ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คำว่าข่าว (NEWS) อาจจะถึงคราวล่มสลายในไม่ช้า

คำว่า "ข่าว" (NEWS) อาจจะถึงคราวล่มสลายในไม่ช้า***
...................................................................................
สิ่งที่กำลังจะล่มสลายไปเพราะ "พายุลูกมหาศาล" (Giant Storm) คือพายุ "ดิจิทัล" (Digital) โหมกระหน่ำจนอาจถึงคราวล่มสลาย ไม่ใช่แต่เฉพาะคำว่า "สื่อสิ่งพิมพ์" แต่มันอาจหมายรวมถึงคำว่า "ข่าว" (NEWS) ด้วย

เทคโนโลยีดิจิทัล จะทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารับรู้ เห็น สัมผัส จับต้อง บริโภค กลายเป็น "ข้อมูลข่าวสาร" (INFORMATION) ที่ถูกนำมาบรรจุไว้ในสิ่งที่เรียกว่า "ก้อนเนื้อหา" (CONTENT)
ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) สังคมจะกลายเป็น "สังคมแห่งการสื่อสาร" คนในสังคมจะทำการสื่อสารกันอย่างกว้างขวาง ด้วยความถี่สูง มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ อย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด โดยไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเวลาตามเข็มนาฬิกา แต่จะขึ้นอยู่กับอารมณ์ ควมมรู้สึก ความต้องการ และความอากได้ของมนุษย์
ผู้คนในสังคมจะพากันทำการสื่อสารตลอดเวลา ทั้งการสร้าง การผลิต เผยแพร่ รับรู้ บริโภค ส่งต่อ แบ่งปัน ซึ่ง ความรู้ ความรู้สึก ความคิด ความคิดเห็น และประสบการณ์ชีวิต ในรูปแบบ (FORM) ของ "ข้อมูลข่าวสาร" (INFORMATION)
อิทธิพลของ Digital Technology จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและจิตใจผู้คนจากแบบ Linear ให้กลายเป็น Non-Linear อะไรมาก่อนมาหลังไม่สำคัญ ก้าวข้ามลำดับเวลาได้ เจาะจงเลือกสิ่งที่ตนเองต้องการได้ ทันที เดี๋ยวนี้ เวลานี้ อะไรจะผสมกับอะไรก็ได้ไม่มีเส้นแบ่งที่ตายตัว
ด้วยเหตุนี้ผู้คนในสังคมจึงไม่ได้จำเป็น (Necessary) ไม่ได้ต้องการ (Needs) ไม่ได้อยากได้ (Wants) ข้อมูลข่าวสารที่บรรจุอยู่ในรูปแบบที่เคร่งครัด รูปแบบที่ยึดติดกฏเกณฑ์ รูปแบบที่เคร่งครัดในระเบียบวิธี การผลิตและการนำเสนอ ที่เรียกว่า "ข่าว" (NEWS) อีกต่อไป
แต่ผู้คนในสังคมเขาจะเปิดรับสื่อ เปิดรับสาร เลือกรับรู้ สาร (Message) อะไรก็ได้ที่สอดคล้องกับรสนิยมและวิถีชีวิตของเขา สามารถตอบสนองความต้องการของเขา และสร้างความพึงพอใจให้แก่เขาได้ มันอาจจะเป็น "ก้อนข้อมูลข่าวสาร" (INFORMATION) หรือ "ก้อนเนื้อหา" (CONTENT) ที่ส่งมาในรูปแบบใดก็ได้ ไม่มีรูปแบบตายตัว
..
ฟังดูอาจโหดร้าย แต่มีความเป็นไปได้ที่คำว่า "ข่าว" (NEWS) อาจหายไปจากโลกนี้เหมือนอย่างเช่นสื่ออื่นที่จากลาไปก่อนหน้านี้แล้ว

ข่าวที่อาจจะสูญสลายไปในความหมายของบทความนี้ คือ ข่าวแบบดั้งเดิม (conventional news) ที่เคร่งครัดในระเบียบวิธี เคร่งครัดในกฏเกณฑ์ เคร่งครัดในรูปแบบ

แต่อย่างไรก็ดี "ข่าว" (NEWS) อาจกลับมาอุบัติขึ้นในรูปแบบใหม่ ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร

*** หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงบทวิเคราะห์แนวโน้มการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งเป็นสังคมที่เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นแบบดิจิทัล ซึ่งทำให้วิถีชีวิตและจิตใจผู้คนก็จะเปลี่ยนแปลงไปแบบดิจิทัลด้วยเช่นกัน
*** คำว่า "ข่าว" ที่กล่าวถึงในบทความนี้ หมายถึง ข่าวในรูปแบบดั้งเดิมที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนกลายเป็นขนบของการข่าว (conventional news)

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
14 ธันวาคม 2559

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค