ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

BIG MAN AND BIG NAME วีรบุรุษ หรือ คนดัง

BIG MAN AND BIG NAME
วีรบุรุษ หรือ คนดัง
..............................................




สถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นต่อเด็กนักฟุตบอลทีมหมูป่าอะคาเดมี 12 คน กับโค้ช ที่เข้าไปติดอยู่ในถ้าหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นเหตการณ์ที่น่าตกใจ น่าหวาดวิตกต่อความปลอดภัยของเด็ก

กลายเป็นภารกิจสำคัญ ของหน่วยงานภาครัฐ ทหารเรือ หน่วย SEAL ทหารบก ตำรวจ แพทย์ พยาบาล ฝ่ายปกครอง กรมอุทยาน กรมน้ำบาดาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการดำน้ำ ผู้เขี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครพลเรือน ที่ร่วมมือรวมพลังกันช่วยชีวิตเด็ก

สถานการณ์คับขันจึงปรากฏเงาร่างของบุคคลผู้กล้าหาญ ผู้กระทำการด้วยความเก่งกล้าสามารถ เสียสละ ทุ่มเทความพยายาม เพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น

ขณะเดียวกันก็ปรากฏเงาร่างของผู้ที่มีความปรารถนาส่วนตัว Ambition ที่ต้องการมีชื่อเสียง ต้องการเป็นคนดัง

ถ้าคุณเป็นผู้มีความสามารถ มีความซื่อสัตย์ กล้าหาญ เสียสละ เข้มแข็ง อดทน ไม่หวาดกลัว ไม่กลัวความเจ็บปวด ไม่กลัวแม้ความตาย

หากคุณได้กระทำการโดยอาศัยคุณสมบัติของตนเองดังกล่าว ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากภยันตราย จากภัยคุกคามอันร้ายแรง หรือได้แก้ไขสถานการณ์ปัญหาที่วิกฤติ คับขัน เสี่ยงภัย เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตของผู้คนจำนวนมากหรือแม้เพียงคนเดียว

แม้ตนเองต้องเจ็บปวด ยากลำบาก ทุกข์กาย ทุกข์ใจ แต่เพื่อให้เกิดผลสำเร็จก็ยินที่ดีที่จะทำ

คุณคือ "ผู้ยิ่งใหญ่" หรือ "BIG MAN" ประชาชนจะเรียกคุณว่า "วีรบุรุษ" หรือ "ฮีโร่" "HERO"

แต่ถ้าคุณมิได้มีคุณสมบัติดังกล่าว มิได้กระทำการอันกล้าหาญ เสียสละดังกล่าว มิได้ลงมือช่วยเหลือใครเลย แต่คุณกลับได้รับการเชิดชู ส่งเสริม สนับสนุน โดยการเผยแพร่ข่าวสาร โดยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การ propaganda โดยใช้พลังอำนาจการสื่อสาร จากสื่อมวลชน จากสื่อนานาชนิด เพื่อสร้างสถานภาพ สร้างภาพลักษณ์

รวมไปถึงการวางแผน วางกลวิธี โดยตนเอง โดยลูกน้อง โดยผู้ที่ต้องการประจบเอาใจนาย โดยบุคคลใกล้ชิดที่หวังผลประโยชน์ โดยบริษัทโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยสื่อมวลชนที่ทุรยศต่อวิชาชีพ

เพื่อให้เป็นข่าว เพื่อให้เป็นผู้นำที่โดดเด่น เพื่อให้เป็นผู้ที่ริเริ่ม เพื่อให้ได้รับการยกย่อง ได้รับการเชิดชู ได้รับการสถาปนา ได้เทิดเกียรติ และอวยยศ โดยปราศจากการทำทำอันกล้าหาญนั้นแลย

คุณคือ "ผู้มีชื่อเสียง" คุณคือ BIG NAME ประชาชนจะเรียกคุณว่า "คนดัง" แต่คุณไม่ใช่ "วีรบุรุษ" คุณไม่ใช่ "ฮีโร่" HERO

คุณอาจจะเป็นฮีโร่ได้เพียงชั่วข้ามคืน ด้วยการสนับสนุนของสื่อมวลชน และการโฆษณาประชาสัมพันธ์

แต่จะเป็นฮีโร่ได้ แค่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ตราบที่ผู้คนยังไม่รู้ความจริง และยังไม่มีใครกระชากหน้ากากคุณออกมา

จริงอยู่ที่ใคร ๆ ก็เป็นฮีโร่ได้ ถ้าบังเอิญมาอยู่ถูกที่ถูกเวลา แต่มันเป็นได้ไม่นาน เพราะตัวตนของเขามันไม่ใช่

แม้คุณจะเป็นคนทีชื่อเสียงขึ้นมา เราไม่ถือว่าคุณเป็นฮีโร่ แต่สังคมจะเรียกคุณว่า ACCIDENTAL HERO

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค