การมีส่วนร่วม และ การสร้างความร่วมมือ คือ ยุทธศาสตร์หลักในการปฏิรูปประเทศ
ท่ามกลางกระแสคัดค้านต่อต้านรัฐบาลในประเด็นเรื่อง การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดกฎหมายบ้านเมือง ที่มีกระแสการคัดค้านและการต่อต้านอย่างเชี่ยวกราก รุนแรง
หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว เราจะพบว่า ประชาชนไม่ได้คัดค้านรัฐบาล ไม่ได้ต่อต้านรัฐบาล เพราะรัฐบาลเข้ามาอย่างถูกต้องชอบธรรมตามการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลจึงมีความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจ มีความชอบธรรมในการครองอำนาจ และมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจ
แต่..ประชาชนคัดค้านและต่อต้าน การกระทำของรัฐบาลและรัฐสภาเสียงข้างมาก ซึ่งได้กระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม ขัดต่อหลักนิติธรรม ขัดต่อหลักกฎหมาย ขัดต่อประเพณีการปกครอง เป็นการทำลายระบบให้เสียไป ทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม
ท่ามกลางกระแสการคัดค้าน ปรากฏสุ้มเสียงเป็นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา และหาทางออกให้แก่ประเทศ แนวคิดที่สำคัญแนวคิดหนึ่งที่มีการเสนอกันอยู่ในห้วงเวลานี้คือ "การปฏิรูปประเทศไทย" (Thailand Reform) ซึ่งมีข้อคิดความเห็นมากกมาย
การปฏิรูปประเทศไทย เป็นข้อเสนอที่ดี..แต่มีคำถามตามมาว่า เราจะมีวิธีการทำอย่างไร เราจะทำให้ประชาชนเข้าใจ เห็นพ้อง ให้การสนับสนุน ให้ความร่วมมือได้อย่างไร ?
พิจารณาย้อนหลังไป 10 ปี มองไปที่กระบวนการทางการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ระบบและกลไกดำเนินไปอย่างไร มีปัญหาอย่างไร
ระบบ (system) ได้แก่
1. ระบบรัฐสภา ที่ประกอบด้วยตัวแทนของประชาชน ที่มาจากการเลือกตั้ง และการสรรหา ระบบรัฐสภาได้ใช้อำนาจแทนประชาชนในการ "คัดเลือก" คณะบุคคลเข้ามาเป็นฝ่ายบริหาร ที่เรียกว่า "รัฐบาล" อันประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
2. ระบบพรรคการเมือง ที่ประกอบด้วยสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนหนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
3. ระบบการตรวจสอบ เป็นระบบที่ได้ถูกออกแบบให้มีขึ้นไว้เพื่อการตรวจสอบ และถ่วงดุลย์การทำงานของรับบต่างๆ
4. ระบบการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นระบบที่ได้ถูกออกแบบให้มีขึ้นไว้เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ จากผลของการมีส่วนร่วมนั้น
กลไก (mechanism/tools) ได้แก่
กลไกการเลือกตั้ง เป็นการคัดเลือกตัวแทนของประชาชนให้เข้ามาใช้อำนาจในการบริหารประเทศ และตรวจสอบการบริหารประเทศ
1. กลไกการบริหาร เป็นการเข้ามาใช้อำนาจรัฐในการบริหารประเทศในนาม "รัฐบาล" ตามฉันทานุมัติจากประชาชน และตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
2. กลไกการตรวจสอบ เป็นเครื่องมือในการติดตาม ตรวจสอบ การทำงานของฝ่ายบริหาร ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามประเพณีการเมืองการปกครอง กลไกการตรวจสอบทำหน้าที่ทั้งการตรวจสอบและการถ่วงดุลย์การทำงานของรัฐบาล
กลไกการตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1) กลไกการตรวจสอบในสภา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
(1) กลไกการตรวจสอบในสภาโดยพรรคการเมืองฝ่ายค้าน คือ พรรคการเมืองที่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นรัฐบาล จะทำหน้าที่ฝ่านยค้านในสภา
(2) กลไกการตรวจสอบในสภาโดยสมาชิกวุฒิสภา
(3) กลไกการตรวจสอบในสภาโดยคณะกรรมาธิการที่สภาแต่งตั้ง
2) กลไกการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น กกต. ปปช. สตง. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
3) กลไกการตรวจสอบโดยภาคประชาชน กลไกนี้ไม่ได้มีฐานะตามกฎหมาย ไม่มีกฎหมายรับรองโดยตรง แต่่เป็นการรวมตัวของประชาชนผู้ตื่นตัวทางการเมือง
ปัญหา
เมื่อประชาชนได้คัดเลือกตัวแทนของประชาชน คือ เลือก สส. สว. เข้าไปทำหน้าที่ เป็นรัฐบาลและเป็นฝ่ายค้านแล้ว ฝ่ายรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะบริหาร มีคณะรัฐมนตรีเป็นบริหาร โดยการดำเนินการตาม "นโยบาย" ที่ได้เสนอต่อประชาชนไว้ก่อนเข้ามาเป็นรัฐบาล
แต่ "นโยบาย" ดังกล่าวถูกคิดออกแบบสร้างขึ้นมาโดย "พรรคการเมือง"
รัฐบาลก็มาจากพรรคการเมือง รัฐบาลทำงานโดยมีพรรคการเมืองควบคุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง
นโยบายของพรรคการเมือง ถูกออกแบบสร้างขึ้นมาโดยบุคคลที่เป็น นักคิด นักยุทธศาสตร์ ในพรรคการเมือง บางพรรคอาจใช้แนวทางการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้วนำมาพัฒนาเป็นนโยบาย บางพรรคความเปิดกว้างให้ประชาชนร่วมออกแบบนโยบาย แต่ขั้นขั้นตอนสุดท้าย ก็ขึ้นอยู่กับมติของพรรคการเมือง ในขั้นตอนการดำเนินงานทางการเมืองตามนโยบาย ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมกับการดำเนินงานแต่อย่างใด หรือมีส่วนร่วมก็เป็นส่วนน้อย
กล่าวได้ว่า "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ต่อนโยบายของพรรคการเมืองในภาคปฏิบัติ จึงมีไม่มากนัก
ยามเมื่อประชาชนมีปัญหา ทางแก้ปัญหาคือ การแก้ปัญหาด้วยตนเอง กับ การไปบอกรัฐบาลให้แก้ปัญหา ด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ เช่น การยื่นหนังสือ การยื่นข้อเสนอ การยื่นข้อเรียกร้อง ต่อรัฐบาล หากรัฐบาลไม่รับฟังปัญหา หรือแก้ปัญหาได้ไม่ทันเวลาประชาชนอาจใช้วิธีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา
การมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อพรรคการเมืองทำได้อีกวิธีหนึ่งคือ การบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองที่ตนเห็นดีเห็นงาม นิยมชมชอบ ทั้งการบริจาคโดยตรง และการบริจาคผ่านขั้นตอนการจ่ายภาษี
จะเห็นได้ว่า ประชาชน ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองในการติดตามผลการดำเนินงานของรัฐบาลได้ เพราะระบบพรรคการเมืองดำเนินงานโดยกรรมการบริหารพรรค และสมาชิกพรรคเป็นหลัก
ประเด็นปัญหา
ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือ ความเชื่่อมโยง (connectivity) และปฏิสัมพันธ์ (interactivity) ไม่มี หรือมีในระดับต่ำ
เมื่อไม่มี..ความเชื่่อมโยง
ระหว่าง ประชาชน กับ รัฐบาล
ระหว่าง ประชาชน กับ พรรคการเมือง
ก็ไม่มี..ปฏิสัมพันธ์
ระหว่าง ประชาชน กับ รัฐบาล
ระหว่าง ประชาชน กับ พรรคการเมือง
การถ่ายทอด..ปัญหาและความต้องการ
การรับรู้..ปัญหาปัญหาและความต้องการ
ของประชาชน..จึงไม่มี หรือ มีในระดับต่ำ
เมื่อปัญหา..ไม่ได้รับการแก้ไข
เมื่อความต้องการ..ไม่ได้รับการตอบสนอง
ประชาชนจึงเกิด..ความตึงเครียด ความกดดัน ความคับข้องใจ
ซึ่งจะแปรกลายไปเป็นพลังแห่งการ..เรียกร้อง คัดค้าน ต่อสู้
เพื่อให้..ปัญหา..ได้รับการแก้ไข
เพื่อให้..ความต้องการ..ได้รับการตอบสนอง
แนวคิดในการแก้ปัญหา
โลกยุคใหม่ เป็นโลกที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างสูงในด้าน การคมนาคม และ การติดต่อสื่อสาร
เหตุ (Causes)
ความเจริญก้าวหน้าทางการคมนาคม (Transportation Technology) ทำให้ พื้นที่กว้างไกล ไม่เป็นอุปสรรค การเดินทางจากเหนือจรดใต้ระยะทางสองพันกิโลเมตร เดินทางไปมาหาสู่กันได้ภายในเวลาไม่เกินสองชั่วโมง ด้วยเครื่องยินโดยสารโลว์คอสแอร์ไลน์
ความเจริญก้าวหน้าทางการติดต่อสื่อสาร ทำให้พื้นที่ (space) เวลา (time) และ จำนวนคน (man) ที่ต้องการติดต่อสื่อสาร ไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป ระบบการสื่อสารอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม เซลลูลาร์ ผ่านเครื่องสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้คนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่ว่าจะเวลาใด
- ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ภายในไม่กี่วินาที
- ผู้คนสามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ภายในไม่กี่วินาที
- ผู้คนสามารถรับข่าวสารจากคนอื่นได้ภายในไม่กี่วินาที
- ผู้คนสามารถแพร่กระจายข่าวสารจากคนๆ หนึ่ง ไปยังผู้คนทั่วโลกนับล้านคนได้ภายในไม่กี่วินาที
ผล (Effects)
ความเจริญก้าวหน้าทางการคมนาคม และ ความเจริญก้าวหน้าทางการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้ผู้คนในโลกนี้สามารถ
1. เชื่อมโยง (connectivity) ผู้คนทั่วโลกสามารถเชื่่อมโยงถึงกันได้ผ่านบุคคล กลุ่ม และเครือข่าย
2. สื่อสารโต้ตอบ (interactivity) ผู้คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารโต้ตอบแบบสองทางระหว่างกันได้ ผ่านช่องทางและเครื่องมือการสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต เซลลูลาร์ สมาร์ทโฟน
ผลกระทบสืบเนื่องตามมา (Consequence)
ความสามารถในการเชื่อมโยง (connectivity) และความารถในการสื่อสารโต้ตอบ (interactivity)
ทำให้ผู้คนเกิดความต้องการและปรารถนา (needs and wishes) ที่จะได้รับการตอบสนอง ดังนี้
1. ต้องการติดต่อสื่อสาร (communication) ผู้คนมีความต้องการติดต่อสื่อสารตลอดเวลา ไม่ว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าช่องทางใดช่องทางหนึ่ง
2. ต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (information) ผู้คนมีความต้องการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ โดยเฉพาะเรื่้องที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบโดยตรงต่อตัวบุคคลนั้น
3. ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (exchange) ผู้คนมีความต้องการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ข้อมูลระหว่างกัน ระหว่างตนเองกับผู้อื่น ระหว่างตนเองกับกลุ่ม ระหว่างคตนเองกับเครือข่าย ระหว่างตนเองกับสังคมภายนอก
4. ต้องการการแสดงออก (expression) ทั้งความคิดเห็นการอารมณ์ความรู้สึก
5. ต้องการมีส่วนร่วม (participation) ทั้งร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์
6. ต้องการร่วมมือในการดำเนินการ (collaboration) การมีส่วนร่วมเป็นเพียงรูปแบบวิธีการ แต่ความร่วมมือได้ผนวกเอาเรื่องจิตใจเข้าไปด้วย ผู้คนอยากร่วมมือกันในการทำสิ่งใดร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการ ความปรารถนา การเติมเต็มทางอารมณ์ความรู้สึก
ข้อเสนอ (Propose)
การแก้ปัญหาและการพัฒนาทางการเมืองไทยในยุคต่อไป
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..ระบบใดระบบหนึ่ง..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..รัฐสภา..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..พรรคการเมือง..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..รัฐบาล..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..พรรคการเมืองฝ่ายค้าน..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..ภาคประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง..เพียงสถานเดียว
หากแต่เราจะต้องสร้าง..
1. การมีส่วนร่วม (Participation) ระหว่าง..ประชาชน..กับ..รัฐสภา พรรคการเมือง รัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และภาคประชาชน
2. ความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่าง..ประชาชน..กับ..รัฐสภา พรรคการเมือง รัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และภาคประชาชน
3. ปฏิสัมพันธ์ (Interactivity) ระหว่าง..ประชาชน..กับ..รัฐสภา พรรคการเมือง รัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และภาคประชาชน
นี่คือ ยุทธศาสตร์หลักในการปฏิรูปประเทศ ตามที่ผมคิดในขณะนี้ โอกาสต่อไปจะได้ลงในรายละเอียดถึงรูปแบบและวิธีการ
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
15 พฤศจิกายน 2556
ท่ามกลางกระแสคัดค้านต่อต้านรัฐบาลในประเด็นเรื่อง การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดกฎหมายบ้านเมือง ที่มีกระแสการคัดค้านและการต่อต้านอย่างเชี่ยวกราก รุนแรง
หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว เราจะพบว่า ประชาชนไม่ได้คัดค้านรัฐบาล ไม่ได้ต่อต้านรัฐบาล เพราะรัฐบาลเข้ามาอย่างถูกต้องชอบธรรมตามการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลจึงมีความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจ มีความชอบธรรมในการครองอำนาจ และมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจ
แต่..ประชาชนคัดค้านและต่อต้าน การกระทำของรัฐบาลและรัฐสภาเสียงข้างมาก ซึ่งได้กระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม ขัดต่อหลักนิติธรรม ขัดต่อหลักกฎหมาย ขัดต่อประเพณีการปกครอง เป็นการทำลายระบบให้เสียไป ทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม
ท่ามกลางกระแสการคัดค้าน ปรากฏสุ้มเสียงเป็นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา และหาทางออกให้แก่ประเทศ แนวคิดที่สำคัญแนวคิดหนึ่งที่มีการเสนอกันอยู่ในห้วงเวลานี้คือ "การปฏิรูปประเทศไทย" (Thailand Reform) ซึ่งมีข้อคิดความเห็นมากกมาย
การปฏิรูปประเทศไทย เป็นข้อเสนอที่ดี..แต่มีคำถามตามมาว่า เราจะมีวิธีการทำอย่างไร เราจะทำให้ประชาชนเข้าใจ เห็นพ้อง ให้การสนับสนุน ให้ความร่วมมือได้อย่างไร ?
พิจารณาย้อนหลังไป 10 ปี มองไปที่กระบวนการทางการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ระบบและกลไกดำเนินไปอย่างไร มีปัญหาอย่างไร
ระบบ (system) ได้แก่
1. ระบบรัฐสภา ที่ประกอบด้วยตัวแทนของประชาชน ที่มาจากการเลือกตั้ง และการสรรหา ระบบรัฐสภาได้ใช้อำนาจแทนประชาชนในการ "คัดเลือก" คณะบุคคลเข้ามาเป็นฝ่ายบริหาร ที่เรียกว่า "รัฐบาล" อันประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
2. ระบบพรรคการเมือง ที่ประกอบด้วยสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนหนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
3. ระบบการตรวจสอบ เป็นระบบที่ได้ถูกออกแบบให้มีขึ้นไว้เพื่อการตรวจสอบ และถ่วงดุลย์การทำงานของรับบต่างๆ
4. ระบบการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นระบบที่ได้ถูกออกแบบให้มีขึ้นไว้เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ จากผลของการมีส่วนร่วมนั้น
กลไก (mechanism/tools) ได้แก่
กลไกการเลือกตั้ง เป็นการคัดเลือกตัวแทนของประชาชนให้เข้ามาใช้อำนาจในการบริหารประเทศ และตรวจสอบการบริหารประเทศ
1. กลไกการบริหาร เป็นการเข้ามาใช้อำนาจรัฐในการบริหารประเทศในนาม "รัฐบาล" ตามฉันทานุมัติจากประชาชน และตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
2. กลไกการตรวจสอบ เป็นเครื่องมือในการติดตาม ตรวจสอบ การทำงานของฝ่ายบริหาร ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามประเพณีการเมืองการปกครอง กลไกการตรวจสอบทำหน้าที่ทั้งการตรวจสอบและการถ่วงดุลย์การทำงานของรัฐบาล
1) กลไกการตรวจสอบในสภา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
(1) กลไกการตรวจสอบในสภาโดยพรรคการเมืองฝ่ายค้าน คือ พรรคการเมืองที่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นรัฐบาล จะทำหน้าที่ฝ่านยค้านในสภา
(2) กลไกการตรวจสอบในสภาโดยสมาชิกวุฒิสภา
(3) กลไกการตรวจสอบในสภาโดยคณะกรรมาธิการที่สภาแต่งตั้ง
2) กลไกการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น กกต. ปปช. สตง. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
3) กลไกการตรวจสอบโดยภาคประชาชน กลไกนี้ไม่ได้มีฐานะตามกฎหมาย ไม่มีกฎหมายรับรองโดยตรง แต่่เป็นการรวมตัวของประชาชนผู้ตื่นตัวทางการเมือง
ปัญหา
เมื่อประชาชนได้คัดเลือกตัวแทนของประชาชน คือ เลือก สส. สว. เข้าไปทำหน้าที่ เป็นรัฐบาลและเป็นฝ่ายค้านแล้ว ฝ่ายรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะบริหาร มีคณะรัฐมนตรีเป็นบริหาร โดยการดำเนินการตาม "นโยบาย" ที่ได้เสนอต่อประชาชนไว้ก่อนเข้ามาเป็นรัฐบาล
แต่ "นโยบาย" ดังกล่าวถูกคิดออกแบบสร้างขึ้นมาโดย "พรรคการเมือง"
รัฐบาลก็มาจากพรรคการเมือง รัฐบาลทำงานโดยมีพรรคการเมืองควบคุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง
นโยบายของพรรคการเมือง ถูกออกแบบสร้างขึ้นมาโดยบุคคลที่เป็น นักคิด นักยุทธศาสตร์ ในพรรคการเมือง บางพรรคอาจใช้แนวทางการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้วนำมาพัฒนาเป็นนโยบาย บางพรรคความเปิดกว้างให้ประชาชนร่วมออกแบบนโยบาย แต่ขั้นขั้นตอนสุดท้าย ก็ขึ้นอยู่กับมติของพรรคการเมือง ในขั้นตอนการดำเนินงานทางการเมืองตามนโยบาย ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมกับการดำเนินงานแต่อย่างใด หรือมีส่วนร่วมก็เป็นส่วนน้อย
กล่าวได้ว่า "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ต่อนโยบายของพรรคการเมืองในภาคปฏิบัติ จึงมีไม่มากนัก
ยามเมื่อประชาชนมีปัญหา ทางแก้ปัญหาคือ การแก้ปัญหาด้วยตนเอง กับ การไปบอกรัฐบาลให้แก้ปัญหา ด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ เช่น การยื่นหนังสือ การยื่นข้อเสนอ การยื่นข้อเรียกร้อง ต่อรัฐบาล หากรัฐบาลไม่รับฟังปัญหา หรือแก้ปัญหาได้ไม่ทันเวลาประชาชนอาจใช้วิธีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา
การมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อพรรคการเมืองทำได้อีกวิธีหนึ่งคือ การบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองที่ตนเห็นดีเห็นงาม นิยมชมชอบ ทั้งการบริจาคโดยตรง และการบริจาคผ่านขั้นตอนการจ่ายภาษี
จะเห็นได้ว่า ประชาชน ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองในการติดตามผลการดำเนินงานของรัฐบาลได้ เพราะระบบพรรคการเมืองดำเนินงานโดยกรรมการบริหารพรรค และสมาชิกพรรคเป็นหลัก
ประเด็นปัญหา
ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือ ความเชื่่อมโยง (connectivity) และปฏิสัมพันธ์ (interactivity) ไม่มี หรือมีในระดับต่ำ
เมื่อไม่มี..ความเชื่่อมโยง
ระหว่าง ประชาชน กับ รัฐบาล
ระหว่าง ประชาชน กับ พรรคการเมือง
ก็ไม่มี..ปฏิสัมพันธ์
ระหว่าง ประชาชน กับ รัฐบาล
ระหว่าง ประชาชน กับ พรรคการเมือง
การถ่ายทอด..ปัญหาและความต้องการ
การรับรู้..ปัญหาปัญหาและความต้องการ
ของประชาชน..จึงไม่มี หรือ มีในระดับต่ำ
เมื่อปัญหา..ไม่ได้รับการแก้ไข
เมื่อความต้องการ..ไม่ได้รับการตอบสนอง
ประชาชนจึงเกิด..ความตึงเครียด ความกดดัน ความคับข้องใจ
ซึ่งจะแปรกลายไปเป็นพลังแห่งการ..เรียกร้อง คัดค้าน ต่อสู้
เพื่อให้..ปัญหา..ได้รับการแก้ไข
เพื่อให้..ความต้องการ..ได้รับการตอบสนอง
แนวคิดในการแก้ปัญหา
โลกยุคใหม่ เป็นโลกที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างสูงในด้าน การคมนาคม และ การติดต่อสื่อสาร
เหตุ (Causes)
ความเจริญก้าวหน้าทางการคมนาคม (Transportation Technology) ทำให้ พื้นที่กว้างไกล ไม่เป็นอุปสรรค การเดินทางจากเหนือจรดใต้ระยะทางสองพันกิโลเมตร เดินทางไปมาหาสู่กันได้ภายในเวลาไม่เกินสองชั่วโมง ด้วยเครื่องยินโดยสารโลว์คอสแอร์ไลน์
ความเจริญก้าวหน้าทางการติดต่อสื่อสาร ทำให้พื้นที่ (space) เวลา (time) และ จำนวนคน (man) ที่ต้องการติดต่อสื่อสาร ไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป ระบบการสื่อสารอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม เซลลูลาร์ ผ่านเครื่องสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้คนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่ว่าจะเวลาใด
- ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ภายในไม่กี่วินาที
- ผู้คนสามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ภายในไม่กี่วินาที
- ผู้คนสามารถรับข่าวสารจากคนอื่นได้ภายในไม่กี่วินาที
- ผู้คนสามารถแพร่กระจายข่าวสารจากคนๆ หนึ่ง ไปยังผู้คนทั่วโลกนับล้านคนได้ภายในไม่กี่วินาที
ผล (Effects)
ความเจริญก้าวหน้าทางการคมนาคม และ ความเจริญก้าวหน้าทางการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้ผู้คนในโลกนี้สามารถ
1. เชื่อมโยง (connectivity) ผู้คนทั่วโลกสามารถเชื่่อมโยงถึงกันได้ผ่านบุคคล กลุ่ม และเครือข่าย
2. สื่อสารโต้ตอบ (interactivity) ผู้คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารโต้ตอบแบบสองทางระหว่างกันได้ ผ่านช่องทางและเครื่องมือการสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต เซลลูลาร์ สมาร์ทโฟน
ผลกระทบสืบเนื่องตามมา (Consequence)
ความสามารถในการเชื่อมโยง (connectivity) และความารถในการสื่อสารโต้ตอบ (interactivity)
ทำให้ผู้คนเกิดความต้องการและปรารถนา (needs and wishes) ที่จะได้รับการตอบสนอง ดังนี้
1. ต้องการติดต่อสื่อสาร (communication) ผู้คนมีความต้องการติดต่อสื่อสารตลอดเวลา ไม่ว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าช่องทางใดช่องทางหนึ่ง
2. ต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (information) ผู้คนมีความต้องการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ โดยเฉพาะเรื่้องที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบโดยตรงต่อตัวบุคคลนั้น
3. ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (exchange) ผู้คนมีความต้องการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ข้อมูลระหว่างกัน ระหว่างตนเองกับผู้อื่น ระหว่างตนเองกับกลุ่ม ระหว่างคตนเองกับเครือข่าย ระหว่างตนเองกับสังคมภายนอก
4. ต้องการการแสดงออก (expression) ทั้งความคิดเห็นการอารมณ์ความรู้สึก
5. ต้องการมีส่วนร่วม (participation) ทั้งร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์
6. ต้องการร่วมมือในการดำเนินการ (collaboration) การมีส่วนร่วมเป็นเพียงรูปแบบวิธีการ แต่ความร่วมมือได้ผนวกเอาเรื่องจิตใจเข้าไปด้วย ผู้คนอยากร่วมมือกันในการทำสิ่งใดร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการ ความปรารถนา การเติมเต็มทางอารมณ์ความรู้สึก
ข้อเสนอ (Propose)
การแก้ปัญหาและการพัฒนาทางการเมืองไทยในยุคต่อไป
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..ระบบใดระบบหนึ่ง..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..รัฐสภา..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..พรรคการเมือง..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..รัฐบาล..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..พรรคการเมืองฝ่ายค้าน..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ..เพียงสถานเดียว
เราไม่ควร..ฝากพันธกิจและภาระหน้าที่ไว้ที่..ภาคประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง..เพียงสถานเดียว
หากแต่เราจะต้องสร้าง..
1. การมีส่วนร่วม (Participation) ระหว่าง..ประชาชน..กับ..รัฐสภา พรรคการเมือง รัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และภาคประชาชน
2. ความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่าง..ประชาชน..กับ..รัฐสภา พรรคการเมือง รัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และภาคประชาชน
3. ปฏิสัมพันธ์ (Interactivity) ระหว่าง..ประชาชน..กับ..รัฐสภา พรรคการเมือง รัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และภาคประชาชน
นี่คือ ยุทธศาสตร์หลักในการปฏิรูปประเทศ ตามที่ผมคิดในขณะนี้ โอกาสต่อไปจะได้ลงในรายละเอียดถึงรูปแบบและวิธีการ
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
15 พฤศจิกายน 2556
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น