ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ฤาษีแปลงสาร

ฤาษีแปลงสาร
...................

สิ่งที่เป็น "ความรู้" ไม่ทำอันตรายผู้คนและสังคม

แต่สิ่งที่ทำอันตรายผู้คนและสังคม คือ "ความไม่รู้"

การทำให้คนไม่รู้ ด้วยวิธีการ "แปลงสาร" จาก "ความรู้" ให้กลายเป็น "ความคิดเห็น" และ "อารมณ์"

เพราะความสามารถของมนุษย์ในการ "แปลงสาร" โดยการเล่าเรื่องเสียใหม่ ใช้กลวิธีดัดแปลง ต่อเติม เสริมแต่ง ปรงุรส ขยายความ เพิ่ม ลด เน้น ผ่อน ชักนำ จัดหาองค์ประกอบอื่นเข้ามาเสริม

สิ่งที่เป็นความรู้ จึงถูกนำมาเล่าขาน อย่างมีอรรถรส สร้างอารมณ์ตื่นเต้น สนุกสนาน สุข เศร้า สะเทือนอารมณ์

อันที่จริงแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์กายภาพ ธรณีวิทยา เทคโนโลยี นวัตกรรม ที่สามารถนำมาเรียนรู้ ให้เกิดประโยชน์ในวันข้างหน้าได้อย่างมีคุณค่ามหาศาล เช่น หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการช่วยชีวิตมนุษย์จากสถานการณ์วิกฤติ

แต่บริบททางสังคมและวัฒนธรรม สอนให้เราประนีประนอม หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับปัญหา หลีกเลี่ยงการศึกษาปัญหาที่สาเหตุ ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ ใช้เสียงคนส่วนใหญ่ที่ปรากฏในสื่อมวลชนเป็นฐานสนับสนุน ใช้ความหวังดีเป็นเกราะกำบัง

ทำให้เราจำยอม "ปิดปาก" ตนเองให้เงียบ ไม่กล้าพูดถึงความจริงที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นความจริงในมิติของความรู้ แม้จะเป็นมิติที่สร้างสรรค์ แม้จะเป็นมิติที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ก็ไม่อาจพูดถึงมันได้

แต่ในบางสังคมที่เจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ สิ่งนี้จะถูกนำมาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำความเข้าใจระบบความเป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์ (causality) ศึกษาสาเหตุ-ผล เพื่อค้นพบความรู้ใหม่ หรือทบทวนความรู้เก่า

เพื่อนำความรู้นั้นมาเผยแพร่ ให้การศึกษา สร้างความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อความตระหนัก เพื่อความเข้าใจ เพื่อการแก้ไขปัญหาของตนเองได้

แต่เพราะสังคมไทยมีความถนัดในวิชา "ฤาษีแปลงสาร" ใช้กลวิธีแก้ปัญหาทางอ้อม หลีกเลี่ยงที่จะพูดความจริง ปล่อยให้สถานการณ์คลี่คลายไปในตัวของมันเอง

เราจึงถูกจำกัดพื้นที่ในการคิด การคุย การอภิปราย การทำความเข้าใจ ข้อเท็จจริง ความจริง สาเหตุ-ผล ของสิ่งที่เกิดขึ้น

ทำให้เราถูกจำกัดที่จะเรียนรู้เพื่ออธิบาย (explain) เพื่อทำนาย (predict) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

13 กรกฎาคม 2561 11.59 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค