ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..อำนาจทางทหาร อำนาจทางการเมือง..ความแตกต่างของความหมาย

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..อำนาจทางทหาร อำนาจทางการเมือง..ความแตกต่างของความหมาย
..................................................................................................................
Meaning is always within context and contexts incorporate meaning

ความหมายมักจะซ่อนตัวอยู่ในบริบทเสมอ..ส่วนบริบทจะรวบรวมความหมายเอาไว้ภายในตัวเอง
....................................................................................................................
การตีความหมายปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นอยู่ในห้วงเวลานี้ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจ "บริบท" (contexts) ที่มีมาก่อนหน้านั้นและกำลังดำรงอยู่ในขณะนั้น

ปรากฏการณ์การใช้อำนาจทางทหารเข้าแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เพราะมีความแตกต่างจากการรัฐประหารหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา
...................................
ปรากฏการณ์ที่ชัดเจนและโดดเด่นอย่างยิ่งคือปัญหาความสงบเรียบร้อยในสังคม ได้แก่
- ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ
- ปัญหายาเสพติด
- ปัญหาอาชญากรรม อาวุธสงคราม บ่อนการพนัน
..................................
ปรากฏการณ์ที่แตกต่างและโดดเด่น คือ ปัญหาเศรษฐกิจ
- การแก้ไขปัญหาจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้ชาวนา
- การสร้างรถไฟรางคู่
- การบริหารจัดการน้ำ
- การแก้ปัญหาราคาพลังงาน
..................................
จุดที่น่าสังเกตคือ ทหารยังคงมีอำนาจและมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหา โดยมีคณะที่ปรึกษาด้านต่างๆ เป็นมันสมอง

ดูเหมือนการแก้ไขปัญหาสำคัญหลายอย่างกำลังดำเนินไปด้วยดี
.................................
อำนาจทางทหารที่มีอำนาจเต็มอยู่ในปัจจบันนี้ มิได้แตกต่างจากอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลพลเรือนที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ รัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นก็ "มีอำนาจเต็มและมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด" ไม่ต่างจากอำนาจทหารในตอนนี้ ทั้งอำนาจในฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และอำนาจในฝ่ายนิติบัญญัติที่มี ส.ส. ส่วนใหญ่ในสภาคอยสนับสนุน
.................................
แต่ทำไม..รัฐบาลพลเรือน จึงมีการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองอย่างจริงจัง ทั้งปัญหาความสงบเรียบร้อย ปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาเศรษฐกิจ นอกจากไม่มีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว กลับสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นอีก เช่น ปัญหาการค้างจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้ชาวนา ปัญหาการบริการจัดการน้ำงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ที่กำลังถูกคัดค้านต่อต้านจากประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะการสร้างฟลัดเวลย์ ปัญหาการทำโครงการ 2 ล้านล้านบาท
...............................
การมีอำนาจเต็มและการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..จึงมิได้หมายความว่า จะมีประสิทธิภาพ หรือไร้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองเสมอไป

การมีอำนาจเต็มและการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..อาจไร้ประสิทธิภาพก็ได้
การมีอำนาจเต็มและการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..อาจมากด้วยประสิทธิภาพก็ได้
...............................
หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการบริหารบ้านเมืองด้วยอำนาจทางทหารอยู่ในขณะนี้ กับการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลพลเรือนในยุคสมัยต่างๆ..จะเห็นได้ว่า การที่จะสามารถหรือไม่สามารถบริหารบ้านเมืองและแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 4 ประการคือ

1. เงื่อนไขด้านการบริหารและประสานผลประโยชน์ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องเผชิญกับเงื่อนไขทางการเมืองของพรรคการเมืองที่เป็นหลักในการจัดตั้งรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาล ที่ใช้เงินลงทุนเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง และมีความคิดที่จะถอนทุนคืน รวมทั้งสะสมทุนใหม่เพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป

2. เงื่อนไขเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมือง นักการเมืองเคยชินกับการได้มาซึ่งอำนาจ การใช้อำนาจ และการบริหารอำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง

3. เงื่อนไขการครองใจประชาชนที่เป็นฐานเสียง เพื่อการยึดครองความนิยมในหมู่ประชาชน พรรคการเมืองจึงต้องอาศัยนโยบายเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความนิยม นโยบายที่ขายได้ และบริโภคง่าย คือ นโยบายประชานิยม ซึ่งสร้างประโยชน์ให้ประชาชนส่วนหนึ่ง และสรา้งประโยชน์ให้แก่พรรคการเมืองส่วนหนึ่ง

4. เงื่อนไขการรักษาอำนาจที่ได้มา เพื่อให้อำนาจรัฐที่ได้มาคงอยู่กับพรรคการเมืองของตนยาวนานที่สุด พรรคการเมืองจึงต้องประสานประโยชน์กับกลุ่มอำนาจ กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มผลประโยชน์ ในการรักษาอำนาจดังกล่าว พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล จำเป็นให้ความช่วยเหลือโดยใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่ในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
- แบ่งอำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ในแหล่งผลประโยชน์ต่างๆ เช่น บ่อนการพนัน ตู้ม้า สถานบันเทิง
- ละเว้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในบางเรื่อง
- เกื่อหนุนการดำเนินธุรกิจของเอกชนด้วยการออกนโยบายทางการเมืองที่สอดคล้องและสนับสนุน เช่น นโยบาย 2 สูง

บางทีเงื่อนไขปัจจัยดังกล่าว..อาจเป็นเหตุผลให้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในขณะที่การบริหารบ้านเมืองโดยการใช้อำนาจทางทหาร..อาจไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยดังกล่าว จึงทำให้การแก้ไขปัญหาของชาติกำลังดำเนินไปด้วยดีในขณะนี้..นี่คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เบื้องหน้า ในห้วงเวลานี้

3 มิถุนายน 2557
11.01 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค