ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อาวุธทางการเมือง 20 รูปแบบ

การต่อสู้กันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็น บุคคล ประชาชน พรรคการเมือง จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ "อาวุธ" ในทางการเมืองาวุธนี้คือ "อาวุธทางการเมือง"

ความหมายของอาวุธโดยทั่วไป

อาวุธ หมายถึง สิ่งที่มองเห็นได้โดยสภาพของตัวมันเองว่าเป็นอาวุธ และหมายรวมทั้ง สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้โดยสภาพของตัวมันเองว่าเป็นอาวุธ แต่สามารถนำมาใช้เยี่ยงอาวุธได้

สิ่งที่มองเห็นได้โดยสภาพของตัวมันเองว่าเป็นอาวุธ เช่น มีด ขวาน ปืน

สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้โดยสภาพของตัวมันเองว่าเป็นอาวุธ แต่สามารถนำมาใช้เยี่ยงอาวุธได้ เช่น ส้อม ฆ้อนปอนด์ ไม้กอล์ฟ

ความหมายของอาวุธทางการเมือง

ก่อนที่เราจะพูดถึงความหมายของอาวุธทางการเมือง ผมอยากจะทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของอาวุธเสียก่อน ขึ้นชื่อว่า อาวุธ ไม่ว่าจะเป็นที่มองเห็นได้โดยสภาพของตัวมันเองว่าเป็นอาวุธหรือ สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้โดยสภาพของตัวมันเองว่าเป็นอาวุธ แต่สามารถนำมาใช้เยี่ยงอาวุธได้ทั้งสองชนิดล้วนมีความมุ่งหมายของการใช้เพื่อให้ผู้ถูกอาวุธมากระทบ หรือถูกทำร้ายด้วยอาวุธ เกิดการบาดเจ็บแก่ร่างกายเป็นด้านหลัก แต่ในทางการเมืองสิ่งที่เราเรียกว่าอาวุธกลับมีความหมายกว้างขวางกว่านั้น ดังที่ผมจะได้นำเสนอต่อไปตามลำดับ

อาวุธทางการเมือง หมายถีง สิ่งที่มองเห็นได้โดยสภาพของตัวมันเองว่าเป็นอาวุธที่สามารถนำมาใช้ในการต่อสู้ทางการเมืองได้ นอกนี้ยังหมายรวมทั้ง สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้โดยสภาพของตัวมันเองว่าเป็นอาวุธ แต่สามารถนำมาใช้เยี่ยงอาวุธได้ การโจมตี การด่าทอ การเสียดสี การกดดัน การประท้วง การขับไล่

ประเภทของอาวุธทางการเมือง

ประเภทของอาวุธทางการเมือง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. อาวุธที่เกิดขึ้นโดยสภาพตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด 
     แบ่งออกเป็น 7 รูปแบบ
     1. นโยบาย
     2. การแถลงนโยบาย
     3. การตั้งกระทู้ถาม
     4. การอภิปรายไม่ไว้วางใจ
     5. การยุบสภา
     6. การยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
     7. การดำเนินคดีทางศาลรัฐธรรมนูญ

2. อาวุธที่เกิดขึ้นโดยการประดิษฐ์ออกแบบโดยนักการเมืองและประชาชน
    แบ่งออกเป็น 20 รูปแบบ
      (1) การเยาะเย้ยถากถาง (sarcasm)
      (2) การเหน็บแนม เสียดสี ล้อเลียน (irony, satire, parody)
      (3) การด่า (abuse)
      (4) การประณาม (condemn)
      (5) การประจาน (defame)
      (6) การประท้วง (protest)
      (7) การชุมนุมทางการเมือง (assembly)
      (8) การขับไล่ (expulsion)
      (9) การรุมล้อมกดดัน (crowd / encircle)
      (10) การใช้เสียงรบกวน (noise pollution)
      (11) การตะโกนใส่หน้าหรือการตะคอกใส่หน้า (bawl / snarl at)
      (12) การขู่ให้กลัว (browbeat)
      (13) การทำลายขวัญ (discourage)
      (14) การทำให้เสียเกียรติเสื่อมความน่าเชื่อถือ (discredit)
      (15) การแบล็คเมล์ (black mail)
      (16) การเปิดโปง (disclose)
      (17) อารยะชัดขืน (civil disobedience)
      (18) การทำลายทรัพย์สิน (vandalism)
      (19) การทำร้ายร่างกาย (assault)
      (20) การฆ่า (massacre)

       การใช้ยุทธการนกหวีด การเป่านกหวีดใส่หน้า การรุมล้อมเป่านกหวีด เป็นรูปแบบที่เริ่มนำมาใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลายในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2556 มีลักษณะใกล้เคียงกับการรุมล้อมกดดัน (crowd / encircle)
การใช้เสียงรบกวน (noise pollution) และการตะโกนใส่หน้า

3. อาวุธที่เกิดขึ้นโดยการประดิษฐ์ออกแบบโดยสื่อมวลชน
    แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ
      (1) การตั้งฉายา (name calling)
      (2) การตีตรา (labeling)
      (3) การวิจารณ์โจมตี (criticism)
      (4) การเสียดสีล้อเลียน (irony)
      (5) การเปิดเผยความจริง (disclose)


             
                                           เครดิตภาพ คุณชัย ราชวัตร นสพ.ไทยรัฐ

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
18 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค