ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ดิ้น วาทกรรมเพื่อการต่อสู้บนโลกโซเชียลมีเดีย

ดิ้น..วาทกรรมเพื่อการต่อสู้บนโลกโซเชียลมีเดีย
.................

"ดิ้น" เป็นอีกคำหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการโต้ตอบกันบนโลกโซเชียล

เวลาที่มีประเด็นปัญหาถกเเถียง หรือเกิดกระแสดราม่า เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์

บุคคลที่ไม่เห็นด้วย หรือไม่พอใจ จะออกมาแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง และตอบโต้

ฝ่ายที่เห็นด้วยกับประเด็น จะใช้คำว่า "ดิ้น" มากล่าวเชิงเย้ยหยัน ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและออกมาโต้แย้ง

ดูเหมือนว่า ฝ่ายที่เห็นด้วยกับประเด็น จะมีความมั่นใจเต็มที่ว่า ความคิดของผู้ตั้งประเด็นนั้นถูกต้อง และมั่นใจเต็มที่ว่า ความคิดเห็นของตนเองถูกต้อง

จึงรู้สึกมั่นใจ รู้สึกว่าตนเองมีความชอบธรรมที่จะกล่าวหาว่า อีกฝ่ายกำลัง "ดิ้น" จนลืมไปว่า บางประเด็นตนเองก็กำลัง "ดิ้น" อยู่เช่นกัน

วิธีการโต้ตอบกันของทั้งฝ่ายผู้ที่เห็นด้วย (pro) และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย (con) มี 8 วิธีคือ

1. อ้างเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical evidence)

2. อ้างเหตุผลตามความคิดเชิงเหตุผล (Rational)

3. อ้างเสียงส่วนใหญ่ (Majority)

4. อ้างจารีตประเพณี (Traditional)

5. อ้างศีลธรรม (Moral)

6. อ้างมโนธรรม (Conscious)

7. ใช้ความเชื่อส่วนตัว (Beliefs)

8. ใช้ความชอบส่วนตัว (Favor)

สำหรับรูปแบบการสื่อสารที่ใช้ แบ่งออกเป็น 10 วิธี คือ

1. อธิบาย
2. โต้แย้ง
3. ประณาม
4. เย้ยหยัน
5. ด่าว่าโง่
6. ด่าด้วยคำหยาบ
7. ด่าเทียบกับคุณลักษณะของสัตว์
8. แช่ง สาปแช่ง
9. ข่มขู่ ขู่อาฆาต
10. ใช้ขบวนการ "ล่าแม่มด" ยกพวกไปถล่ม

คำว่า "ดิ้น" น่าจะมาจากการหยิบเอาอาการกิริยาของสัตว์มาเปรียบเปรย

- อาการของสุนัขที่ถูกน้ำร้อนลวก
- อาการของไส้เดือนถูกขี้เถ้า
- อาการของปลาที่ถูกจับได้พยายามหนี
- อาการของไก่ที่ถูกเชือดแต่ยังไม่ตาย

ดูรูปคำแล้ว "ดิ้น" น่าจะตรงกับข้อแรกคือ อาการของสุนัขที่ถูกน้ำร้อนลวก มากกว่าอย่างอื่น

คำว่า "ดิ้น" มีอิทธิพลในการยั่วยุทางอารมณ์ คนที่ถูกกล่าวหาว่ากำลังดิ้น จะรู้สึกโกรธ รู้สึกไม่พอใจ รู้สึกขุ่นเคือง อยากตอบโต้ ถ้าไม่ได้ตอบโต้จะจุ่นเคืองใจอยู่ร่ำไป ถึงกับนอนไม่หลับ

ดิ้น..คำพูดที่มีพลังในการเย้ยหยัน มีพลังยั่วยุทางอารมณ์ให้โกรธ ขุ่นเคือง แค้นใจ จนต้องออกไปตอบโต้บนโลกโซเชียลมีเดีย

ดิ้น..กลายเป็นวาทกรรมเพื่อการต่อสู้บนโลกโซเชียลมีเดียชนิดหนึ่งที่มีความร้ายกาจในตัวเอง
........................
หมายเหตุ ถ้าท่านใดไม่เห็นด้วยกับข้อเขียนข้างบนนี้ ก็อิกมา "ดิ้น" ได้เลย (ทดลองใช้คำพูดนี้ดูว่าความรู้สึกเป็นอย่างไร กราบขอโทษด้วยครับ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค