ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พลังอำนาจวิเศษของ Superman..Spiderman..X-Men การต่อสู้กับ..อาชญากรรมผู้ดี

คอร์รัปชัน เป็นการกระทำของบุคคล ซึ่งมิใช่อุบัติเหตุ มิใช่การกระทำอันเกิดจากความประมาท มิใช่อยู่ในสถานการณ์บังคับ

แต่เป็นการกระทำโดยเจตนา เกิดจากความตั้งใจ มีการไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งเป็นเจตจำนงอิสระ (free will) ของมนุษย์ที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำ

ดังนั้น เมื่อกระทำลงไปแล้ว บุคคลจึงต้องรับผิด

เว้นเสียแต่ว่า ผู้กระทำเป็นผู้อ่อนด้อยทางอายุทำให้ไม่รู้ข้อผิดถูก ปราศจากความชั่ว

แต่คอรัปชั่นที่เกิดขึ้น แทบไม่เคยเกิดเพราะความไม่รู้ข้อผิดถูก ผู้กระทำรู้ดีในข้อผิดถูก แต่ยังเลือกที่จะทำ ผู้กระทำจึงต้องรับผิด

คอร์รัปชันในอดีตและปัจจุบัน ผู้กระทำรู้ข้อผิดถูกทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น โฮปเวลล์ ถนนไร้ฝุ่น ไทยเข้มแข็ง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสายสีม่วง ปลัดกระทรวง ถูกปล้นบ้านโจรได้เงินสดไป 200 ล้าน แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ นาฬิกาเรือนละ 75,000 ที่รัฐสภา 

มาจนถึงจำนำข้าว การคอร์รัปชันหรืออาชญากรรมผู้ดี หรือ อาชญากรรมคอเชิ้ตขาว (white collar crime) คอร์รัปชันรูปแบบคลาสสิคที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมา

คอร์รัปชั่นได้สร้างบาดแผลสาหัสให้แก่คนไทยและสังคมไทย แต่ยังไม่สามารถดำเนินการเอาผิดกับผู้กระทำได้

คอร์รัปชัน เป็น อาชญากรรมประเภทหนึ่ง ที่กระทำโดยบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ทางราชการและผู้มีอำนาจหน้าที่ทางการเมือง

สังคมที่อ่อนแอเรื่อง พลังแห่งการตรวจสอบ (accountability) ของภาคประชาชน

สังคมที่อ่อนแอเรื่อง พลังร่วมแห่งมโนธรรมสำนึก (collective conscience) ของภาคประชาชน

เมื่อมาเจอกับสังคมราชการ และ สังคมการเมือง ที่ไร้สำนึกในศีลธรรม ที่ไร้สำนึกในความรับผิดชอบ

เมื่อนั้น คอร์รัปชั่น หรือ "อาชญากรรมทางการเงิน" ก็เกิดขึ้น และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

ยามนี้..เรามองเห็นหนทาง ที่พลังแห่งการตรวจสอบ (accountability) ของภาคประชาชน จะเข้มแข็งมากขึ้นบ้างหรือไม่

เรามองเห็น..พลังร่วมแห่งมโนธรรมสำนึก (collective conscience) ของภาคประชา จะเข้มแข็งมากขึ้นบ้างหรือไม่

จริงอยู่ที่การแก้ปัญหาบางเรื่อง ต้องอาศัยพลังอำนาจวิเศษของ Superman..Spiderman..X-Men 

แต่การแก้ไขปัญหาบางเรื่อง..เช่น ปัญหาคอร์รัปชัน ปัญหานักการเมืองฉ้อฉล..หากปราศจากจิตสำนึกของประชาชนพลเมือง..หากปราศจากความร่วมมือของประชาชน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมแล้ว..

ก็ยากที่จะสำเร็จอย่างยั่งยืน !!


10 มิถุนายน 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค