นักกฎหมาย กับ อิทธิพลของสิ่งเร้า !!
เมื่อเจอสิ่งเร้าบางอย่าง นักกฎหมายก็เกิดอาการ "หลงใหล" ได้เหมือนคนธรรมดาทั่วไป สามารถเผลอไผลพูดในสิ่งที่คาดไม่ถึง ซึ่งตนเองจะไม่พูดในยามที่มีสติ และสามารถเผลอไผลกระทำในสิ่งที่ตนเองจะไม่กระทำในยามมีสติ
สิ่งเร้าที่มีอิทธิพลอย่างมาก 10 ประการ ได้แก่
1. ไมโครโฟนที่นักข่าวรุมล้อมขอสัมภาษณ์อย่างคึกคัก
2. ไมโครโฟนที่ติดเสื้อเนื่องจากการได้รับเชิญไปพูดคุยในรายการสัมภาษณ์ข่าวโทรทัศน์
3. โทรศัพท์ขอสัมภาษณ์ออกอากาศสดในรายการข่าวโทรทัศน์
4. ไมโครโฟนที่หน้าเวทีการชุมนุมที่มีผู้คนหลายหมื่นคนร่วมชุมนุม ซึ่งพร้อมที่จะทำตามคำชี้นำบางอย่าง
5. เสียงเชียร์กระหึ่มกึกก้องของผู้ชุมนุมทางการเมืองหลายหมื่นคน
6. อำนาจในการมีสิทธิพูดชี้นำสังคม ชี้นำมวลชน ชี้นำผู้คนให้คล้อยตาม ทำตาม ราวกับมีไม้เท้ากายสิทธิ์
7. การได้รับข้อเสนอให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น ที่ปรึกษา ซึ่งมีเงินค่าตอบแทนสูง
8. การได้รับเกียรติให้ไปประชุมในทำเนียบรัฐบาล
9. การได้รับเกียรติให้ไปพบผู้นำรัฐบาลที่ตึกไทยคู่ฟ้า
10. บรรยากาศทางการเมืองที่ร้อนแรง คึกคัก มีสีสัน ในขณะที่ผู้คนในสังคมอยากฟังความคิดเห็นของนักกฎหมาย
อันที่จริงแล้วปัจจัยทั้ง 10 ประการข้างต้น มีอิทธิพฃต่อบุคคลในวิชาชีพอื่น นอกจากวิชาชีพนักฎหมายด้วย แต่เนื่องจากความคิดเห็นของนักกฎหมาย มีอิทธิพลต่อสังคมมาก และนักกฎหมายก็รู้ความจริงเรื่องนี้ดี สิ่งเร้าทั้ง 10 ประการนี้จึงมีอิทธิพลต่อนักกฎหมายมากกว่าผู้คนในวิชาชีพอื่น และประชาชนทั่วไป
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
21 พฤศจิกายน 2556
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น