ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เสรีภาพ..ภายใต้การเมืองการปกครองระบอบ.."ประชาธิปไตยที่บกพร่อง"

การต่อสู้ด้วยการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ ของ บก.ลายจุด

บก.ลายจุด จัดว่าเป็นนักออกแบบสัญลักษณ์คนหนึ่ง

เมื่อคราวประท้วงศาลรัฐธรรมนูญ บก.ลายจุด เคยใช้ ภาพตัวอักษรคำว่า "เอียง" บนกระดาษสีขาว เพื่อสื่อความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งสังคมเข้าใจความหมายตรงกัน และใช้ในการสื่อสารเพื่อระดมพลังของบุคคลที่มีความเห็นในแนวเดียวกัน

มาคราวนี้ เมื่อเขาถูกจับดำเนินคดีอาญาฝ่าฝืน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฝ่าฝืนคำสั่งให้ไปรายงานตัวของ คสช. บก.ลายจุดเลือกใช้วิธีการสื่อสารผ่านสัญลักษณ์อีกครั้ง

เป็นการใช้มือตนเองแสดงสัญลักษณ์นกพิราบสื่อสาร 2 ตัว แสดงให้สื่อมวลชนถ่ายรูป เพื่อนำไปเสนอทางสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์

พิจารณาจากสัญลักษณ์..นัยแรกตีความตามวิญญูชนว่า ภาพนี้สื่อความหมายถึง "เสรีภาพ" ส่วนนัยอื่นๆ นั้นยังไม่ทราบเจตนาของผู้ส่งสาร

เสรีภาพ..ภายใต้การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่บกพร่อง

การสื่อสารด้วยสัญลักษณ์..เป็นการสื่อสารที่ไม่ต้องใชัคำพูด แต่มากด้วยความหมาย

หากมองในแง่ความชาญฉลาดในการสร้างสรรค์และการใช้สื่อ นับว่าประสบผลสำเร็จ ภาพนี้จะถูกตีพิมพ์ในหน้า 1 นสพ. และถูกเผยแพร่ต่ออย่างกว้างไกลในสื่อออนไลน์ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

ถือว่า บก.ลายจุด เป็นนักออกแบบสัญลักษณ์มาใช้ในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี

หากมองในแง่มุมทางการเมือง นับว่าเป็นการปลุกเร้าพลังการต่อสู้ทางการเมือง ในกลุ่มของฟากฝ่ายตนเองได้เป็นอย่างดี

แต่ถึงแม้จะมีการออกแบบ "สื่อ" ที่ดี มีการออกแบบ "สาร" ที่ดี ก็ใช่ว่า "ผลกระทบ" (media impact) จะส่งผลกระทบรุนแรงดังคาด และใช่ว่าจะบังเกิด "ผลทางการสื่อสาร" (media effects) เหมือนที่เคยเป็นมา

เพราะยังต้องพิจารณาองค์ประกอบส่วนอื่นที่สำคัญด้วย นั่นคือ

1. แรงหนุนเนื่อง พลังของคนเสื้อแดงในห้วงเวลานี้ดูอ่อนล้า ขาดการขานรับสนองตอบอย่างเด่นชัด

2. การผลักดันของผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองของนายใหญ่ที่ดูไบ ไม่ปรากฏให้เห็น

3. สภาวะอารมณ์ของคนเสื้อแดง ที่ได้รับรู้ความผิดปกติ ไม่โปร่งใส ขาดความจริงใจของแกนนำเสื้อแดง

4. สภาวะอารมณ์ของคนไทยที่เหนื่อยหน่ายอ่อนล้ากับปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วง 7 เดือนที่ผ่าน

5. ความตึงเครียดแร้นแค้นทางเศรษฐกิจ รายได้หดหาย  การเงินไม่คล่องตัว จนเกิดสภาพขัดสนในบางโอกาส

ปัจจัย 5 ประการดังกล่าวนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ส่งผลให้ประชาชนต้องการหา "ทางออก" 

เป็น "ทางออก" ในการแก้ปัญหาของตนเองที่กำลังเผชิญอยู่

เป็น "ทางออก" ในการแก้ปัญหาของสังคมที่กำลังเผชิญชะตากรรมร่วมกัน

ดังนั้น สิ่งใดที่สอดคล้องกับความต้องการ "หาทางออก" ประชาชนจึงขานรับ ประชาชนจึงไม่คัดค้านต่อต้าน ในที่นี้อาจกล่าวได้ว่า การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็น "ทางออก" ทางหนึ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนจำนวนมาก

ตรงกันข้าม สิ่งใดที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ "หาทางออก" ประชาชนจะคัดค้าน ต่อต้าน ถึงแม้ไม่ต่อต้าน แต่ก็ไม่ร่วมมือ 

การสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ด้วยภาพนกพิราบของ บก.ลายจุดคราวนี้ จะบังเกิดผลกระทบมากน้อยเพียงใด จึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบดังกล่าวด้วย

นอกจากนี้ การต่อสู้เรื่องใดๆ ต้องพิจารณาถึงเป้าหมายปลายทางของการต่อสู้ประกอบด้วย

เป้าหมายปลายทางของการต่อสู้ต้องสอดคล้องกับ "ความต้องการ" "ความเชื่อ" และ "ค่านิยม" ของคนส่วนใหญ่ในสังคม 

สังคมประชาธิปไตยที่ประชาชนด้อยโอกาสยากจน แร้นแค้น อดอยาก ไม่ได้รับความเสมอภาคในการดำรงชีวิต ในขณะที่กลุ่มบุคคลระดับชนชั้นนำ
อาศัยอำนาจทางการเมืองและอำนาจทางกฎหมาย กอบโกยทรัพยากร แสวงหาผลประโยชน์จากโครงการภาครัฐจนร่ำรวยล้นฟ้า
ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

หากพิจารณาตาม "ทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยม" ของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ที่เป็นรากฐานหนึ่งของแนวคิดเสรีนิยมและระบอบประชาธปไตยแล้ว

ย่อมเห็นได้ว่า มันเป็นการเมืองการปกครองโดย "ระบอบประชาธิปไตยที่บกพร่อง" ที่ไม่สร้างความเป็นธรรม ไม่สร้างความเสมอภาคให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

การสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ภายใต้บริบทสังคมการเมืองการปกครองด้วย "ระบอบประชาไตยที่บกพร่อง" เช่นนี้ อาจไม่บังเกิดผลสำเร็จ เพราะไม่สอดคล้องกับความต้องการ ความเชื่อ และค่านิยมของประชาชนส่วนใหญ่ ที่จ้องการได้รับประโยชน์สุขอย่างเสมอภาคกัน อย่างเป็น "รูปธรรมที่สัมผัสได้ในโลกแห่งความเป็นจริง"

มากกว่า "นามธรรมที่สัมผัสได้เพียงแค่ความรู้สึก" ว่ามี "เสรีภาพ" ว่ามี "ความเสมอภาค" แต่ในโลกความจริงที่สัมผัสอยู่กลับมีแต่ความอดอยาก ยากจน แร้นแค้น..อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน !!


12 มิถุนายน 2557
16.45 น.

cr ภาพจาก Wassana Nanuam

.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค