ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

งาน กับ เรียน..เราจะสร้างความสมดุลย์ และความสุขในชีวิตอย่างไร

งาน..กับ..เรียน เลือกอะไรดี?

เราจะวางน้ำหนักอย่างไร?
เราจะสร้างสมดุลย์อย่างไร?
ระหว่าง การทำงาน กับ การเรียน

การทำงาน = ชีวิต รายได้ การมีกินมีใช้ ความอยู่รอด การเลี้ยงดูผู้ที่เรามีหน้าที่รับผิดชอบ การหาความสุขส่วนตัวบางส่วน และการสร้างสรรค์ในสิ่งที่เราปรารถนา

การเรียน = การเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ การขยายโลกทัศน์ การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน การได้รับโอกาสทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น การมีโอกาสที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาศักยภาพในการแสวงหาความรู้ใหม่และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ 

ภายใต้ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) กรอบเวลา 3 ปีเท่าๆกัน

Choice 1 ถ้า..วางน้ำหนักที่การทำงานกับการเรียน "เท่าๆกัน" 50:50 ผลที่ได้ = ไปเรื่อยๆ ไม่โดดเด่นทั้งสองด้าน ไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิต บางทีอาจไม่ได้ดีทั้งสองด้าน พอ 5 ปีผ่านไปไม่มีอะไรดีขึ้น งานทรงๆ เรียนโทรม อาจเรียนไม่จบ แถมยังอาจทรุดโทรมทั้งสองด้าน โอกาสรุ่งเรืองก้าวหน้าในชีวิตบั้นปลายมองไม่เห็น สรุปคือ งานไม่เด่น-เรียนไม่ดี ทุกข์กับสุข มาพร้อมๆกัน สุขทุกวัน-ทุกข์ทุกวัน

Choice 2 ถ้า..วางน้ำหนักที่การทำงานกับการเรียน "เน้นงาน" 70:30 ผลที่ได้ = งานดี เรียนด้อย งานก้าวหน้าในระดับดี เกรด B มีรายได้ดี สนุกกับงาน ตื่นเต้น ท้าทาย ได้ลอง ได้ไปในสถานที่ต่างๆ ได้ใช้พลังความสามารถตัวเอง มีความสุขในการใช้ชีวิต แต่อาจพลาดโอกาสได้รับตำแหน่งสำคัญ หรือพลาดโอกาสในการทำงานทั้งๆ ที่เราอยากทำเพราะไม่มีวุฒิการศึกษา ด้านการเรียนไปเรื่อยๆและมีแนวโน้มอย่างมีนัยสำคัญที่จะเรียนไม่จบมากกว่าเรียนจบ โอกาสรุ่งเรืองก้าวหน้าในชีวิตบั้นปลายไม่ชัดเจน สรุปคือ งานดี-เรียนด้อย สุขก่อน-ทุกข์ตามมาทีหลัง

Choice 3 ถ้า..วางน้ำหนักที่การทำงานกับการเรียน "เน้นเรียน" 70:30 ผลที่ได้ = เรียนเด่นแต่งานด้อย เรียนก้าวหน้าในระดับดี เกรด B การงานอาจไม่ก้าวหน้า แต่ทรงตัว เกิดความรู้สึกน้อยใจ อิจฉาเพื่อนที่ก้าวหน้าแซงเราไป มีรายได้ทรงตัว มีความสุขในการใช้ชีวิตน้อยลง เพราะเรื่องเรียนมักสร้างความเครียดมากกว่าความสุข หากเลือกแนวทางนี้มีแนวโน้มอย่างมีนัยสำคัญที่จะเรียนจบมากกว่าเรียนไม่จบ แต่เมื่อเรียนจบจะให้ความสุขเหลือล้น เกิดความภาคภูมิใจมาก เมื่อเรียนจบแล้วมีเสรีภาพ อยากทำอะไรก็ได้ทำ โอกาสความก้าวหน้าในการทำงานจะตามมาหลังเรียนจบ โอกาสในการหาเงินหารายได้เพิ่มจะตามมาหลังเรียนจบ โอกาสรุ่งเรืองก้าวหน้าในชีวิตบั้นปลายมองเห็นชัดเจนกว่า สรุปคือ เรียนดี-งานไม่เด่น ทุกข์ก่อน-สุขตามมาทีหลัง

แต่ละคนต้องประเมินตัวเองว่า ชีวิตอยากได้อะไร

แต่ถ้าถามผม..ผมจะเลือก Choice 3 ครับ

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
22 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค