ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รูปแบบของข่าวสารและการสื่อสาร ในสภาวะวิกฤติเด็กนักฟุตบอลกับโค้ช 13 คน ติดอยู่ในถ้ำหลวงเชียงราย

เหตุเกิดที่ถ้ำหลวง ขุนน้ำ-นางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย
7 กรกฎาคม 2561


เหตุการณ์เด็กนักฟุตบอล 12 คนกับโค้ช ติดอยู่ในถ้ำหลวงที่น้ำกำลังท่วม ห่างจากปากถ้ำประมาณ 2 กิโลเมตร ลึกลงไปจากพื้นผิวโลกประมาณ 800 เมตร ถึง 1 กิโลเมตร สร้างความหวาดวิตกในความปลอดภัยของเด็ก

กระทั่งผู้เชี่ยวชาญด้านการดำน้ำในถ้ำชาวอังกฤษ 2 คนได้ไปพบ เด็ก 12 คนกับโค้ช บริเวณเนินนมสาว ที่ห่างจากหาดพัทยาบีชไปประมาณ 400 เมตร คนไทยและคนต่างชาติทั่วโลกที่สนใจติดตามข่าวนี้ ต่างพากันโล่งใจไปเปลาะหนึ่ง

ผู้คนเริ่มวิพกาษ วิจารณ์ว่า ใครผิด ใครถูก ใครเป็นต้นเหตุ ใครเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เด็กเข้าไปติดอยู่ในถ้ำ บางคนตำหนิโค้ช ลงความเห็นว่าเป็นความผิดของโค้ชที่อาวุโสกว่าแต่กลับไม่ตักเตือน และพาเด็กออกมาก่อนที่จะเกิดน่ำท่วมทำให้ทุกคนติดอยู่ในถ้ำ บางคนโทษเด็กที่ซุกซน คึกคะนอง ไม่รู้จักกาละเทศะ บางคนโทษหน่วยงานภาครัฐที่ไม่ออกประกาศเตือนให้ชัดเจน ไม่ห้ามเข้าถ้ำเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ


ในสภาวะวิกฤติที่เสี่ยงต่อความเป็นความตายเช่นนี้ พลเมืองอินเทอร์เน็ต พลเมืองบนโลกออนไลน์ และโลกการสื่อสารสังคมออนไลน์ ได้มีการพูดคุย ถกเถียง อภิปราย แสดงทัศนะของตนเอง ในลักษณะต่าง ๆ ด้วยทัศคติต่าง ๆ ด้วยท่าทีต่าง ๆ มากขึ้น

การถกเถียงกันของพลเมืองสังคมออนไลน์เริ่มขยายวงกว้าง หาข้อยุติไม่ได้ เพราะทั้งหมดไม่ใช่ข้อเท็จจริง ไม่ใช่สิ่งที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ไม่ใช่หลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการแสดงทัศนะ เป็นการแสดงความคิดเห็น

จนกระทั่ง เกิดเหตุการสูญเสียทหารหน่วยซีล 1 นาย คือ จ่าเอก สมาน กุนัน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 เวลา 01.00 น. ในขณะที่กำลังปฏิบัติภารกิจ ขนขวดออกซิเจนเข้าไปวางในถ้ำ ขากลับขาดออกซิเจน หมดสติ และไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล

ผู้คนในโลกออนไลน์ยิ่งถกเถียงกันมากขึ้น ว่าใครเป็นต้นเหตุ ใครเป็นคนผิด

บทความนี้มิได้มุ่งนำเสนอหาความจริงว่า ใครเป็นต้นเหตุ ใครผิด ใครถูก แต่มุ่งนำเสนอ "สาร" หรือ "ข่าวสาร" ประเภทต่าง ๆ ที่มีการสื่อสารกันบนโลกสังคมออนไลน์ รวมทั้งวิธีการที่เขาสื่อสารกัน ว่ามีรูปแบบใดบ้าง
..................

บนเส้นทางของการสื่อสารในสังคมไทย กรณีเด็กนักฟุตบอล 12 คน กับโค้ช ติดอยู่ในถ้ำหลวงในขณะฝนตกหนัก น้ำกำลังท่วม ภาครัฐ ภาคเอกชน ทหาร หน่วย SEAL ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ กำลังแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ คนไทยทั้งประเทศสนใจติดตามข่าวสาร

ได้บังเกิดรูปแบบของข่าวสารและการสื่อสารหลายรูปแบบ คือ

1. ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ความพยายาม (Thinking and Attempt) ที่จะช่วยเหลือเด็กผู้ประสบภัยออกมาให้ได้และปลอดภัยที่สุด

2. องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (Knowledge) ที่จะนำมาให้ในการช่วยเหลือเด็กผู้ประสบภัย

3. ศักยภาพของบุคคล (Human Potential) ขีดความสามารถของบุคคล ทักษะ ปรสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ความกล้าหาญ ความทุ่มเท ความเสียสละ ความอดทน ของบุคคลที่เป็นทีมช่วยเหลือ

4. องค์ความรู้เสริมเพิ่มเติม (Additional idea) ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ จากผู้มีประสบการณ์ จากนักวิเคราะห์

5. กำลังใจ (Moral support) แรงใจ แรงเสริม แรงหนุน พลังความรัก พลังความสามัคคี คุณค่าทางจิตใจ

6. ความคิดเห็น การวิพากษ์ วิจารณ์ด้านบวก (Positive discussion) อันเป็นการเสนอในเชิงสร้างสรรค์ อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจ ความเห็นใจ ความสงสาร ความเมตตา ความผูกพัน ความปรารถนาดี ความอบอุ่น ท่าทีที่พร้อมจะช่วยเหลือ ท่าทีที่พร้อมจะสนับสนุน

7. ความคิดเห็น การวิพากษ์ วิจารณ์ด้านลบ (Negative discussion) อันเป็นการเสนอในเชิงสร้างอารมณ์ ขยายอารมณ์ ขยายความรู้สึก ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ความชอบไม่ชอบ ความพึงพอใจไม่พึงพอใจ ความหมั่นไส้ ความชิงชัง ความเกลียด ทัศนคติต่อต้าน ทัศนคติหวาดระแวง ทัศนคติไม่ไว้วางใจ มักแสดงออกในทางเสียดสี ถากถาง เยาะเย้ย ประณาม ปรามาส ดูถูก หยามหมิ่น ไม่ให้เกียรติ ไม่เคารพศักดิ์ศรี ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ

8. อารมณ์แบบดรามา (dramatization) เป็นการแสดงออกทางความคิดเห็นและการแสดงออกทางอารมณ์ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสะเทือนใจ ความโศกเศร้า ความน่าสงสาร ความอ่อนแอ ความสิ้นหวัง ความท้อแท้ การใช้อารมณ์และความรู้สึกในการนำเสนอข้อมูล บอกเล่า เปิดประเด็นถกเถียง โต้เถียง อภิปรายเชิงอารมณ์ ในประเด็นที่มองแล้วไม่น่าจะประเด็น ในประเด็นที่ไม่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ใด ๆ ต่อการเกิดความรัก ความสามัคคี ความร่วมมือ ความหวัง กำลังใจ ส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ตรงกันข้าม คือ เกิดความแตกแยก แตกสามัคคี ไม่สามารถสร้างข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้

9. ความเชื่อ (Beliefs) เป็นข่าวสารที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ พิธีกรรม ความลี้ลับ ความฉงน ความสงสัย ความหวั่นไหวทางจิตใจ ความต้องการพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ ความต้องการความช่วยเหลือจากสิ่งเร้นลับจากสิ่งที่มองไม่เห็นจากสิ่งที่เหนือธรรมชาติ

10. ปาฏิหารย์ (Miracle) เป็นข่าวสารที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการอ้อนวอน การขอความช่วยเหลือ การขอความเมตตาจากฟ้าดิน การพึ่งพาโชคชะตา การตั้งความหวังในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างพลิกความคาดหมาย

ข่าวสารทั้ง 10 รูปแบบนี้ เกิดขึ้นในกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามพันธกิจ (Mission) ตามอำนาจหน้าที่ (Authority)
บทบาทหน้าที่ (Role) ตามความคิด จินตนาการ ความจำเป็น (necessary) ความต้องการ (needs) ความอยาก (wants) รวมทั้งแตกต่างกันไปตามค่านิยม (value) ทัศนคติ (attitude) ตลอดจนแตกต่างกันไปตามบริบททางสังคม (social context) และบริบททางวัฒนธรรม (cultural context)

ข่าวสารทั้ง 10 รูปแบบส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ดี เพราะข่าวสารและการสื่อสารแต่ละรูปแบบ ต่างทำหน้าที่ (functions) แตกต่างกัน

การทำหน้าที่ของข่าวสารและการสื่อสารทั้ง 10 รูปแบบ มีหลายประการ คือ

การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ การสร้างองค์ความรู้ การใช้เทคโนโลยี การสร้างความคิด การเกิดความคิดสร้างสรรค์ การกระตุ้นประกายความคิด การสร้างความเข้าใจ การกระตุ้นให้เกิดพลังความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

การกระตุ้นให้เกิดความรักความสามัคคี การสร้างความเชื่อถือ การสร้างความศรัทธา การสร้างความพึงพอใจ การเกิดความหวัง การเกิดกำลังใจ การคลายความทุกข์โศก การปลอบประโลมจิตใจ

การสร้างความพึงพอใจทางอารมณ์ การระบาย การสร้างความรู้สึกสำคัญให้ตัวเอง การยกย่องตนเอง การยกตนข่มท่าน การสร้างความรุนแรง การสร้างความโกรธ การสร้างความสะใจ การตีวัวกระทบคราด การทำลายคุณค่าบุคคลอื่น การทำลายศักดิ์ศรีบุคคลอื่น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในส่วนนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางอารมณ์ส่วนตัวมากกว่าการสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

ไม่มีอะไรถูก ไม่มีอะไรผิดหรอก มีแต่อะไรสร้างคุณประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์มากกว่ากัน อะไรสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมมากกว่ากัน อะไรสร้างคุณประโยชน์ต่อโลกใบนี้มากกว่ากัน

รศ.ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
กรรมการประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
E-mail: nattawat.comart@gmail.com
Mobile Phone: 098-510-5409

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค