ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล รัฐบาลอ่อนประชาสัมพันธ์จริงหรือ?

การสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล
รัฐบาลอ่อนประชาสัมพันธ์จริงหรือ?
...............
คำพูดที่คุ้นเคย คำกล่าวที่คุ้นหู ในเวลาที่ ผู้คนไม่ค่อยจะพึงพอใจ ในการดำเนินงานของรัฐบาล มักจะบ่งชี้ไปที่

"รัฐบาลอ่อนประชาสัมพันธ์ !!"
...
อย่าเพิ่งเชื่อคำกล่าวที่คุ้นเคย แต่จงพิจารณาจากข้อเท็จจริง ด้วยใจที่เปิดกว้าง มองรอบด้าน โดยไม่มีอคติ
...
การสื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของรัฐบาล มีอยู่ 3 แนวทาง
...
1 สื่อสารประชาสัมพันธ์ "ก่อนลงมือทำ" ให้ผู้คนเข้าใจว่ากำลังจะทำอะไรในอีกไม่ช้านี้ แล้วลงมือทำ ต่อจากนั้นจึงค่อยนำผลงานมาสื่อสารประชาสัมพันธ์

2 ลงมือทำไปก่อนรอให้เห็นเกิดผลงาน รอให้ผู้คนผลงานเกิดขึ้นเป็นชินเป็นอัน แล้วจึงค่อยสื่อสารประชาสัมพันธ์

3 สื่อสารประชาสัมพันธ์ ไปพร้อมๆกับการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล บอกกล่าวว่าจะทำอะไร ลงมือทำ นำผลการดำเนินงานมานำเสนออย่างต่อเนื่อง
...
ถ้าเป็นผู้คนทั่วไป เขามักสอนกันว่า อย่าพูดก่อนทำ จงลงมือทำให้เห็นผลงานเสียก่อนแล้วค่อยพูด ดังสุภาษิต "ระฆังอย่าดังเอง"
...
แต่สำหรับการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ไม่อาบ รอให้เกิดผลงาน แล้วจึงเริ่ม ทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์
..
หากแต่จะต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ ทั้งก่อน ดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ
...
ทั้งนี้เพราะการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารทำหน้าที่ในการสร้าง
...
1 ความเข้าใจที่ดีของประชาชน
2 ทัศนคติที่ดีของประชาชน
3 ความเชื่อถือความไว้วางใจและความศรัทธาของประชาชน
4 การให้ความร่วมมือสนับสนุนของประชาชน
.....

ถ้าว่ากันตามทฤษฎี ทำตาม 4 ข้อข้างบนนี้ก็น่าจะพอ แต่ในโลกความเป็นจริง มันมีเหตุปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง ทำให้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล ต้องทำหน้ามากกว่านั้น นั่นคือ
...
1 การย้ำเสริมความเชื่อในกลุ่มประชาชนที่เป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ให้เกิดความเชื่อถือที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนใจ ไม่ย้ายข้าง

2 การสกัดกั้นข่าวสารการป่วนและการก่อกวนของฝ่ายตรงกันข้าม ที่มุ่งทำลายความเชื่อถือของรัฐบาล

3 การทำให้ฝ่ายที่อยู่ตรงกลาง หันมาเชื่อถือ ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล มากกว่าข้อมูลข่าวสารของฝ่ายตรงกันข้าม

4 การผลักดัน นโยบายสำคัญวาระสำคัญ ประเด็นสำคัญ ให้เดินหน้า ให้บังเกิดผล ให้ได้รับความร่วมมือ สนับสนุนจากประชาชน

5 การสร้างความเคารพ ความเชื่อถือ ความยำเกรง ความมั่นใจ และความพึงพอใจ ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน และบุคลากรของภาครัฐ เพื่อมิให้เกิดสภาวะ "เกียร์ว่าง" งานไม่เดิน

6 การสร้างความเชื่อมั่น ในระบบเศรษฐกิจ นโยบายทางเศรษฐกิจ ที่กำลังดำเนินการอยู่

7 การสร้างความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของรัฐบาล

8 การสร้างความเชื่อถือในสายตาอารยะนานาประเทศ
...
เพราะฉะนั้น การสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล จึงแตกต่างจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ขององค์กรบริษัท ห้างร้าน เอกชน ทั่วไป แต่เป็นงานที่มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ และกลวิธี เป็นการเฉพาะของตนเอง
...
นี่คือ งานสื่อสารทางการเมือง ที่นักศึกษา ปริญญาโท ปริญญาเอกและผู้สนใจ ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
...
ลองคิดตัวอย่าง การสื่อสารเกี่ยวกับนโยบาย ต่อไปนี้
...
นโยบายรับยาใกล้บ้าน
นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
นโยบายชิมช้อปใช้
นโยบายเที่ยวเมืองรอง
นโยบายช็อปช่วยชาติ
นโยบายเมืองเศรษฐกิจ eec
นโยบายรถเมล์ฟรี น้ำไฟฟรี
...
ลองพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน ข้อเด่น ข้อด้อย และการให้ข้อเสนอแนะในทางสร้างสรรค์ เพื่อการแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค