ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บัตรถุงทอง

ผมเคยพูดในห้องเรียนแริญญาโท พูดคุยนอกรอบในมื้ออาหารกับนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก รวมทั้งมิตรสหายหลายท่านว่า

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐนี่แหละ คือ อาวุธสำคัญ เครื่องมือสำคัญ ยุทธศาสตร์สำคัญ ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างการพัฒนาที่ฐานราก

โดยมีสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อนคือ ต้องทำให้บัตรนี้มีคุณสมบัติเป็น "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" หรือ "บัตรดิจิทัล" เสียก่อน ซึ่งมันอยู่ในขีดความสามารถของทีมเทคโนโลยีของรัฐอยู่แล้ว

รัฐยังสามารถสร้างความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - บางมด

ทั้งยังร่วมมือกับ AIS DTAC TRUE JUSMIN อีกทั้งธนาคารกีงไทย กสิกรไทย กรุงเทพ ไทยพาณิชย์

พัฒนาระบบการเงินดิติทัล เพื่อ ส่งเสริม สนับสนุน ลงทุน ให้กู้ยืม ชำระหนี้ ให้กับ "คนฐานราก"

ทั้งนี้ ควรมีระบบ "เครดิต" รูปแบบต่าง ๆ เช่น ผลผลิตการเกษตร ที่ดิน แปลงนา ร้านค้า

รวมไปถึงการสร้างสรรค์ การประดิษฐ์คิดค้น ภูมิปัญญารูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถประเมินค่าได้

หมายรวมถึง "แต้มสะสม" จากการทำความดีรูปแบบต่าง ๆ เช่น ประหยัดพลังงาน ช่วยลดการใช้พลังงาน ช่วยลดขยะ ช่วยลดการใช้พลาสติก ช่วยลดปัญหาโลกร้อน ที่เป็น motivation ทางบวก

อีกทั้งการเข้าร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อสาธารณประโยชน์

ทั้งหมดนี้สามารถสร้าง "ฐานข้อมูล" เชื่อมโยง บันทึกไว้ใน "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ได้ หากเราทำให้บัตรนี้เป็นบัตรอิเล็กทรินิกส์หรือบัตรดิจิทัล

สิ่งที่ควรทำอีกอฝประการหนึ่งคือ การแบรนดิ้ง Branding และ รีแบรนด์ Re-brand บัตรนี้ใหม่ อย่าให้ใครเรียกว่า บัตรคนจน อย่าให้ถูกตีตราว่าเป็นบัตรคนจน

ความจริงแนวคิดในการสร้างบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนี้มันดีมาก ๆ อยู่แล้ว เพียงแต่การตั้งชื่อเรียกขาน มันยังไม่เข้าปากคน อะไรที่มันเรียกยาก ผู้คนจะค้นหาคุณลักษณะบางอย่างมาเรียกแทน

ชื่อบัตรควรจะเป็นชื่อที่สร้างสรรค์ เช่น บัตรคนเก่ง บัตรคนกล้า บัตรคนขยัน บัตรคนดี บัตรความดี บัตรมงคล บัตรสู้ชีวิต บัตรพลังใจ บัตรพลังชีวิต บัตรปัญญา บัตรรุ่งเรือง บัตรก้าวหน้า บัตรเงิน บัตรเงินดี บัตรเงินไหลมา บัตรพัฒนา บัตรถุงเงิน บัตรถุงทอง ฯลฯ

ชื่อบัตรอาจใช้วิธีการประกวดตั้งชื่อก็ได้ เพื่อสร้างความสนใจ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

หาก้ราเชื่อว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงโลกได้ เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนให้ดีขึ้นได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนให้ดรขึ้นได้ มันเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง

สิ่งที่คิด สิ่งที่เขียนทั้งหมดนี้ มิใช่การริเริ่ม มันถูกริเริ่มสร้างสรรค์ไว้อย่างดีเยี่ยม โดยคนที่คิดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่แล้ว ผมเพียงแค่สานต่อ ต่อยอดความคิดของท่านเท่านั้น

หากมันจะเป็นคุณประโยชน์เพื่อผู้คนฐานราก เป็นคุณประโยชน์ต่อแผ่นดิน เราสมควรช่วยกันคิด ช่วยกันทำ

สังคมยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคแห่ง

Co-creation
Collaboration
Spirituality

คุณค่าทางจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นความปรารถนาสูงสุดของผู้คนในยุคศตวรรษที่ 21 ที่จะร่วมมือกัน แบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน

เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน โดยไม่ทิ้งผู้คนบางกลุ่มไว้ในสังคมข้างหลังอีกต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค