู้จะนำสถิติอะไรมาใช้ วิเคราะห์ไม่เป็น จะวิเคราะห์ความแตกต่าง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิเคราะห์ผลกระทบ ไม่เข้าใจว่างานของตนเองจะวิเคราะห์อะไรกันแน่

ข. วิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลได้ไม่รอบด้าน ไม่ลึกจริง เหมือนที่เคยบอกว่าจะ "สัมภาษณ์เชิงลึก" เอาเข้าจริงกลายเป็น "สัมภาษณ์เชิงตื้น"
ส่วนที่ยากที่สุกของวิจัยเชิงคุณภาพคือ การวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างข้อสรุป (ตรงนี้การวิจัยเชิงปริมาณจะง่ายกว่า เพระาใช้คอมพิวเตอร์) ซึ่งต้องแปลความหมาย สรุปความหมาย โดยต้องอาศัยความสามารถของผู้วิจัยอย่างมาก

(4) ส่วนที่ยากอันดับสี่คือ "ทำไปแบบมึนๆ" ทำไปแบบงงๆ" และ "ทำไปแบบไม่รู้เรื่อง"

(ถ) ส่วนที่ยากที่สุดและมีปัญหามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวิจัยเชิงปริมาณ หรือ วิจัยเชิงคุณภาพ คือ "จิตใจ" ของคนทำ ได้แก่
ก. การไม่สามารถบังคับควบคุม "ความสนใจ" ของตนเองให้ทำวิทยานิพนธ์ได้
ข. การ "หันไปสนใจเรื่องอื่น" ที่ใกล้ตัว ง่ายกว่า สนุกกว่า เร็วกว่า เรียกว่า "วอกแวก"
ค. การขาดความต่อเนื่อง ทำๆ หยุด ต้องนับหนึ่งใหม่บ่อยๆ งานไม่เดิน หรือเดินช้ามาก
ง. การ "นอกใจ" วิทยานิพนธ์ หันไป "คบ" เรื่องอื่นแทน เช่น แฟน คนรัก ของรัก สิ่งที่รัก
จ. หมดแรงใจ

ข้อคิดดังกล่าวข้างต้นนี้ ฝากไว้ให้สำหรับผู้ที่คิดว่ากำลังมีปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์ ส่วนใครที่ทำได้ดีอยู่แล้ว ไม่เข้าข่ายมีปัญหา ไม่จำเป็นต้องอ่าน

ด้วยความปรารถนาดี
24 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค